องค์ประกอบของดนตรีในสังคมและวัฒนธรรม
ดนตรี มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของเสียงที่เรียบเรียงเป็นทำนอง การเกิดทำนองเพลงได้ต้องนำองค์ประกอบส่วนย่อยต่างๆ มารวมเข้าด้วยกัน ดนตรีของชาติต่างๆ ทั้งดนตรีไทย ดนตรีจีน ดนตรีอินเดีย ดนตรีเปอร์เซีย และดนตรีตะวันตก ต่างต้องมีส่วนประกอบสำคัญอย่างน้อย 6 ประการ ที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ให้ผู้เรียนนึกถึงทำนองเพลงคุ้นเคย หรืออาจเลือกเพลงและดนตรีที่ปรากฏในสังคมและวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งเป็นตัวอย่างและเชื่อมโยงกับองค์ประกอบของดนตรี ดังนี้
1. เสียง
เสียงดนตรี (Musical Sound) เป็นสีสันของเสียง (Tone Color) ที่เกิดจากความถี่ของคลื่นเสียง ความดัง - เบา สูง - ต่ำ ความเข้มที่หนาแน่น หรือโปร่งเบา มีระดับความดัง - เบาของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด
เนื่องจากคนเราได้ยินเสียงที่ความถี่ 20 - 20000 เฮิรตซ์ ความถี่ที่ต่ำกว่า 20 เฮิรตซ์ ลงไปเรียกว่า คลื่นใต้เสียง (Infra Sound) ความถี่ที่สูงกว่า 20000 เฮิรตซ์ ขึ้นไปเรียกว่า คลื่นเหนือเสียง (Ultra Sound) จะเห็นได้ว่าคนเรารับฟังเสียงได้ในช่วงความถี่หนึ่งเท่านั้น สำหรับสัตว์อื่น ๆ ก็เช่นเดียวกันคือ จะได้ยินเสียงในช่วงความถี่หนึ่งเช่นกัน ซึ่งช่วงความถี่ที่สัตว์แต่ละชนิดได้ยินก็จะแตกต่างกันไป และต่างจากช่วงความถี่ที่คนได้ยินด้วย นอกจากนี้แล้วแหล่งกำเนิดเสียงแต่ละแหล่งก็ให้เสียงได้ในช่วงความถี่ต่างกัน เช่น คน สามารถเปล่งเสียงได้ในช่วงความถี่ 85 - 1100 เฮิรตซ์ แมวสามารถเปล่งเสียงได้ในช่วงความถี่ 760 - 1500 เฮิรตซ์ แต่สามารถได้ยินในช่วงความถี่ 60 - 65000 เฮิรตซ์
ความถี่ของเสียงเป็นตัวบอกระดับเสียงคือ ความถี่มากมีระดับเสียงสูง (เสียงแหลม) ความถี่น้อยมีระดับเสียงต่ำ (เสียงทุ้ม) การจัดแบ่งระดับเสียงทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่แพร่หลายที่สุดคือ แบ่งเป็นระดับเสียงดนตรี ดังแสดงในตาราง
เมื่อพิจารณาแหล่งกำเนิดเสียงแต่ละอย่างพบว่ามีเสียงเกิดขึ้นพร้อมกันหลายความถี่ ความถี่ต่ำสุดที่เกิดขึ้นเรียกว่าความถี่มูลฐานของแหล่งกำเนิดนั้น สำหรับความถี่อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกันแต่มีความถี่เป็นจำนวนเท่าของความถี่มูลฐานเราเรียกว่าฮาร์มอนิก เสียงที่เกิดจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ เป็นเสียงทีเกิดจากการผสม(การรวมกัน)ของความถี่เสียงที่ฮาร์มอนิกต่าง ๆ ที่มีแอมปลิจูดต่างกัน ทำให้เสียงผสมที่เราได้ยินต่างกันออกไป เราเรียกว่าแหล่งกำเนิดเสียงต่างมีคุณภาพเสียงต่างกัน ดังนั้นคุณภาพเสียงจึงเป็นลักษณะเฉพาะของแหล่งกำเนิดเสียง เช่นเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ มีคุณภาพเสียงที่ต่างกัน
2. จังหวะ
จังหวะดนตรี (Time Elements) เป็นส่วนสำคัญของดนตรี เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้ดนตรีขบเคลื่อนไปอย่างเป็นระบบ จังหวะดนตรีสามารถจำแนกได้ 3 ประเภท ดังนี้
2.1 อัตราจังหวะ (Meters) คืออัตตราการเคลื่อนที่ของแนวทำนอง หรือเสียงในช่วงเวลาหนึ่งที่วางแบบให้มีจุดเน้นที่แน่นอน โดยแบ่งจำนวนเคาะจังหวะหลักออกเป็นกลุ่ม กลุ้มละเท่าๆกัน เช่น กลุ่ม 2 เคาะ 3 เคาะ เป็นต้น เรียกกลุ่มเคาะแต่ละกลุ่มเป็น 1 ห้อง กำหนดเครื่องหมายประจำจังหวะ (Time Singnature) ด้วยสัญลักษณ์ที่เป็นตัวเลข 2 ตัววางซ้อนกัน โดยวางอยู่หลังกุญแจประจำหลักที่ส่วนต้นของบรรทัด 5 เส้น บรรทัดแรกของเพลง สังเกตได้จากเพลงที่บันทึกด้วยโน้ตสากล
