ความหมายและประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย
1. ความหมาย
ดนตรีไทย หมายถึง เพลงไทยที่มีระดับเสียงซึ่งประกอบขึ้นเป็นทำนอง มีลีลา จังหวะ มีความเสนาะไพเราะ ก่อให้เกิดความรู้สึกรื่นเริง สนุกสนาน รัก อ่อนหวาน ให้ความสุข เศร้าโศก ปลุกจิตใจให้ฮึกเหิม เป็นต้น
ดนตรีไทย หมายถึง เพลงไทยที่มีระดับเสียงซึ่งประกอบขึ้นเป็นทำนอง มีลีลา จังหวะ มีความเสนาะไพเราะ ก่อให้เกิดความรู้สึกรื่นเริง สนุกสนาน รัก อ่อนหวาน ให้ความสุข เศร้าโศก ปลุกจิตใจให้ฮึกเหิม เป็นต้น
ดนตรีไทย มีความสำคัญต่อการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน นิยมให้มีวงดนตรีไทยร่วมบรรเลงด้วย เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญ งานบวชนาค งานมงคลสมรส งานเฉลิมฉลอง งานในเทศกาลต่างๆ ตลอดจนการบรรเลงประกอบการแสดง เป็นต้น
2. ความเป็นมา
ดนตรีไทย เป็นดนตรีที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อใช้บรรเลงในกิจกรรมต่างๆ ของสังคมที่ตนอาศัยอยู่ เช่น บรรเลงประกอบพิธีกรรม บรรเลงเพื่อความบันเทิงของผผู้คนในชุมชน เป็นต้น
ลักษณะ และรูปแบบของดนตรีไทยนั้นจะมีความเรียบง่าย สำหรับในสังคมที่ใหญ่ขึ้น เช่น สังคมเมือง รัฐที่มีเจ้าผู้ครองนคร มีพระมหากษัตริย์ปกครอง เป็นต้น การนำดนตรีเข้าไปใช้ในกิจกกรมต่างๆ จะมีความประณีต มีการพัฒนาความสามารถของศิลปิน รูปแบบทางดนตรี เพลงร้อง ทำนองดนตรี จะมีระเบียบ มากขึ้น และใช้เป็นแบบแผนต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับการแบ่งยุคสมัยทางดนตรีไทย จะนิยมจัดแบ่งตามการดำรงอยู่ของราชธานี คือ สมัยก่อนสุโขทัย สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินธ์ ดังนี้
2.1 สมัยก่อนสุโขทัย ดนตรีไทยสมัยก่อนสุโขทัยเป็นราชธานี จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าได้มีการเล่นดนตรีกันในหลายลักษณะทั่วทุกอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็น อาณาจักราล้านนา อาณาจักรทวารวดี ศรีวิชัย สุพรรณภูมิละโว้ เครื่องดนตรีที่ใช้ได้แก่ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด เช่น พิณน้ำเต้า พิณเพี๊ยะพิณเปี๊ยะ เป็นต้น เครื่องดนตรีประเภทตี เช่น ฆ้องกลอง เป็นต้น และเครื่องดนรีประเภทเป่า เช่น แคน ปี่ เป็นต้น
2.2 สมัยสุโขทัย เครื่องดนตรีนสมัยสุโขทัยมีความคล้ายคลึงกับสมัยก่อนสุโขทัยเป็นราชธานี โดยเครื่องดนตรีที่ปรากฏในยุคสมัยนี้ ได้แก่ กระจับปี่ พิณน้ำเต้า พิณเพร๊ยะ ซอสามสาย ฆ้อง กลองทัด ตะโพน กลองตุ๊ก (กลองชาตรี) ทับ (โทน) มโหรทึก บัณเฑาะว์ กังสดาล ฉิ่ง เป็นต้น และได้มีการประสมวงดนตรีในรูแบบต่างๆขึ้น เช่น วงขับไม้ ใช้บรรเลงในงานพระราชพิธีสำคัญ ได้แก่ พระราชพิธีขับกล่อมพระเศวตฉัตร พระราชพิธีขับกล่อมพระบรรทมพระราชกุมารหรือพระราชกมารี พระราชพิธีขับกลอมพระยาช้างเผือก มีการนำวงปีพาทย์เครื่องห้าไปใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรีและในพธีการต่างๆ และวงมโหรีเครื่องสีใช้บรรเลงในพระราชพิธี่ต่างๆ เป็นต้น
