ปัจจัยที่ทำให้งานดนตรีได้รับการยอมรับจากสังคม

                   ดนตรีเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับคนในสังคม การสร้างสรรค์งานดนตรีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน แม้ว่าบางช่วงสมัยดนตรีอาจได้พบกับสภาวะวิกฤติบ้าง แต่ก็ยังสามารถดำรงคุณค่าให้อยู่คู่สังคมในปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์โดยในที่นี้จะกล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานดนตรีได้รับการยอมรับจากสังคม ดังนี้

1 ปัจจัยด้านความเจริญทางวัฒนธรรม
               ดนตรีมีความสำคัญและมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อวัฒนธรรมของชาติ ในอดีตประเทศไทยมีการนำดนตรีไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางประเพณีต่างๆ ทั้งในพระราชพิธี และพิธีกรรมต่างๆของประชาชน เช่นในอดีตเมื่อสมเด็จพระบรมราชินีทรงมีพระประสูติกาลเป็นพระราชธิดาก็จะมีการบรรเลงวงปี่พาทย์ เป็นต้น
              สำหรับกิจกรรมทางประเพณีของประชาชนจะมีการนำวงดนตรีไปบรรเลงเป็นส่วนหนึ่งของงานนั้น เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำขวัญนาค งานมงคลสมรส งานวันเกิด งานสมโภชเฉลิมฉลองต่างๆ งานเทศการตามประเพณี งานศพ เป็นต้น ซึ่งได้ยึถือปฎิบัติมาจนถึงปัจจุบันทำให้คนไทยมีความรัก ความผูกพันกับวิถีชีวิตและประเพณีไทย มีความคิดและมีทัศนคติที่ดีต่อดนตรีจนเกิดความรู้สึกว่าดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต โดยเฉพาะดนตรีไทยที่ช่วยสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของไทยได้เป็นอย่างดี
              ปัจจุบันทุกประเทศในโลกต่างมีงานศิลปวัฒนธรรมที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ดังที่พบเห็นได้เสมอในงานสำคัญต่างๆ เช่น ในการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ ประเทศที่เป็นเจ้าภาพจะแสดงออกอย่างชัดเจนในการนำศิลปวัฒนธรรมของชาติตนมาแสดงเพื่ออวดให้ชาวโลกได้ชื่นชม สะท้อนให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยก็เช่นเดียวกันเมื่อได้รับหน้าที่เป็นประเทศเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศหรืองานต้อนรับอาคันตุกะจากต่างประเทศ รัฐบาลไทยก็จะนำศิลปะการแสดงประเภทต่างๆ และการบรรเลงเครื่องดนตรีไทยมาจัดแสดง



2 ปัจจัยด้านความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 
                 ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้งานดนตรีกลายมาเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมอย่างกว้างขวาง ซึ่งเทคโนโลยีต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อนำมาใช้พัฒนางานดนครีให้คนในสังคมเข้าถึงดนตรีได้ง่ายมากขึ้นนั้น เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อโทมัส อัลวา เอดิสัน ( Thomas Alva Edison) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันได้คิดประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงขึ้นเมื่อ พ.ศ.2420 วงการดนตรีทั้งไทยและสากลก็ได้นำเครื่องบันทึกเสียงดังกล่าวมาสร้างสรรค์งานดนตรี บันทึกเสียงเพลง เสียงขับร้อง เสียงปราศรัยและข้อมูลเสียงต่างๆ ไว้เป็นสมบัติให้ชนรุ่นหลัง ซึ่งนักเรียนสามารถนำมาใช้ศึกษาหาความรู้ได้มาจนถึงปัจจุบัน