ตัวอย่าง
ความหมายเลขตัวบนและตัวล่าง
เลขตัวบน เป็นเลขที่กำหนดว่าบทเพลงจะแบ่งออกเป็นห้องละกี่จังหวะตามตัวเลขที่กำหนดดังนี้
เลข 2 แบ่งออกเป็นห้องละ 2 จังหวะ
เลข 3 แบ่งออกเป็นห้องละ 3 จังหวะ
เลข 4 แบ่งออกเป็นห้องละ 4 จังหวะ
1. เสียง
เสียงดนตรี (Musical Sound) เป็นสีสันของเสียง (Tone Color) ที่เกิดจากความถี่ของคลื่นเสียง ความดัง - เบา สูง - ต่ำ ความเข้มที่หนาแน่น หรือโปร่งเบา มีระดับความดัง - เบาของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด
เนื่องจากคนเราได้ยินเสียงที่ความถี่ 20 - 20000 เฮิรตซ์ ความถี่ที่ต่ำกว่า 20 เฮิรตซ์ ลงไปเรียกว่า คลื่นใต้เสียง (Infra Sound) ความถี่ที่สูงกว่า 20000 เฮิรตซ์ ขึ้นไปเรียกว่า คลื่นเหนือเสียง (Ultra Sound) จะเห็นได้ว่าคนเรารับฟังเสียงได้ในช่วงความถี่หนึ่งเท่านั้น สำหรับสัตว์อื่น ๆ ก็เช่นเดียวกันคือ จะได้ยินเสียงในช่วงความถี่หนึ่งเช่นกัน ซึ่งช่วงความถี่ที่สัตว์แต่ละชนิดได้ยินก็จะแตกต่างกันไป และต่างจากช่วงความถี่ที่คนได้ยินด้วย นอกจากนี้แล้วแหล่งกำเนิดเสียงแต่ละแหล่งก็ให้เสียงได้ในช่วงความถี่ต่างกัน เช่น คน สามารถเปล่งเสียงได้ในช่วงความถี่ 85 - 1100 เฮิรตซ์ แมวสามารถเปล่งเสียงได้ในช่วงความถี่ 760 - 1500 เฮิรตซ์ แต่สามารถได้ยินในช่วงความถี่ 60 - 65000 เฮิรตซ์
ความถี่ของเสียงเป็นตัวบอกระดับเสียงคือ ความถี่มากมีระดับเสียงสูง (เสียงแหลม) ความถี่น้อยมีระดับเสียงต่ำ (เสียงทุ้ม) การจัดแบ่งระดับเสียงทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่แพร่หลายที่สุดคือ แบ่งเป็นระดับเสียงดนตรี ดังแสดงในตาราง
ระดับเสียงดนตรี | C(โด) | D (เร) | E (มี) | F(ฟา) | G (ซอล) | A (ลา) | B(ที) | C' (โด) |
ความถี่(เฮิรตซ์) | 256 | 288 | 320 | 341 | 384 | 427 | 480 | 512 |
แสดงการแบ่งระดับเสียงดนตรีในทางวิทยาศาสตร์
ระดับเสียงดนตรี | C(โด) | D (เร) | E (มี) | F(ฟา) | G (ซอล) | A (ลา) | B (ที) | C'(โด) |
ความถี่(เฮิรตซ์) | 261.6 | 293.7 | 329.6 | 349.2 | 392.0 | 440.0 | 493.9 | 523.6 |
แสดงการแบ่งระดับเสียงดนตรีในทางดนตรีศาสตร์
คุณภาพเสียง
แหล่งกำเนิดเสียงต่างกัน ให้เสียงที่มีระดับเสียงเดียวกัน(ความถี่เท่ากัน) เช่นไวโอลินและขลุ่ยเล่นโน้ตเดียวกัน แต่เราสามารถแยกออกได้ว่าเสียงใดเป็นเสียงไวโอลินและเสียงใดเป็นเสียงขลุ่ย นั่นแสดงว่าต้องมีปัจจัยอื่นอีกที่ทำให้เสียงแตกต่างกัน จนเราสามารถแยกเสียงจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ กันได้เมื่อพิจารณาแหล่งกำเนิดเสียงแต่ละอย่างพบว่ามีเสียงเกิดขึ้นพร้อมกันหลายความถี่ ความถี่ต่ำสุดที่เกิดขึ้นเรียกว่าความถี่มูลฐานของแหล่งกำเนิดนั้น สำหรับความถี่อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกันแต่มีความถี่เป็นจำนวนเท่าของความถี่มูลฐานเราเรียกว่าฮาร์มอนิก เสียงที่เกิดจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ เป็นเสียงทีเกิดจากการผสม(การรวมกัน)ของความถี่เสียงที่ฮาร์มอนิกต่าง ๆ ที่มีแอมปลิจูดต่างกัน ทำให้เสียงผสมที่เราได้ยินต่างกันออกไป เราเรียกว่าแหล่งกำเนิดเสียงต่างมีคุณภาพเสียงต่างกัน ดังนั้นคุณภาพเสียงจึงเป็นลักษณะเฉพาะของแหล่งกำเนิดเสียง เช่นเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ มีคุณภาพเสียงที่ต่างกัน
2. จังหวะ
จังหวะดนตรี (Time Elements) เป็นส่วนสำคัญของดนตรี เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้ดนตรีขบเคลื่อนไปอย่างเป็นระบบ จังหวะดนตรีสามารถจำแนกได้ 3 ประเภท ดังนี้
