ศ33101 สังคีตกวีสากล

           ดนตรีสากลที่บรรเลงและขับร้องให้เราได้ฟังกันอยู่ในทุกวันนี้  ล้วนเป็นผลงานอันทรงคุณค่าที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของสังคีตกวีด้านดนตรีสากลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งสังคีตกวีแต่ละท่านมีลักษณะการประพันธ์เพลงที่แตกต่างกันออกไป ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะขอนำเสนอประวติและผลงานของสังคีตกวีสากลที่มีผลงานอันโดเด่นและทรงคุณค่าบางท่านมาอธิบายโดยสังเขป ดังนี้
       
         1. โยฮันเนส บรามส์
บรามส์เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) ที่นครฮัมบูร์กประเทศเยอรมนี
บิดาของบรามส์เป็นนักเล่นดับเบิลเบสและยังเป็นครูดนตรีคนแรกของเขาอีกด้วย บรามส์ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถมากอันโดดเด่นเกินวัย สนใจเครื่องดนตรีทุกประเภท ครูดนตรีคนสำคัญของเขาได้แก่เอด๊วด มาร์กเซ็น ได้สอนเขาอย่างตั้งอกตั้งใจ ด้วยความหวังที่ว่าเขาจะกลายเป็นนักเปียโนเอกในอนาคต โดยได้สอนเทคนิคการเล่นของ บาค โมซาร์ท และ เบโธเฟน ซึ่งกลายเป็นที่จดจำของบรามส์ไปตลอด โดยมิได้ทำลายพรสวรรค์ทางการสร้างสรรค์ของศิษย์
ความสามารถทางการเล่นเปียโนของเขา ทำให้เขาได้เป็นนักดนตรีอาชีพครั้งแรกที่ผับแห่งหนึ่งในนครฮัมบูร์กตั้งแต่มีอายุเพียงสิบสามปี
ในปีพ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) บรามส์ออกตระเวนเปิดการแสดงกับเพื่อนนักไวโอลิน ชื่อเอด๊วด เรเมนยี ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้พบกับนักไวโอลินชื่อดังแห่งยุค โยเซ็ฟ โยอาคิม ผู้ซึ่งประทับใจฝีมือของบรามส์มาก และยังได้แนะนำให้เขาได้รู้จักกับ ฟรานซ์ ลิซท์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งชูมันน์ กับภรรยา คลาร่า ชูมันน์ ซึ่งเขาได้สนิทสนมด้วยเป็นอย่างดี อิทธิพลของชูมันน์ที่มีต่องานของบรามส์นั้นใหญ่หลวงนัก
ระหว่างปี พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) ถึง พ.ศ. 2402 (ค.ศ. 1859) เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะนักร้องประสานเสียงประจำวังของเจ้าชายแห่งเด็ตโมลด์ ในช่วงเวลานี้เองที่เขาได้ประพันธ์เซเรเนดสำหรับวงดุริยางค์ขึ้นสองบท และคอนแชร์โต้สำหรับเปียโนชื้นแรก
ปีพ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) เขาได้เดินทางกลับสู่นครเวียนนา ชื่อเสียงในฐานะนักดนตรีของเขาเพิ่มขึ้น และได้รับการยกย่องให้เป็น ทายาทดนตรีของเบโธเฟน เพลงสวดเรเควียมของเขาเป็นเครื่องพิสูจน์คำกล่าวนั้นได้เป็นอย่างดี
ในปีพ.ศ. 2413 (ค.ศ. 1870) เขาได้พบกับวาทยกรฮันส์ ฟอน บือโลว์ ผู้ซึ่งมีอุปการคุณต่องานดนตรีของบรามส์เป็นอย่างมากในภายหลัง
ในปีพ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) บรามส์แต่งซิมโฟนีบทแรกสำเร็จ ได้รับการขนานนามว่าเป็นซิมโฟนีบทที่ 10 ของเบโธเฟน ตามคำกล่าวของบือโลว์ จากนั้นก็มีงานประพันธ์สำหรับวงดุริยางค์ตามมาจำนวนมาก ซิมโฟนีอีกสามบท คอนแชร์โต้สำหรับไวโอลิน คอนแชร์โต้หมายเลขสองสำหรับเปียโน จนกระทั่งถึงผลงานเอกในช่วงบั้นปลายชีวิต นั่นก็คือบทเพลงสำหรับคลาริเน็ท
งานของบรามส์ได้รับอิทธิพลหลากหลาย โดดเด่นด้วยศาสตร์แห่งเคานเตอร์พ้อยท์ และ โพลีโฟนี ความงดงามของบทเพลงที่เขาประพันธ์อยู่ที่รูปแบบคลาสสิกที่ถูกแต่งแต้มด้วยความถวิลหาของยุคโรแมนติก แต่ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สีสันทางดนตรีอันบรรเจิด ท่วงทำนองที่สร้างสรรค์ และจังหวะทำให้ประหลาดใจด้วยการสอดประสานกัน
เป็นผลงานส่วนตัวของบรามส์ที่เปี่ยมด้วยคุณภาพ ซึ่งเราอาจนึกว่าจะเข้าใจยากเมื่อแรกได้ยิน แต่เราก็จะเข้าถึงได้และขาดไม่ได้ในที่สุด
นับเป็นหนึ่งในคีตกวีคนสำคัญของประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก ศพของโยฮันเนส บรามส์ถูกฝังไว้ที่สุสานกลางแห่งนครเวียนนา ในส่วนของนักดนตรีคนสำคัญผู้ล่วงลับ
2. อาร์โนลต์  โชนเบิร์ก