2.3 สมัยอยุธยา มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีประเภทสายขึ้น ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ และยังได้มีการปรับปรุงประสมวงดนตรีขึ้นมาใหม่ ได้แก่ วงมโหรีเครื่องหก วงปี่พาทย์เครื่องห้า และวงเครื่องสาย ที่ใ้ช้บรรเลงขับกล่อม ในงานมงคลทั่วไป ส่วนเพลงไทยที่มีการประพันธ์ขึ้นในสมัยอยุธยา เช่น เพลงนางนาค ยิกินแปดบท สมิงทอง เขนง เป็นต้น
2.4 สมัยรัตนโกสินธ์ ดนตรีในสมัยรัตนโกสินธ์มีความเจริญรุงเรืองอย่างม โดยมีพัฒนาการมาจากดนตรีสมัยอยุธยา มีวงดนตรีหลายลักษณะกิดขึ้น เช่น วงปี่พาทย์เสภา วงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงเครื่องสายไทย วงมหาดุริยางค์ไทย เป็นต้น สำหรับเครื่องดนตรีที่เกิดขึ้นหรือนำมาใช้ในวงดนตรีไทยมีหลายชนิด เช่น ฆ้องวงเล็ก ระนาดทุ้ม กลองสองหน้า อังกะลุง เป็นต้น ส่วนลักษณะของเพลงที่เิกดขึ้นในสมัยนี้ มีเพลงเถา เพลงโหมโรงเสภา เพลงละคร และเพลงสำเนียงภาษา
WINKWHITE
แคน |
2.2 สมัยสุโขทัย เครื่องดนตรีนสมัยสุโขทัยมีความคล้ายคลึงกับสมัยก่อนสุโขทัยเป็นราชธานี โดยเครื่องดนตรีที่ปรากฏในยุคสมัยนี้ ได้แก่ กระจับปี่ พิณน้ำเต้า พิณเพร๊ยะ ซอสามสาย ฆ้อง กลองทัด ตะโพน กลองตุ๊ก (กลองชาตรี) ทับ (โทน) มโหรทึก บัณเฑาะว์ กังสดาล ฉิ่ง เป็นต้น และได้มีการประสมวงดนตรีในรูแบบต่างๆขึ้น เช่น วงขับไม้ ใช้บรรเลงในงานพระราชพิธีสำคัญ ได้แก่ พระราชพิธีขับกล่อมพระเศวตฉัตร พระราชพิธีขับกล่อมพระบรรทมพระราชกุมารหรือพระราชกมารี พระราชพิธีขับกลอมพระยาช้างเผือก มีการนำวงปีพาทย์เครื่องห้าไปใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรีและในพธีการต่างๆ และวงมโหรีเครื่องสีใช้บรรเลงในพระราชพิธี่ต่างๆ เป็นต้น
บัณเฑาะว์ |
กังสดาล |
2.3 สมัยอยุธยา มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีประเภทสายขึ้น ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ และยังได้มีการปรับปรุงประสมวงดนตรีขึ้นมาใหม่ ได้แก่ วงมโหรีเครื่องหก วงปี่พาทย์เครื่องห้า และวงเครื่องสาย ที่ใ้ช้บรรเลงขับกล่อม ในงานมงคลทั่วไป ส่วนเพลงไทยที่มีการประพันธ์ขึ้นในสมัยอยุธยา เช่น เพลงนางนาค ยิกินแปดบท สมิงทอง เขนง เป็นต้น
ซอด้วง |
ซออู้ |
2.4 สมัยรัตนโกสินธ์ ดนตรีในสมัยรัตนโกสินธ์มีความเจริญรุงเรืองอย่างม โดยมีพัฒนาการมาจากดนตรีสมัยอยุธยา มีวงดนตรีหลายลักษณะกิดขึ้น เช่น วงปี่พาทย์เสภา วงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงเครื่องสายไทย วงมหาดุริยางค์ไทย เป็นต้น สำหรับเครื่องดนตรีที่เกิดขึ้นหรือนำมาใช้ในวงดนตรีไทยมีหลายชนิด เช่น ฆ้องวงเล็ก ระนาดทุ้ม กลองสองหน้า อังกะลุง เป็นต้น ส่วนลักษณะของเพลงที่เิกดขึ้นในสมัยนี้ มีเพลงเถา เพลงโหมโรงเสภา เพลงละคร และเพลงสำเนียงภาษา
อังกะลุง |
WINKWHITE
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น