2.1 อัตราจังหวะ (Meters) คืออัตตราการเคลื่อนที่ของแนวทำนอง หรือเสียงในช่วงเวลาหนึ่งที่วางแบบให้มีจุดเน้นที่แน่นอน โดยแบ่งจำนวนเคาะจังหวะหลักออกเป็นกลุ่ม กลุ้มละเท่าๆกัน เช่น กลุ่ม 2 เคาะ 3 เคาะ เป็นต้น เรียกกลุ่มเคาะแต่ละกลุ่มเป็น 1 ห้อง กำหนดเครื่องหมายประจำจังหวะ (Time Singnature) ด้วยสัญลักษณ์ที่เป็นตัวเลข 2 ตัววางซ้อนกัน โดยวางอยู่หลังกุญแจประจำหลักที่ส่วนต้นของบรรทัด 5 เส้น บรรทัดแรกของเพลง สังเกตได้จากเพลงที่บันทึกด้วยโน้ตสากล
ตัวอย่าง
เลขตัวบน เป็นเลขที่กำหนดว่าบทเพลงจะแบ่งออกเป็นห้องละกี่จังหวะตามตัวเลขที่กำหนดดังนี้
เลข 2 แบ่งออกเป็นห้องละ 2 จังหวะ
เลข 3 แบ่งออกเป็นห้องละ 3 จังหวะ
เลข 4 แบ่งออกเป็นห้องละ 4 จังหวะ
เลขตัวล่าง เป็นเลขที่กำหนดว่าโน้ตลักษณะใดจะเป็นเกณฑ์ตัวละ 1 จังหวะดังนี้
เลข 1 กำหนดให้ โน้ตตัวกลม () เป็นตัวละ 1จังหวะ
เลข 2 กำหนดให้ โน้ตตัวขาว ( ) เป็นตัวละ 1จังหวะ
เลข 4 กำหนดให้ โน้ตตัวดำ ( ) เป็นตัวละ 1จังหวะ
เลข 8 กำหนดให้ โน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น ( ) เป็นตัวละ 1จังหวะ
เลข 16 กำหนดให้ โน้ตตัวเขบ็ต 2 ชั้น () เป็นตัวละ 1จังหวะ
เลข 1 กำหนดให้ โน้ตตัวกลม () เป็นตัวละ 1จังหวะ
เลข 2 กำหนดให้ โน้ตตัวขาว ( ) เป็นตัวละ 1จังหวะ
เลข 4 กำหนดให้ โน้ตตัวดำ ( ) เป็นตัวละ 1จังหวะ
เลข 8 กำหนดให้ โน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น ( ) เป็นตัวละ 1จังหวะ
เลข 16 กำหนดให้ โน้ตตัวเขบ็ต 2 ชั้น () เป็นตัวละ 1จังหวะ
2.2 จังหวะ (Rhythm) คือ กระสวน หรือรูปแบบ (Pattern) ของการเคาะจังหวะที่แบ่งซอยจังหวะให้เป็นตามที่อัตราจังหวะกำหนดไว้ มีความถี่ - ห่างต่างกัน เพื่อให้ตรงตามกระบวนแบบหรือลีลาของบทเพลง สามารถสังเกตได้จากบทเพลง ซึ่งกำหนดชื่อเฉพาะของจังหวะไว้ เช่น จังหวะรำวง จังหวะวอตซ์ จังหวะแทงโก้ จังหวะโซล จังหวะสวิง จังหวะรุมบา เป็นต้น
2.3 อัตราความเร็ว (Tempo) คือ อัตราความเร็วของการดำเนินจังหวะทุกส่วน ทั้งส่วนอัตราจังหวะ ส่วนรูปแบบจังหวะ และส่วนอัตราจังหวะ ตัวอย่างที่ศึกษาได้ คือ เพลงสมัยนิยม หรือเพลงป๊อบปูล่าร์ เพลงเห่านี้จะระบุอัตราความเร็วด้วยคำว่า Slow หรือ Fast หรือ Quick นำหน้าชื่อลีลา หรือกระุบวนแบบของบทเพลง เช่น Slow Tango หมายถึงจังหวะแทงโก้อย่างช้า
3. ทำนอง
ทำนอง (Melody) คือ เสียงที่เปล่งออกมาโดยมีความต่อเนื่องกันเป็นระบบ ทำนองเปรียบเหมือนรูปร่างของบทเพลง มีเสียงสูง, ต่ำ,สั้น,ยาว ประกอบกันเข้า โดยทั่วไปดนตรีประกอบด้วยทำนองซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ง่ายต่อการจำ องค์ประกอบของทำนองประกอบด้วย
3. ทำนอง
ทำนอง (Melody) คือ เสียงที่เปล่งออกมาโดยมีความต่อเนื่องกันเป็นระบบ ทำนองเปรียบเหมือนรูปร่างของบทเพลง มีเสียงสูง, ต่ำ,สั้น,ยาว ประกอบกันเข้า โดยทั่วไปดนตรีประกอบด้วยทำนองซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ง่ายต่อการจำ องค์ประกอบของทำนองประกอบด้วย
3.1. บันไดเสียง (Scale) และโหมดเสียง ( Mode)
บันไดเสียง (Scale)
ทฤษฎีพื้นฐานที่จำเป็นมากในขั้นแรกนี้คือเรื่องของการไล่เสียงหรือบันไดเสียงหรือ scale นั่นเอง โดยการนำตัวโน๊ตต่าง ๆ มาไล่เรียงกันไป และสเกลพื้นฐานที่เราควรรู้จักคือ
1. Diatonic Scale ซึ่งเป็นการเรียงโน๊ตจากตัวหนึ่งตามชื่อไปจนครบ 8 ตัวซึ่งก็คือตัวเดียวกับตัวที่ 1 นั่นเองแต่สูงกว่า 1 octave หรือเรียกว่าคู่ 8 ซึ่งเป็นสเกลมาตรฐานซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสเกลเมเจอร์ และไมเนอร์ เป็นต้น ซึ่งจะมีความห่างของโน๊ตไม่สม่ำเสมอ เช่นบางคู่ห่างกันครึ่งเสียง บางคู่ห่างกัน 1 เสียง เป็นต้น ลองดูตัวอย่าง ของ C เมเจอร์สเกลและ A ไมเนอร์สเกลนะครับ
