องค์ประกอบที่ใช้ในการสร้างสรรค์งานดนตรีและงานศิลปะ

องค์ประกอบของดนตรี

ดนตรีเป็นศิลปะและเป็นวิธีการแห่งการสร้าง หรือทำ "เสียง"ให้อยู่ในระเบียบในด้าน จังหวะ ทำนอง สีสันของเสียง และคีตลักษณ์ ไม่ว่าดนตรีชาติใดจะต้องอยู่ในพื้นฐานต่างเหล่านี้เหมือนกันทั้งสิ้น ในความแตกต่างนั้นขึ้นอยู่กับกรอบของวัฒนธรรมของแต่ละสังคม ที่กำหนดให้เกิดรสนิยมของแต่ละวัฒนธรรมซึ่งเป็นตัวกำหนดให้เกิดความแตกต่าง จนสามารถบ่งบอกได้ว่าดนตรีแต่ละแบบซึ่งแตกต่างกันนั้นเป็นของชาติหนึ่งชาติใดได้ ดังนั้นการศึกษาองค์ประกอบของดนตรี จึงควรศึกษาจากลักษณะทั้งหมดที่ได้กล่าวมาแล้ว
องค์ประกอบของดนตรีประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
1. เสียง เป็นสื่อของคีตกวีที่ใช้สร้างสรรค์ผลงานทางด้านดนตรี ซึ่งผู้สร้างสรรค์ดนตรีสามารถสร้างเสียงให้หลากหลายได้ โดยอาศัยวิธีการผลิตเสียงเป็นตัวกำหนด เช่า การดีด สี ตี เป่า เป็นต้น
ลักษณะความแตกต่างของเสียงนี้ จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ 4 ประการ คือ ระดับเสียง(สูง-ต่ำ) ความยาว และ ความแคบของเสียง(ช่วงสั้นๆ) และคุณภาพของเสียง (ดี-ไม่ดี)
1.1 ระดับเสียง หมายถึง ระดับความสูง - ต่ำ ของเสียง ซึ่งเกิดจากจำนวนของความถี่ของการสั่นสะเทือนของแหล่งกำเนิดเสียงของเครื่องดนตรี คือ ถ้าการสั่นสะเทือนเร็ว หรือความถี่ของคลื่นสูง เสียงก็จะสูง หากการสั่นสะเทือนช้า หรือความถี่ของคลื่นต่ำ เสียงก็จะต่ำ
1.2 ความสั้นยาวของเสียง เป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการกำหนดลีลา จังหวะ และอารมณ์
1.3 ความเข้มของเสียง คุณสมบัติเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของความหนัก - เบาของเสียง ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในการเกื้อหนุนเสียงให้มีลีลาจังหวะที่สมบูรณ์
1.4 คุณภาพของเสียง เกิดจากแหล่งกำเนิดเสียงที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างนั้นมีหลายสาเหตุ เช่น วีธีการผลิตเสียง รูปทรงของเครื่องดนตรี เป็นต้น

