ศ33102 ศัพท์สังคีตที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติดนตรีไทย
1. ลูกล้อ เป็นวิธีการบรรเลงทำนองอย่างหนึ่งที่แบ่งเครื่องดนตรีออกเป็น 2 พวก พวกหนึ่งเรียกว่า "พวกหน้า" ส่วนอีกพวกหนึ่งเรียกว่า "พวกหลัง" ทั้งสองพวกนี้ผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงไปหมดวรรคตอนแล้วพวกหลังจึงจะบรรเลงบ้าง แต่ที่เรียกว่า "ลูกล้อ" เพราะเมื่อพวกหน้าบรรเลงไปเป็นทำนองอย่างใด พวกหลังก็จะบรรเลงเป็นทำนองอย่างเดียวกันกับพวกหน้า ซึ่งทำนองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ก็แล้วแต่ผู้แต่งว่าจะประดิษฐ์ขึ้น สั้น - ยาว เท่าไรหรือจะประดิษฐ์ขึ้นเพียงพยางค์เดียวก็ได้
2. ลูกขัด เป็นวิธีการบรรเลงทำนองอย่างหนึ่งที่แบ่งเครื่องดนตรีออเป็น 2 พวก พวกหนึ่งเรียกว่า "พวกหน้า" (บรรเลงก่อน) อีกพวกหนึ่งเรียกว่า "พวกหลัง" (บรรเลงทีหลัง) ทั้งสองพวกนี้ ผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงไปหมดวรรคตอนแล้ว พวกหลังจึงบรรเลงบ้าง แต่ที่เรียกว่า "ลูกขัด" เพราเมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทำนองอย่างหนึ่งแล้ว พวกหลังก็จะบรรเลงทำนองให้ผิดแผกแตกต่างไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เหมือนกันกับทำนองของพวกหน้า ทำนองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาวเท่าใด ทั้งนี้แล้วแต่ผู้แต่งจะประดิษฐ์ขึ้น อย่างสั้นที่สุดอาจผลัดกันเล่นเพียงพวกละพยางค์เดียวก็ได้ ดุจการพูดจาขัดกัน
3. เหลื่อม เป็นวิธีการโดยการแบ่งเครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนองเป็น 2พวก เหมือนกับลูกล้อ ทำนองที่บรรเลงของพวกหน้าเป็นอย่างเดียวกัน มีความยาวเท่ากัน แต่พวกหน้าบรรเลงก่อนพวกหลังเพียงเล็กน้อย เพราะฉะนั้นพวกหน้าก็จะต้องหมดก่อนพวกหลังเท่ากับระยะที่ได้บรรเลงขึ้นมาก่อน และเสียงสุดประโยคของพวกหน้าก็ตกลงก่อนจังหวะ ประโยคที่บรรเลงเหลื่อมนี้จะสั้นยาวเพียงใดก็แล้วแต่ความประสงค์ของผู้แต่งเพลง
WINKWHITE
2. ลูกขัด เป็นวิธีการบรรเลงทำนองอย่างหนึ่งที่แบ่งเครื่องดนตรีออเป็น 2 พวก พวกหนึ่งเรียกว่า "พวกหน้า" (บรรเลงก่อน) อีกพวกหนึ่งเรียกว่า "พวกหลัง" (บรรเลงทีหลัง) ทั้งสองพวกนี้ ผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงไปหมดวรรคตอนแล้ว พวกหลังจึงบรรเลงบ้าง แต่ที่เรียกว่า "ลูกขัด" เพราเมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทำนองอย่างหนึ่งแล้ว พวกหลังก็จะบรรเลงทำนองให้ผิดแผกแตกต่างไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เหมือนกันกับทำนองของพวกหน้า ทำนองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาวเท่าใด ทั้งนี้แล้วแต่ผู้แต่งจะประดิษฐ์ขึ้น อย่างสั้นที่สุดอาจผลัดกันเล่นเพียงพวกละพยางค์เดียวก็ได้ ดุจการพูดจาขัดกัน
3. เหลื่อม เป็นวิธีการโดยการแบ่งเครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนองเป็น 2พวก เหมือนกับลูกล้อ ทำนองที่บรรเลงของพวกหน้าเป็นอย่างเดียวกัน มีความยาวเท่ากัน แต่พวกหน้าบรรเลงก่อนพวกหลังเพียงเล็กน้อย เพราะฉะนั้นพวกหน้าก็จะต้องหมดก่อนพวกหลังเท่ากับระยะที่ได้บรรเลงขึ้นมาก่อน และเสียงสุดประโยคของพวกหน้าก็ตกลงก่อนจังหวะ ประโยคที่บรรเลงเหลื่อมนี้จะสั้นยาวเพียงใดก็แล้วแต่ความประสงค์ของผู้แต่งเพลง
WINKWHITE
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น