2. Whole Tone Scale เป็นสเกลหรือบันไดเสียงที่มีการไล่เสียงโดยให้โน๊ตแต่ละตัวมีความห่างกัน 1 เสียงเต็ม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการนำเครื่องหมายชาร์ป และแฟล็ทมาใช้ในการบังคับให้โน๊ตมีความห่าง 1 เสียงเต็ม ถ้าเทียบบนคอกีตาร์คือคุณไล่สเกลโดยกดนิ้วข้ามช่องเว้นช่องไปเรื่อย ๆ (เนื่องจากครึ่งเสียง=1 ช่องเฟร็ต และ 2 ช่องเฟร็ต=1เสียงเต็ม) ลองดู C โฮลโทนสเกล นะครับ
3. Cromatic Scale คล้ายกับ whole tone scale แต่ช่วงห่างของเสียงของโน๊ตแต่ละตัวจะเป็นครึ่งเสียงแทน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการใช้เครื่องหมายชาร์ปและแฟล็ทในการควบคุมโน๊ตเช่นกัน หรือคือการไล่สเกลบนคอกีตาร์โดยการกดไล่ในทุก ๆ ช่องเฟร็ต ( 1 ช่องเฟร็ต=ครึ่งเสียง) ข้างล่างนีเป็นตัวอย่างของ C โครมาติคสเกล
บันไดเสียง (Scale)
ทฤษฎีพื้นฐานที่จำเป็นมากในขั้นแรกนี้คือเรื่องของการไล่เสียงหรือบันไดเสียงหรือ scale นั่นเอง โดยการนำตัวโน๊ตต่าง ๆ มาไล่เรียงกันไป และสเกลพื้นฐานที่เราควรรู้จักคือ
1. Diatonic Scale ซึ่งเป็นการเรียงโน๊ตจากตัวหนึ่งตามชื่อไปจนครบ 8 ตัวซึ่งก็คือตัวเดียวกับตัวที่ 1 นั่นเองแต่สูงกว่า 1 octave หรือเรียกว่าคู่ 8 ซึ่งเป็นสเกลมาตรฐานซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสเกลเมเจอร์ และไมเนอร์ เป็นต้น ซึ่งจะมีความห่างของโน๊ตไม่สม่ำเสมอ เช่นบางคู่ห่างกันครึ่งเสียง บางคู่ห่างกัน 1 เสียง เป็นต้น ลองดูตัวอย่าง ของ C เมเจอร์สเกลและ A ไมเนอร์สเกลนะครับ
Major Scale เป็นสเกลพื้นฐานที่สำคัญและเป็นแม่แบบของสเกลอื่น ๆ อีกหลายชนิดเช่น ไมเนอร์ เพนตาโทนิค เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่สร้างมาจากสเกลเมเจอร์
สเกลเมเจอร์เกิดจากการเลียนการออกเสียงตามธรรมชาติของมนุษย์ ดังนั้นจะเห็นว่าการไล่เสียงในสเกลเมเจอร์จะเป็นธรรมชาติมากในความรู้สึกเวลาเราออกเสียง มีลักษณะเสียงที่ชัดเจน มั่นคง แต่มีความสดใส เบิกบานแฝงอยู่ จึงถือว่าเป็นสเกลพื้นฐานของดนตรี ต่อมาเรามารู้จักโครงสร้างของสเกลเมเจอร์กันเลยนะครับ
ผมจะใช้ C เมเจอร์สเกลในการอธิบายนะครับ โดยการไล่เป็น Diatonic scale คือเริ่มที่ C และจบที่ C ในอีก octave หนึ่งการไล่เสียงของ C ลองมาดูโครงสร้างของ C เมเจอร์สเกลดู
3.2. จังหวะ (Rhythm) คือ การเรียบเรียงหน่วยเสียงจากหมวดเสียงและบันไดเสียงให้ต่อเนื่อง มีอัตราความสั้น - ยาวของเสียงแตกต่างกัน แต่ต้องอยู่ในกรอบจำนวนจังหวะเคาะหลัก หรืออัตราจังหวะที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ นักประพันธ์เพลงสามารถออกแบบจังหวะได้อย่างหลากหลาย
3.3. ทิศทางเดิน (Direction) ทิศทางเดินหมายถึง การเคลื่อนที่ของทำนอง กล่าวคือทำนองอาจจะเคลื่อนที่ไปในหลายทิศทาง เช่น เคลื่อนที่ขึ้น เคลื่อนที่ลง หรืออยู่กับที่ โดยปกติทำนองมักจะเคลื่อนที่ขึ้นจุดสูงสุดเมื่อเนื้อหาของเพลงดำเนินไปถึงจุดสำคัญที่สุด ปกติการเคลื่อนที่ของทำนองอาจจะเป็นในลักษณะกระโดด (Disjunct Progression) หรือเรียงกันไป (Conjunct Progression) บทเพลงนั้นจะน่าสนใจ น่าฟัง หรือชวนฉงนสงสัย ขึ้นอยู่กับผลรวมของคุณสมบัติต่างๆของทำนอง ทำนองจัดเป็นลักษณะพื้นฐานของดนตรีหรือบทเพลง โดยทั่วไปทำนองที่เป็นหลักในบทเพลงหนึ่งจะเรียกว่าทำนองหลัก (Main Theme) ในแต่ละบทเพลงอาจจะมีทำนองหลักได้มากกว่า 1 ทำนอง