  1.       อาร์โนลด์ โชนเบิร์ก เป็นนักประพันธ์เพลงชาวออสเตรีย สัญชาติ อเมริกัน เกิดที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 18 กันยายน 1874 เป็นผู้ คิดค้นระบบ Twelve Tone System คือ การน่าเสียงดนตรีสูงต่่า 12 เสียง มาเรียงต่อกันเป็นล่าดับที่แน่นอนโดยหลีกเลี่ยงไม่ให้มีเสียงหลัก (Tonic) โดยมีหลัก ส่าคัญ คือ ทฤษฎีที่ว่าด้วยเสรีภาพของเสียง และความส่าคัญเท่าเทียมกันของเสียงทุก เสียง และนอกจากนี้เขายังเป็นผู้น่าด้านการเขียนท่านองเพลงที่มีความซับซ้อน ไม่มี บันไดเสียง (Atonal) เป็นงานดนตรีที่เล่นยาก และฟังยาก ผลงานของเขาจึงถูก ปฏิเสธที่จะน่าออกแสดงจากผู้ก่ากับวงและนักดนตรีอยู่เสมอ การประพันธ์ของเขามี ความแตกต่างไปจากดนตรียุคคลาสสิกในยุคก่อนหน้านั้นเป็นอย่างมาก
  2. 3. โชนเบิร์ก ได้ประพันธ์เพลงไว้หลายรูปแบบ ตามความคิดใน ระหว่างช่วงต่อของดนตรีในแบบโรแมนติกสู่ดนตรีในยุคศตวรรษที่ 20 โดย เริ่มต้นในฐานะผู้ที่เดินรอยตามวากเนอร์ (Wagner), สเตราส์ (R.Starauss), มาห์เลอร์ (Mahler) และบราห์มส์ (Brahms) ผลงานในยุคแรกของโชนเบิร์ก มีลักษณะเป็นบทเพลงในยุคโรแมนติกแบบของวากเนอร์ (Wagner) ซึ่งยังคงมี บันไดเสียงหลัก เพลงในยุคนี้ที่ควรกล่าวถึง คือ Varklarte Nacht, Op. 4 ในช่วงที่สอง ของแนวการประพันธ์มีลักษณะเป็นบทเพลงแบบเอกเพรสชั่นนิซึมที่ไม่มีบันไดเสียงหลัก และไม่มีการแบ่งการใช้คอร์ดเป็นแบบสบายหูหรือระคายหูแต่อย่างใด ทุกอย่างเท่าเทียม กัน
  3. 4. ตัวอย่างเพลง Varklarte Nacht, Op. 4 (น่าเมาส์มาชี้ที่รูปภาพด้านบนนี้)
  4. 5. เพลงในยุคนี้ท่าให้โชนเบิร์กเป็นที่รู้จักในฐานะผู้น่าของรูปแบบใหม่ใน วงการดนตรี บทเพลงในช่วงนี้ เช่น ผลงาน 5 บทส่าหรับออร์เคสตรา ผลงาน ล่าดับที่ 16 ในระยะต่อมาซึ่งเป็นช่วงสุดท้าย โชนเบิร์กใช้การประพันธ์เพลงแบบ บันไดเสียง 12 เสียง เพลงในยุคนี้ท่าให้โชนเบิร์กเป็นที่รู้จักในฐานะผู้น่าของรูปแบบใหม่ในวงการ ดนตรี บทเพลงในช่วงนี้ เช่น ผลงาน 5 บทส่าหรับออร์เคสตรา ผลงานล่าดับที่ 16 ใน ระยะต่อมาซึ่งเป็นช่วงสุดท้าย โชนเบิร์กใช้การประพันธ์เพลงแบบบันไดเสียง 12 เสียง
  5. 6. ผลงานในยุคนี้จัดเป็นผลงานที่มีเอกลักษณ์ของโชนเบิร์ก อย่างชัดเจน เช่น เปียโนคอนแชร์โต สตริงควอเทต หมายเลข 4 และโอเปรา Moses and Aaron
  6. 7. ตัวอย่างเพลงโอเปรา Moses and Aaron (น่าเมาส์มาชี้ที่รูปภาพด้านบนนี้)
  7. 8. โชนเบิร์ก ย้ายไปอาศัยอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อฮิตเลอร์ แผ่ขยายอ่านาจในยุโรประหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในฐานะผู้ประพันธ์เพลง และครูสอนดนตรีในมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจลีส (UCLA) โดยเปลี่ยนสัญชาติเป็นอเมริกัน และเมื่อเขามีอายุได้ 70 ปี เขาจึงลาออกจากการเป็นศาตราจารย์ในมหาวิทยาลัย แต่ ยังคงสร้างสรรค์ผลงานเรื่อยมาจนถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1951 ขณะอายุได้ 77 ปี
  8. 9. ตัวอย่างผลงานชิ้นอื่นๆของโชนเบิร์ก Kammersymphonie Op. 9 (น่าเมาส์มาชี้ที่รูปภาพด้านบนนี้)
  9. 10. ตัวอย่างผลงานชิ้นอื่นๆของโชนเบิร์ก Erwartung Op. 17 (น่าเมาส์มาชี้ที่รูปภาพด้านบนนี้)
  10. 11. ตัวอย่างผลงานชิ้นอื่นๆของโชนเบิร์ก Five Pieces for Orchestra Op. 16 (น่าเมาส์มาชี้ที่รูปภาพด้านบนนี้)
  11. 12. ตัวอย่างผลงานชิ้นอื่นๆของโชนเบิร์ก Five Pieces for Piano Op. 23 (น่าเมาส์มาชี้ที่รูปภาพด้านบนนี้)
  12. 13. นอกจากผลงานด้านดนตรีแล้ว โชนเบิร์กยังมีผลงานเขียนด้วย ได้แก่ ทฤษฎีแห่งเสียงประสาน (Harmonielehre) ในปี 1911 ซึ่งได้รับการแปลเป็น ภาษาอังกฤษ (Theory of Harmony) ในปี 1947 และยังคงเป็นอาจารย์สอน การประพันธ์ดนตรีในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ถือว่ามีคุณค่าต่อ วงการดนตรีต่อๆมา