3. ปัจจัยด้านค่านิยมและการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย
             ค่านนิยมของสังคมไทยที่มีต่อเรื่องต่างๆ สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลาซึ่งงานดนตรีก็เช่นเดียวกันงานดนตรีสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยได้  โดยในอดีตพระมหากษัตริย์ไทยทรงถือเป็นพระราชกรณียกิจประการหนึ่งที่ทรงส่งเสริมงานดนตรีของชาติให้เจริญรุ่งเรือง บรรดาพระบรมวงศานุวงค์  ข้าราชการผู้ใหญ่มีค่านิยมในการส่งเสริมดนตรีไทย มีการพัฒนาวงดนตรีและอุปถัมภ์นักดนตรี ส่วนในหมู่ประชาชนก็มีค่านิยมในการนำวงดนตรีไทยไปบรรเลงเป็นส่วนหนึ่งของงานต่างๆ ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล
            แม้ในปัจจุบันระบบสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก  โครงสร้างทางวัฒนธรรมก็เปลี่ยนแปลงไป  แต่ค่านิยมของคนไทยที่มีต่อดนตรีก็ยังคงอยู่ รัฐบาลไทยยังสนับสุนนและทำนุบำรุงดนตรีโยเฉพาะดนตรีไทยอยู่เสมอ  เช่น การจัดตั้งสถาบันการศึกษาที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการผลิตนักดนตรีไทย มหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ได้เปิดการศึกษาวิชาเอกดนตรี ระดับโรงเรียนทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีการจัดรายวิชาดนตรีให้ผู้เรียนได้ศึกษาและฝึกปฏิบัติดนตรี ผู้เรียนจึงมีค่านิยมที่ดีต่อดนตรีไทย  ทำให้คนรุ่นใหม่เล็งเห็นความสำคัญในการศึกษา  เรียนรู้  และใช้ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตได้อย่างมีคุณค่า
             ตัวอย่างการปรับเปลี่ยนดนตรีให้เข้ากับยุคสมัยและค่านิยมที่เปลี่ยนแปลบงไป เช่น เมื่อวัฒนธรรมดนตรีตะวันตกเข้ามาแพร่หลายในสังคมไทยจึงเกิดวงแตรวง โดยมีการนำเพลงไทยมาบรรเลงด้วยวงแตรวงจำนวนมาก  มีการเปลี่ยนแปลงในการใช้ดนตรีในงานรื่นเริงหรือขบวนแห่ จากเมื่อก่อนใช้กลองยาวหรือวงมโหรีในการแห่ ปัจจุบันก็ได้มีการนำเอาเครื่องเสียงและวงดนตรีขึ้นบนรถบรรทุกแล้วก็เล่นดนตรีอยู่บนรถ หรือในที่รู้จักกันในชื่อ รถแห่  และเมื่อสังคมไทยนิยมฟังเพลงที่บรรเลงด้วยวงดนตรีสากล  ศิลปินดนตรีจึงนำเพลงไทยมาขับร้องเนื้อเต็มและบรรเลงด้วยวงดนตรีสากลเป็นศิลปะผสมผสาน  รวมทั้งบางส่วนก็ได้ไปเป็นเพลงลูกทุ่ง  เป็นต้น
           นอกจากนี้  ยังได้มีการนำดนตรีไทยและดนตรีสากลมาผสมผสานบรรเลงเข้าด้วยกันจนได้รับความนิยมชมชอบจากผู้ฟัง  ในขณะเดียวกันก็ยังมีการนำเครื่องดนตรีชาติต่างๆ มาบรรเลงประกอบเพลงไทย  เช่น กู่เจิง  ซอเอ้อหู เป็นต้น ดังนั้น ในปัจจุบันดนตรีในประเทศไทยจึงมีทั้งดนตรีไทยเดิม  ดนตรีสากล และดนตรีไทยสากลในสังคม






4 ปัจจัยด้านการสืบทอดดนตรีของศิลปิน
                    ในอดีตการสืบทอดดนตรีของศิลปินดนตรี จะเป็นการเรียนรู้ในสำนักดนตรี มีครูเป็นศูนย์กลางของความรู้ มีสำนักดนตรีที่เจ้านาย ข้าราชการหรือผู้มีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจอุปถัมภ์ ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ครูดนตรีรุ่นเก่าตัวเองไปเป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิในสถานศึกษาต่างๆ การสืบทอดดนตรีไทยพัฒนาให้สอดคล้องกับการก้าวไปของโลกสมัยใหม่ โดยได้เข้าสู่ระบบการเรียนการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาแทนที่การศึกษาในวังหรือในวัดเหมือนในอดีต
ขณะเดียวกัน นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนและก้าวเข้าสู่การเรียนดนตรีในระดับปริญญาตรีปริญญาโทและปริญญาเอก ก็ได้กลับเข้ามาเป็นมาเป็นครูอาจารย์ร่วมกับครูผู้ทรงคุณวุฒิด้านดนตรีไทยและมาเป็นครูสอนดนตรีให้แก่นักเรียนรุ่นต่อๆ มา ระบบการสืบทอดดนตรีไทยที่กล่าวมา ส่งผลให้นักเรียนมีโอกาสเรียนดนตรีไทยกันได้อย่างกว้างขวาง มีตำราเรียนดนตรี เครื่องดนตรีและสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย เอื้ออำนวยให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้วิชาการดนตรีไทยดำรงอยู่คู่กับสังคมและวัฒนธรรมไทยต่อไป


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)