3.4. ลักษณะการเคลื่อนที่ของระดับเสียงที่อยู่ในทำนอง (Progression) คือระดับเสียงจากอนุกรมเสียงในบันไดเสียง และ โหมด ต่างๆ ที่บรรจุลงและเรียงกันอยู่ในวรรคตอนของบทเพลง โดยจำแนกลักษณะการเคลื่อนที่ออกเป็นคู่ๆ จากโน้ตตัวที่หนึ่ง ไปยังโน้ตอีกตัวที่อยู่ถัดไป เรียงไปจนจบวรรคตอน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
3.4.1 การเคลื่อนที่ตามลำดับขั้นเสียง หรือเรียงเสียง (Conjunct) เช่น จาก "โด" ไ ป "เร" จาก "เร" ไป "มี" จาก "มี" ไป "ฟา" เป็นต้น การเคลื่อนที่ของลำดับเสียงในลักษณะนี้จะช่วยให้นักดนตรีบรรเลงเพลงได้ง่ายขึ้น ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกราบรื่นและฟังสบาย
3.4.2 การเคลื่อนที่ข้ามขั้นเสียง หรือเว้นเสียง (Disjunct) เช่น จาก "โด" ไป "มี" จาก "โด" ไป "ซอล" จาก "ซอล" ไป "โดสูง" เป็นต้น การเคลื่อนที่ของลำดับเสียงในลักษณะนี้ทำให้นักดนตรีบรรเลงเพลงได้ยากขึ้น ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกตื่นเต้น มีพละกำลัง
3.5 มิติ (Dimension) คือ ความแคบ - กว้าง เรียกว่า "พิสัย" ของทำนอง บทเพลงยิ่งมีช่วงเสียง หรือความแคบ - กว้างเท่าใด ยิ่งทำให้นักร้อง นักดนตรีขับร้อง หรือบรรเลงเพลงนั้นๆ ยากขึ้นตามไปด้วย
3.6 รูปร่างทรวดทรง (Contour) คือ รูปร่างทรวดทรงของทำนอง สังเกตได้จากการลากเส้นจากหัวตัวโน้ตตัวเริ่มต้นทำนองในบรรทัด 5 เส้น ผ่านไผยังหัวตัวโน้ตตัวอื่นๆที่บันทึกเรียงลำดับไปจนถึงหัวตัวโน้ตสุดท้ายที่จบวรรคตอน เส้นที่เกิดขึ้น คือ รูปร่างทรวดทรงของทำนองนั่นเอง
3.7 ระดับช่วงเสียง (Register) คือ อนุกรมระดับเสียงในทำนองทั้งชุดที่ผู้ประพันธ์เพลงเลือกใช้ให้เหมาะสมกับช่วงเสียงของผู้ขับร้อง หรือเสียงของเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง และเนื้อหาสาระที่อยู่ในทำนอง เช่น
* ระดับช่วงเสียงของนักร้องชาย มีระดับต่ำกว่าช่วงเสียงของนักร้องหญิง
* ระดับช่วงเสียงของทำนองที่ใช้พรรณนาเสียงนกร้อง ควรอยู่ในระดับช่วงเสียงสูง เป็นต้น
4. การประสานเสียง
การประสานเสียง (Harmony) การนำกลุ่มเสียงหลายระดับ ทั้งสูง กลาง ต่ำ และกลุ่มเสียงหลายคุณภาพ ทั้งใส ทึบ ทุ้ม แหลม ฯลฯ มาบรรเลงร่วมกัน เพื่อสนับสนุนแนวทำนองหลักของบทเพลงที่เป็นศูนย์กลางของเสียงที่บรรเลงอยู่ ซึ่งแนวเสียงประสานจะช่วยแต่งเติมให้เสียงบรรเลงน่าสนใจยิ่งขึ้น และทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ ความรู้สึกไปตามกลุ่มเสียงที่ใช้ เช่น ถ้าใช้กลุ่มเสียงกลมกลืน เสียงที่ประสานจะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์เครียด ไม่สงบและกระด้าง เป็นต้น
5. เนื้อดนตรี
เนื้อดนตรี ( Texture) เกิดจากการบรรเลงดนตรีที่ครบทุกส่วน ทั้งจังหวะ ทำนอง เสียงประสาน และลีลาการสอดประสาน ซึ่งทำให้เสียงดนตรีมีความหนาแน่นต่างกัน สามารถแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะดังนี้
5.1 เนื้อดนตรีแบบแนวเดียว (Monophonic) คือ เนื้อดนตรีที่เกิดจากการบรรเลงแนวเดียว ไม่ว่าจะบรรเลงคนเดียว หรือหลายคน หรือหลายเครื่องดนตรีก็ตาม เนื้อดนตรีเช่นนี้จะเพิ่มความหนาแน่นของเสียง จะขึ้นตามจำนวนของเครื่องดนตรีที่ร่วมบรรเลง ความไพเราะของเสียงจะขึ้นอยู่กับฝีมือของการบรรเลง
5.2 เนื้อดนตรีแบบร่วมคอร์ด (Homophonic) คือ เนื้อดนตรีที่เกิดจากการบรรเลง 2 แนว โดยแนวหนึ่งจะเป็นทำนองหลัก และอีกแนวเป็นกลุ่มเสียงคอร์ดที่นำมาบรรเลงสนับสนุนในแนวตั้ง