     3. ปีเตอร์ อีลิช  ไชคอฟสกี


ปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี เป็นคีตกวีชาวรัสเซีย เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ที่เมือง โวทคินสกี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนพ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ที่ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
ไชคอฟสกีเกิดในครอบครัวผู้มีอันจะกิน ชีวิตของเขาเต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างความหรูหราและการอดมื้อกินมื้อ ข่าวอื้อฉาว และความต้องการเป็นที่ยอมรับ เขาได้รับการศึกษาจากวิทยาลัยดนตรีแห่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ภายใต้การดูแลของอันทอน รูบินสไตน์ จากนั้นถูกเรียกให้ไปเป็นครูสอนวิชาเรียบเรียงเสียงประสานให้แก่น้องชายของรูบินสไตน์ที่กรุงมอสโก ที่มอสโกนี่เองที่เขาได้ประพันธ์ผลงานสำคัญหลายชิ้น เป็นต้นว่าซิมโฟนีหมายเลขหนึ่ง ชื่อ ความฝันในเหมันตฤดู เขาสมรสในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) ด้วยความมุ่งมั่นที่จะรักษาความขัดแย้งภายในตนว่าเขาเป็นพวกรักร่วมเพศ แต่ความล้มเหลวของชีวิตแต่งงาน ที่เป็นที่โจษจันว่าอยู่กันอย่างไร้ความรักกับเจ้าสาวที่เป็นศิษย์ของเขาเอง ทำให้เขาเกือบฆ่าตัวตายสำเร็จ อารมณ์ของเขามั่นคงขึ้นในปี พ.ศ. 2423(ค.ศ. 1880) เมื่อเขาได้ออกเดินทางไปทั่วทวีปยุโรปประเทศอิตาลีได้สร้างแรงบันดาลใจให้เขาประพันธ์ผลงานหลายชิ้น รวมทั้งบทเพลงชื่อ คราพริชิโอ อิตาเลียน(capriccio italien) เขาประสบความสำเร็จหลายครั้งและได้พบปะกับคีตกวีเลื่องชื่อร่วมสมัย เป็นต้นว่า โยฮันเนส บราห์ม แอนโทนิน ดโวชาค ฯลฯ เขาเดินทางไปถึงสหรัฐอเมริกาเพื่อเปิดการแสดง ไชคอฟสกีเสียชีวิตในปีพ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ด้วยอหิวาตกโรคแต่บางกระแสกล่าวว่าเขาถูกบังคับให้ดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย จากข้อหารักร่วมเพศ
เพลงของเขาเป็นสะพานเชื่อมระหว่างดนตรีตะวันตกกับดนตรีรัสเซีย ด้วยการนำเสนอแบบร่วมสมัย ซึ่งรวมถึงคีตกวีโมเดสต์ มูสซอร์กสกี และ กลุ่มคีตกวีทั้งห้า ซึ่งเขาได้สร้างมิตรภาพกับพวกเขาเหล่านั้นไว้ด้วย
















WINKWHITE

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล