ศ33102 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงค่านิยมของสังคมไทยต่อดนตรีสากล

            หากวิเคราะห์จากค่านิยมและความเชื่อของคนไทยต่อดนตรีสากลที่ได้เคยอธิบายไว้ จะเห็นได้ว่า  ค่านิยมและความเชื่อที่คนไทยมีต่อดนตรีสากลได้ฝังรากลึกจนเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมดนตรีของคนไทยไปเสียแล้ว และมีแนวโน้มที่จะเผยแพร่ขยายครอบคลุมไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย  เนื่องจากในวิถีชีวิตประจำวันของคนเราในสมัยปัจจุบัน เราไม่้อาจพ้นจากอิทธิพลของเสียงดนตรีได้ ไม่ว่าจะทำอะไร อยู่ที่ไหน และเมื่อไหร่ เรามักจะได้ยินเสียงดนตรีสากลสอดแทรกเข้ามาแวดล้อมเราอยู่เกือบทุกที่และทุกเวลา  ซึ่งอาจเป็นทั้งเสียงดนตรีที่เราชื่นชอบและเสียงดนตรีที่เราไม่ใส่ใจฟัง แต่เสียงดนตรีเหล่านั้นก็ล้วนมีอิทธิพลต่อเราทั้งสิ้น
             แม้ดนตรีสากลจะเป็นดนตรีของชาวตะวันตก แต่ดนตรีสากลก็ได้เผยแพร่ไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย และปัจจุบันดนตรีสากลได้เป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไปตามกระแสนิยมของคนในสังคม และกระแสของการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้ผู้คนในสังคมไทยได้รับฟัง และซึมซับดนตรีสากลตลอด  24 ชั่วโมง จึงอาจกล่าวได้ว่า การดำรงอยู่ของดนตรีสากลในสังคมไทยมิได้มีการเปลี่ยนแปลงไปทั้งยังอยู่ในความต้องการของคนรุ่นใหม่ รวมทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากลก็ได้มีการปรับเปลี่ยนเข้าหากัน และดำรงอยู่ในวิถีของคนไทยในหลายลักษณะ เช่น การประสมวงโดยการนำเครื่องดนตรีไทยและสากลมาประสมกัน การปรับปรุงแนวเพลงโดยนำเพลงเดิมมานำเสนอในรูปแบบใหม่ดังปรากฏให้เห็น การบรรเลงเพลงไทยด้วยวงดนตรีสากล หรือการนำเพลงตามแนวสากลมาแต่งเป็นเพลงเถา เป็นต้น











WINKWHITE

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)