5.3 เนื้อดนตรีแบบหลายแนว (Polyphonic) คือ เนื้อดนตรีที่เกิดจากการนำทำนองสอดประสานมาบรรเลงพร้อมกัน แต่ละทำนองต่างก็มีแนวทางเดินของตน ทั้งนี้ ทุกทำนองสามารถสอดรับกันได้อย่างเหมาะสม โดยมีเสียงประสานแนวตั้งเป็นเสียงเชื่อมโยง
5.4 เนื้อดนตรีแบบมีจุดรวม หรือลูกตกเดียวกัน (Heterophonic) คือ เนื้อดนตรีที่มีทำนองมากกว่า 2 ทำนองขึ้นไป แนวทำนองต่างๆ จะเกิดการแปรทำนองจากทำนองหลักเดียวกันความสัมพันธ์ของแต่ละแนวทำนองที่เกิดจากการแปรทำนองหลักอยู่ที่จุดร่วมของเสียงจะมีการกำหนดจุดนัดพบของแนวทำนองต่างๆ ให้มาตกที่จังหวะเดียวกันและเป็นเสียงเดียวกัน
6. บันไดเสียง
บันไดเสียง (Scale) หมายถึง โน้ต 5-12 ตัวที่เรียงกันตามลำดับจากเสียงต่ำไปสูง และจากเสียงสูงไปเสียงต่ำ มีโครงสร้างที่มีการกำหนดช่วงห่าง ของเสียงจากตัวโน้ตหนึ่งไปอีกตัวโน้ตหนึ่งอย่างเป็นระบบ ในแต่ละชนิดของบันไดเสียง ได้แก่ บันไดเสียงเมเจอร์ (major scale) บันไดเสียงไมเนอร์ (minor scale) เป็นต้น บันไดเสียงเป็นตัวกำหนดแนวทางการเคลื่อนของตัวโน้ตในเพลง และสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้กับบทเพลงอีกด้วย
บันไดเสียงดนตรีของดนตรีสากลมี 4 ลักษณะ แต่ละลักษณะจะมีชื่อเรียกเฉพาะ ดังนี้
6.1 บันไดเสียงเพนทาทอนิก คือ บันไดเสียงที่จัดขั้นบันไดเสียงเป็น 5 ขั้น แต่ละขั้นมชื่อเรียกระดับเสียงและวางระยะห่างระหว่างขั้น เป็น 1 เสียงเต็ม (Tone) และ 1.5 เสียง หรือ 3 ครึ่งเสียง (3 Semitone) ไว้ดังนี้
เทคนิคที่ใช้ในการสร้างสรรค์งานดนตรี
1. ขจัดอคติ ออกไปจากความคิดและจิตใจของตนเองให้ได้มากที่สุด คือ อย่าชืนชอบเพลงหรือดนตรีด้วยความลำเอียง เพราะรัก หรือหลงไหล หรือเกรงใจในตัวศิลปินตามกระแสโฆษณา การประชาสัมพันธ์ของบริษัทผู้ผลิต หรือรังเกียจเพลง หรือดนตรี เพราะความชังอย่างไม่มีเหตุผลที่มีต่อศิลปิน หรือผู้ผลิต การมีอคติเช่นนี้เท่ากับว่าเราปิดกั้นตัวเอง โดยจะไม่มีโอกาสได้สัมผัสรู้สุนทรียะของเพลง หรือดนตรีของบุคคลอื่น หรือของกระบวนแบบอื่นเลย
2. เข้าใจเรื่องธาตุที่เป็นองค์ประกอบของดนตรีอย่างถ่องแท้ เข้าใจว่าดนตรีใช้เสียงเป็นสื่อบอกเนื้อหา บอกสุนทรียธาตุ และบอกศิลปินธาตุให้ผู้รับสื่อรับรู้ แต่เสียงดนตรีไม่อาจให้เห็นภาพที่ชัดเจนแก่ผู้ฟังได้ ทำให้ดนตรีเป็นจินตศิลป์ ผู้ฟังจำเป็นต้องสร้างจินตนาการตามเสียงนั้นด้วยตนเอง เสียงดนตรีจึงจะมีพลังและความคล่องตัวในอันที่จะกระตุ้นอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ฟังได้ต่างๆ นานา ขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางวัฒนธรรม ทางสังคม ทางความสนใจ และความรู้ ภูมหลังของบุคคลนั้นๆ
3. หมั่นศึกษาหาความรู้ด้านดนตรี ต้องรู้เรื่องไวยกรณ์ หรือสังคีตลักษณ์ของเพลงและดนตรี ต้องมีความรู้เรื่องกระบวนแบบของดนตรี ต้องมีความรู้เรื่องทฤษฎีดนตรี และควรรู้เรื่องเทคนิควิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีเหล่านี้อยู่บ้าง
4. ฝึกนิสัยการฟังเพลงและดนตรีอย่างใจจดจ่อ ทำให้ได้ยินหน่วยเสียงทุกเสียง สามารถจับธาตุที่เป็นองค์ประกอบของศิลปะดนตรีได้อย่างครบถ้วน และสามารถวิเคราะห์ไวยกรณ์และทางประสานเสียงของบทบรรเลงได้ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นเครื่องมือทำให้ผู้ฟังมองเห็น หรือสัมผัสรู้สุนทรีะของดนตรีได้
5. อย่าพยายามวาดมโนภาพตามเสียงเพลงบรรเลงทุกบท โดยเฮพาะอย่างยิ่งสังคีตนิพนธ์ในกลุ่มดนตรีที่มีความงามเป็นเลิศ หรือเพลงคลาสสิก ซึ่งจะไม่มีภาพ หรือเรื่องราวใดๆ แทรกอยู่ แต่จะงามด้วยองค์ประกอบที่เหมาะสมลงตัวของธาตุต่างๆของศิลปะดนตรี