2. จังหวะ ในดนตรีสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ จังหวะภายใน และจังหวะภายนอก
2.1 จังหวะภายใน เป็นจังหวะที่แผงอยู่ในลีลาของทำนองได้แก่ความช้าเร็ว หนักเบา
2.2 จังหวะจากภายนอก เป็นจังหวะที่เพิ่มเติมจากจังหวะภายใน เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ จังหวะภายนอกสามารถแยกได้จากลีลาของทำนอง ซึ่งจะเพิ่มเติมลีลาของทำนองให้มีสีสันเพิ่มขึ้น โดยมีเครื่องดนตรีทำจังหวะเป็นสื่อผลิตเสียง สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ จังหวะหลักที่ดนตรีดำเนินไปพร้อมๆกันทุกเครื่องมือ และจังหวะของเพลงที่เกิดจากกลอง, กีต้าร์, เบส ฯลฯ เป็นตัวกำหนด
2.2.1 จังหวะหลัก (จังหวะเคาะเท้า) เป็นจังหวะที่เกิดจากการนับหรือเคาะจังหวะพี้อมๆกันทุกคน มีระเบียบการบรรเลงแตกต่างกันออกไป ตามลักษณะประเภทของเพลง และสำเนียงของเพลงนั้นๆ
2.2.2 จังหวะกลอง (ชื่อจังหวะต่างๆ) ที่มีชื่อเรียกต่างๆกันไป มีหลายรูปแบบ เป็นจังหวะที่เกิดจากการตีเครื่องหนัง ประเภทกลอง และเสียงของเครื่องดีดที่เป็นพวกให้จังหวะ (Rhythm) มีผลต่อการสร้างสีสันให้บทเพลงอย่างมาก
3. ทำนอง เป็นการจัดระเบียบของเสียงสูง ต่ำ สั้น ยาว หนัก และเบา ทำนองดนตรีไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทำนองหลัก และทำนองตกแต่ง
3.1 ทำนองหลัก เป็นเนื้อทำนองที่แท้จริงของเพลงนั้นๆ ซึ่งนักดนตรีจะเรียกว่า โจทย์ของเพลง หรือ Melody หลัก เครื่องดนตรีที่บรรเลงทำนองหลักคือ เครื่องมือที่กำหนดให้เป็นตัวโซโล่ทำนอง หรือ อาจจะเป็นการร้องก็ได้ ไม่มีกฏตายตัวแล้วแต่ผู้ประพันธ์จะวางรูปแบบ
3.2 ทำนองตกแต่ง เป็นการประดิษฐ์ตกแต่งทำนองหลักให้เกิดความไพเราะเหมาะสมกับเครื่องดนตรีแต่ละประเภท กระบวนการตกแต่งทำนองให้ไพเราะและเหมาะสมกับเครื่องดนตรีแต่ละประเภทนี้เรียกว่า การแปรทำนอง, การโซโล่, การด้นทำนอง (Improvisation) ซึ่งผู้เล่นจำเป็นต้องใช้ทักษะปฏิบัติอย่างสูง อันเกิดจากการฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายๆปี จนเกิดเป็นลักษณะของ "คีตปฏิภาณ"
4. สีสันของเสียง คือลักษณะของเสียงที่เกิดจากแหล่งกำเนิดเสียงที่มีความแตกต่างกัน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรีนั้น ความหลากหลายด้านสีสันของเสียงประกอบด้วยปัจจัยที่มีความแตกต่างกันหลายประการ เช่น วิธีการบรรเลง วัสดุที่ใช้ทำ รูปทรง ขนาด
4.1 วิธีการบรรเลง คุณลักษณะของเสียงที่เกิดจากวิธีการบรรเลง สามารถแยกออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
4.1.1 กลุ่มที่มีเสียงราบเรียบ กลุ่มนี้ได้แก่เครื่องเป่า และเครื่องสี ลักษณะเสียงที่ได้จะมีความต่อเนื่องกันของเสียง
4.1.2 กลุ่มที่มีเสียงไม่ราบเรียบ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีตระกูลเครื่องตีและดีด ซึ่งสามารถผลิตเสียงได้เพียงครั้งละหนึ่งเสียง หากต้องการผลิตเสียงที่ยาว ก็จะต้องตีและดีดหลายๆครั้งตามความยาวของจังหวะ
4.2 วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรี แตกต่างกันตามลักษณะทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของสังคมและยุคสมัย ความแตกต่างกันนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดความแตกต่างกันในด้านสีสันของเสียง
4.3 ขนาดและรูปทรง ความแตกต่างด้านขนาดและรูปทรงก่อให้เกิดความแตกต่างในด้านสีสันของเสียง ในลักษณะของความสัมพันธ์ต่างๆ เช่น วัสดุที่ใช้ทำยาว เสียงจะต่ำ วัสดุที่ใช้ทำสั้นเสียงจะสูง
5. คีตลักษณ์ เป็นการรวมเอาจังหวะ ทำนอง สีสันของเสียงให้เดินไปในทิศทางเดียวกัน สามารถพิจารณาได้จากลักษณะดังนี้
5.1 รูปแบบของเพลง สามารถกำหนดได้เองโดยผู้แต่ง ซึ่งไม่มีข้อจำกัดว่า ความยาว สั้น จำนวนท่อน ความช้า-เร็ว ได้ทั้งนั้น
5.2 ลีลาของเพลง มีความเกี่ยวข้องกับวิธีการประพันธ์ของผู้ประพันธ์ เป็นต้นว่า ใช้ทางคอร์ด Minor หรือ Major หรือรูปแบบของบันไดเสียงที่ใช้กับเพลงนั้นๆ ซึ่งจะเป็นความรู้ในขั้นสูงขึ้นไปอีกครับ

