อิทธิพลของดนตรีกับบุคคลและสังคม

   กวีไทยได้กล่าวถึงอิทธิพลของดนตรีกับบุคคลและสังคมไว้ในบทกวีหลายบท  ซึ่งบทเด่นที่งดงามด้วยฉันทลักษณ์และมีเนื้อความกินใจคนไทยอย่างแพร่หลายมาเนินนาน  คือบทกวีของสุนทรภู่ในนิทานคำกลอนเรื่อง  พระอภัยมณี ตอนที่พระอภัยมณีอธิบายเรื่องอิทธิพลของดนตรีแก่สามพราหมณ์ที่พบกันโดยบังเอิญ  ซึ่งในเนื้อกลอนกล่าวว่า

                          พระฟังความพราหมณ์น้อยสนองถาม               จึงเล่าความจะแจ้งแถลงไข
              อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป                                             ย่อมใช้ได้ดั่งจินดาค่าบุรินทร์
              ถึงมนุษย์ครุฑาเทวราช                                                  จตุบาทกลางป่าพนาสินธ์
             แม้นปี่เราเป่าไปให้ได้ยิน                                                ก็สุดสิ้นโทโสที่โกธา
             ให้ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ                                              อันลัทธิดนตรีดีหนักหนา
             ซึ่งสงสัยไม่สิ้นในวิญญาณ์                                             จงนิทราเถิดจะเป่าให้เจ้าฟัง

1. อิทธิพลของดนตรีกับบุคคล
    ในวิถีชีวิตปัจจุบันบุคคลไม่อาจหนีรอดจากอิทธิพลของเสียงดนตรีได้  ไม่ว่าจะทำสิ่งใด  อยู่ที่ไหน  เมื่อใด  เสียงดนตรีก็จะแวดล้อมอยู่เกือบทุกเวลาและทุกสถานที่ ดนตรีถูกสร้างขึ้นมาใช้เป็นพื้นหลังสนับสนุนการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ดนตรีช่วยจุดประกายแสงสว่าง ให้แก่เหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในชีวิตของบุคคล ทั้งในยามสุขและในยามทุกข์  สามารถช่วยให้บุคคลที่มีอารมณ์ตึงเครียดผ่อนคลายลงได้
     เสียงดนตรีสามารถเชิญชวนให้บุคคลลุกขึ้นเต้นรำ  สามารถช่วยให้บุคคลมีความภาคภูมิใจในความเป็นหมู่คณะและความเป็นชาติของตน  ถ้าปราศจากเสียงดนตรีแล้วศิลปะการแสดงอื่นๆก็จะไม่เกิดขึ้น


2. อิทธิพลของดนตรีกับสังคม
    เนื่องจากบุคคลไม่สามารถแยกตนเองออกจากสังคมได้  เพราะดดยธรรมชาตินั้นมนุษย์จะอยู่รวมกันเป็นสังคม  ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ร่วมกันล่าสัตว์   ร่วมกันประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ  ร่วมกันเฉลิมฉลองในงานประเพณีทางศาสนา เป็นต้น การรวมตัวกันลักษณะนี้จะช่วยให้ทุกคนในกลุ่มมีโอกาสแสดงตัวตนต่อสังคมและแสดงอารมณ์ต่างๆ ออกมา  เพื่อสื่อสารความรู้นึกคิดกับบุคคลอื่น โดยในทุกกิจกรรมจะมีการบรรเลงดนตรี  หรือการขับร้องเพื่อสื่อสารความเข้าใจระหว่างกันแลักันของสมาชิกในสังคมอีกด้วย
     อนึ่ง ดนตรี คือ ศิลปะที่บุคคลในสังคมสร้างสรรค์ขึ้นมาใช้ร่วมกัน  ในบางครั้งอาจมีผู้เต้นรำเพิ่มเติมเข้ามาอีก  ซึ่งทุกคนล้วนต้องมีอารมณ์ร่วมกับเสียงทั้งสิ้น  ดนตรีจึงกลายเป็นวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งของสังคมมนุษย์ และวัฒนธรรมดนตรีของแต่ละสังคมล้วนเป็นเครื่องช่วยชี้บอกลักษณะของขนบธรรมเนียม ประเพณี  กิจกรรม และชาติพันธุ์ที่กลุ่มบุคคลในสังคมนั้นๆ ปฏิบัติ















WINKWHITE

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)