3.4.1 การเคลื่อนที่ตามลำดับขั้นเสียง หรือเรียงเสียง (Conjunct) เช่น จาก "โด" ไ ป "เร" จาก "เร" ไป "มี" จาก "มี" ไป "ฟา" เป็นต้น การเคลื่อนที่ของลำดับเสียงในลักษณะนี้จะช่วยให้นักดนตรีบรรเลงเพลงได้ง่ายขึ้น ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกราบรื่นและฟังสบาย
3.4.2 การเคลื่อนที่ข้ามขั้นเสียง หรือเว้นเสียง (Disjunct) เช่น จาก "โด" ไป "มี" จาก "โด" ไป "ซอล" จาก "ซอล" ไป "โดสูง" เป็นต้น การเคลื่อนที่ของลำดับเสียงในลักษณะนี้ทำให้นักดนตรีบรรเลงเพลงได้ยากขึ้น ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกตื่นเต้น มีพละกำลัง
3.5 มิติ (Dimension) คือ ความแคบ - กว้าง เรียกว่า "พิสัย" ของทำนอง บทเพลงยิ่งมีช่วงเสียง หรือความแคบ - กว้างเท่าใด ยิ่งทำให้นักร้อง นักดนตรีขับร้อง หรือบรรเลงเพลงนั้นๆ ยากขึ้นตามไปด้วย
3.6 รูปร่างทรวดทรง (Contour) คือ รูปร่างทรวดทรงของทำนอง สังเกตได้จากการลากเส้นจากหัวตัวโน้ตตัวเริ่มต้นทำนองในบรรทัด 5 เส้น ผ่านไผยังหัวตัวโน้ตตัวอื่นๆที่บันทึกเรียงลำดับไปจนถึงหัวตัวโน้ตสุดท้ายที่จบวรรคตอน เส้นที่เกิดขึ้น คือ รูปร่างทรวดทรงของทำนองนั่นเอง
3.7 ระดับช่วงเสียง (Register) คือ อนุกรมระดับเสียงในทำนองทั้งชุดที่ผู้ประพันธ์เพลงเลือกใช้ให้เหมาะสมกับช่วงเสียงของผู้ขับร้อง หรือเสียงของเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง และเนื้อหาสาระที่อยู่ในทำนอง เช่น
* ระดับช่วงเสียงของนักร้องชาย มีระดับต่ำกว่าช่วงเสียงของนักร้องหญิง
* ระดับช่วงเสียงของทำนองที่ใช้พรรณนาเสียงนกร้อง ควรอยู่ในระดับช่วงเสียงสูง เป็นต้น
4. การประสานเสียง
การประสานเสียง (Harmony) การนำกลุ่มเสียงหลายระดับ ทั้งสูง กลาง ต่ำ และกลุ่มเสียงหลายคุณภาพ ทั้งใส ทึบ ทุ้ม แหลม ฯลฯ มาบรรเลงร่วมกัน เพื่อสนับสนุนแนวทำนองหลักของบทเพลงที่เป็นศูนย์กลางของเสียงที่บรรเลงอยู่ ซึ่งแนวเสียงประสานจะช่วยแต่งเติมให้เสียงบรรเลงน่าสนใจยิ่งขึ้น และทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ ความรู้สึกไปตามกลุ่มเสียงที่ใช้ เช่น ถ้าใช้กลุ่มเสียงกลมกลืน เสียงที่ประสานจะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์เครียด ไม่สงบและกระด้าง เป็นต้น
5. เนื้อดนตรี
เนื้อดนตรี ( Texture) เกิดจากการบรรเลงดนตรีที่ครบทุกส่วน ทั้งจังหวะ ทำนอง เสียงประสาน และลีลาการสอดประสาน ซึ่งทำให้เสียงดนตรีมีความหนาแน่นต่างกัน สามารถแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะดังนี้
5.1 เนื้อดนตรีแบบแนวเดียว (Monophonic) คือ เนื้อดนตรีที่เกิดจากการบรรเลงแนวเดียว ไม่ว่าจะบรรเลงคนเดียว หรือหลายคน หรือหลายเครื่องดนตรีก็ตาม เนื้อดนตรีเช่นนี้จะเพิ่มความหนาแน่นของเสียง จะขึ้นตามจำนวนของเครื่องดนตรีที่ร่วมบรรเลง ความไพเราะของเสียงจะขึ้นอยู่กับฝีมือของการบรรเลง
5.2 เนื้อดนตรีแบบร่วมคอร์ด (Homophonic) คือ เนื้อดนตรีที่เกิดจากการบรรเลง 2 แนว โดยแนวหนึ่งจะเป็นทำนองหลัก และอีกแนวเป็นกลุ่มเสียงคอร์ดที่นำมาบรรเลงสนับสนุนในแนวตั้ง
5.3 เนื้อดนตรีแบบหลายแนว (Polyphonic) คือ เนื้อดนตรีที่เกิดจากการนำทำนองสอดประสานมาบรรเลงพร้อมกัน แต่ละทำนองต่างก็มีแนวทางเดินของตน ทั้งนี้ ทุกทำนองสามารถสอดรับกันได้อย่างเหมาะสม โดยมีเสียงประสานแนวตั้งเป็นเสียงเชื่อมโยง
5.4 เนื้อดนตรีแบบมีจุดรวม หรือลูกตกเดียวกัน (Heterophonic) คือ เนื้อดนตรีที่มีทำนองมากกว่า 2 ทำนองขึ้นไป แนวทำนองต่างๆ จะเกิดการแปรทำนองจากทำนองหลักเดียวกันความสัมพันธ์ของแต่ละแนวทำนองที่เกิดจากการแปรทำนองหลักอยู่ที่จุดร่วมของเสียงจะมีการกำหนดจุดนัดพบของแนวทำนองต่างๆ ให้มาตกที่จังหวะเดียวกันและเป็นเสียงเดียวกัน