เทคนิคที่ใช้ในการสร้างสรรค์งานดนตรี
  1. ขจัดอคติ ออกไปจากความคิดและจิตใจของตนเองให้ได้มากที่สุด คือ อย่าชืนชอบเพลงหรือดนตรีด้วยความลำเอียง เพราะรัก หรือหลงไหล หรือเกรงใจในตัวศิลปินตามกระแสโฆษณา การประชาสัมพันธ์ของบริษัทผู้ผลิต หรือรังเกียจเพลง หรือดนตรี เพราะความชังอย่างไม่มีเหตุผลที่มีต่อศิลปิน หรือผู้ผลิต การมีอคติเช่นนี้เท่ากับว่าเราปิดกั้นตัวเอง โดยจะไม่มีโอกาสได้สัมผัสรู้สุนทรียะของเพลง หรือดนตรีของบุคคลอื่น หรือของกระบวนแบบอื่นเลย
   2. เข้าใจเรื่องธาตุที่เป็นองค์ประกอบของดนตรีอย่างถ่องแท้  เข้าใจว่าดนตรีใช้เสียงเป็นสื่อบอกเนื้อหา  บอกสุนทรียธาตุ และบอกศิลปินธาตุให้ผู้รับสื่อรับรู้ แต่เสียงดนตรีไม่อาจให้เห็นภาพที่ชัดเจนแก่ผู้ฟังได้ ทำให้ดนตรีเป็นจินตศิลป์  ผู้ฟังจำเป็นต้องสร้างจินตนาการตามเสียงนั้นด้วยตนเอง เสียงดนตรีจึงจะมีพลังและความคล่องตัวในอันที่จะกระตุ้นอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ฟังได้ต่างๆ นานา ขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางวัฒนธรรม ทางสังคม ทางความสนใจ และความรู้ ภูมหลังของบุคคลนั้นๆ
  3. หมั่นศึกษาหาความรู้ด้านดนตรี  ต้องรู้เรื่องไวยกรณ์ หรือสังคีตลักษณ์ของเพลงและดนตรี ต้องมีความรู้เรื่องกระบวนแบบของดนตรี ต้องมีความรู้เรื่องทฤษฎีดนตรี และควรรู้เรื่องเทคนิควิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีเหล่านี้อยู่บ้าง
   4. ฝึกนิสัยการฟังเพลงและดนตรีอย่างใจจดจ่อ ทำให้ได้ยินหน่วยเสียงทุกเสียง  สามารถจับธาตุที่เป็นองค์ประกอบของศิลปะดนตรีได้อย่างครบถ้วน  และสามารถวิเคราะห์ไวยกรณ์และทางประสานเสียงของบทบรรเลงได้ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นเครื่องมือทำให้ผู้ฟังมองเห็น หรือสัมผัสรู้สุนทรีะของดนตรีได้
   5. อย่าพยายามวาดมโนภาพตามเสียงเพลงบรรเลงทุกบท โดยเฮพาะอย่างยิ่งสังคีตนิพนธ์ในกลุ่มดนตรีที่มีความงามเป็นเลิศ หรือเพลงคลาสสิก ซึ่งจะไม่มีภาพ หรือเรื่องราวใดๆ แทรกอยู่ แต่จะงามด้วยองค์ประกอบที่เหมาะสมลงตัวของธาตุต่างๆของศิลปะดนตรี
                                            
                                           ตัวอย่างเพลงคลาสสิก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)