6. บันไดเสียง
บันไดเสียง (Scale) หมายถึง โน้ต 5-12 ตัวที่เรียงกันตามลำดับจากเสียงต่ำไปสูง และจากเสียงสูงไปเสียงต่ำ มีโครงสร้างที่มีการกำหนดช่วงห่าง ของเสียงจากตัวโน้ตหนึ่งไปอีกตัวโน้ตหนึ่งอย่างเป็นระบบ ในแต่ละชนิดของบันไดเสียง ได้แก่ บันไดเสียงเมเจอร์ (major scale) บันไดเสียงไมเนอร์ (minor scale) เป็นต้น บันไดเสียงเป็นตัวกำหนดแนวทางการเคลื่อนของตัวโน้ตในเพลง และสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้กับบทเพลงอีกด้วย
บันไดเสียงดนตรีของดนตรีสากลมี 4 ลักษณะ แต่ละลักษณะจะมีชื่อเรียกเฉพาะ ดังนี้
6.1 บันไดเสียงเพนทาทอนิก คือ บันไดเสียงที่จัดขั้นบันไดเสียงเป็น 5 ขั้น แต่ละขั้นมชื่อเรียกระดับเสียงและวางระยะห่างระหว่างขั้น เป็น 1 เสียงเต็ม (Tone) และ 1.5 เสียง หรือ 3 ครึ่งเสียง (3 Semitone) ไว้ดังนี้
ขั้นที่
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
(1)
|
ตัวอย่างโน้ต
|
C
|
D
|
E
|
G
|
A
|
(C)
|
หรือ
|
F
|
G
|
A
|
C
|
D
|
(F)
|
อ่านออกเสียง
|
โด
|
เร
|
มี
|
ซอล
|
ลา
|
(โด)
|
หรือ
|
ฟา
|
ซอล
|
ลา
|
โด
|
เร
|
(ฟา)
|
ระยะห่างระหว่างขั้น
|
T
|
T
|
3S
|
T
|
3S
|
|
T = 1 เสียงเต็ม (1Tone) 3S = 3
ครึ่งเสียง (3Semitone)
|
เทคนิคที่ใช้ในการสร้างสรรค์งานดนตรี
1. ขจัดอคติ ออกไปจากความคิดและจิตใจของตนเองให้ได้มากที่สุด คือ อย่าชืนชอบเพลงหรือดนตรีด้วยความลำเอียง เพราะรัก หรือหลงไหล หรือเกรงใจในตัวศิลปินตามกระแสโฆษณา การประชาสัมพันธ์ของบริษัทผู้ผลิต หรือรังเกียจเพลง หรือดนตรี เพราะความชังอย่างไม่มีเหตุผลที่มีต่อศิลปิน หรือผู้ผลิต การมีอคติเช่นนี้เท่ากับว่าเราปิดกั้นตัวเอง โดยจะไม่มีโอกาสได้สัมผัสรู้สุนทรียะของเพลง หรือดนตรีของบุคคลอื่น หรือของกระบวนแบบอื่นเลย
2. เข้าใจเรื่องธาตุที่เป็นองค์ประกอบของดนตรีอย่างถ่องแท้ เข้าใจว่าดนตรีใช้เสียงเป็นสื่อบอกเนื้อหา บอกสุนทรียธาตุ และบอกศิลปินธาตุให้ผู้รับสื่อรับรู้ แต่เสียงดนตรีไม่อาจให้เห็นภาพที่ชัดเจนแก่ผู้ฟังได้ ทำให้ดนตรีเป็นจินตศิลป์ ผู้ฟังจำเป็นต้องสร้างจินตนาการตามเสียงนั้นด้วยตนเอง เสียงดนตรีจึงจะมีพลังและความคล่องตัวในอันที่จะกระตุ้นอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ฟังได้ต่างๆ นานา ขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางวัฒนธรรม ทางสังคม ทางความสนใจ และความรู้ ภูมหลังของบุคคลนั้นๆ
3. หมั่นศึกษาหาความรู้ด้านดนตรี ต้องรู้เรื่องไวยกรณ์ หรือสังคีตลักษณ์ของเพลงและดนตรี ต้องมีความรู้เรื่องกระบวนแบบของดนตรี ต้องมีความรู้เรื่องทฤษฎีดนตรี และควรรู้เรื่องเทคนิควิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีเหล่านี้อยู่บ้าง
4. ฝึกนิสัยการฟังเพลงและดนตรีอย่างใจจดจ่อ ทำให้ได้ยินหน่วยเสียงทุกเสียง สามารถจับธาตุที่เป็นองค์ประกอบของศิลปะดนตรีได้อย่างครบถ้วน และสามารถวิเคราะห์ไวยกรณ์และทางประสานเสียงของบทบรรเลงได้ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นเครื่องมือทำให้ผู้ฟังมองเห็น หรือสัมผัสรู้สุนทรีะของดนตรีได้
5. อย่าพยายามวาดมโนภาพตามเสียงเพลงบรรเลงทุกบท โดยเฮพาะอย่างยิ่งสังคีตนิพนธ์ในกลุ่มดนตรีที่มีความงามเป็นเลิศ หรือเพลงคลาสสิก ซึ่งจะไม่มีภาพ หรือเรื่องราวใดๆ แทรกอยู่ แต่จะงามด้วยองค์ประกอบที่เหมาะสมลงตัวของธาตุต่างๆของศิลปะดนตรี
ตัวอย่างเพลงคลาสสิก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น