เหตุการณ์ประวัติศาสตร์กับการเปลี่ยนแปลงทางดนตรีในประเทศไทย
ดนตรีเป็นศิลปะของมนุษยชาติที่ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดทางวัฒนธรรมของแต่ละวัฒนธรรมจึงย่อมมีการผสมผสาน ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ซึ่งปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ที่มีอิทธิพลต่องานดนตรีของประเทศไทย คือ
1. การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองกับงานดนตรี
การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง มีอิทธิพลต่องานดนตรีของประเทศไทยในหลายยุคสมัยทั้งโดยเปลี่ยนจากพื้นฐานของตนเองและรับแนวคิดจากวัฒนธรรมภายนอก
1.1 ช่วงปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 ) ประเทศไทยได้รับแนวคิดการมีเพลงเกียรติยศสำหรับสถาบัน หรือบุคคลสำคัญของชาติจากชาวตะวันตก กล่าวคือ ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขต้องมีเพลงสำหรับพระมหากษัตริย์ส่งผลให้เกิดเกียรติยศขึ้นหลายเพลง เช่น เพลงสรรเสริญพระบรามี เพลงมหาชัย เพลงมหาฤกษ์ เป็นต้น
สำหรับเพลงสรรเสริญพระบารมี เกิดจากเมื่อครั้งเสด็จประภาสเกาะชวา เมื่อปี พ.ศ.2414 ขณะที่ประทับอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ วงดุริยางค์ของอังกฤษต้องการบรรเลงเพลงเกียรติยศเพื่อรับเสด็จ ในสมัยนั้นประเทศไทยยังไม่มีเพลงเกียรติยศ จึงใช้เพลง "God Save the Queen" รับเสด็จแทน และเมื่อทรงเสด็จไปยังเมืองปัตตาเวีย ประเทศอินโดนีเซีย ชาวฮอลันดาก็ได้สอบถามถึงเพลงประจำพระองค์ เพื่อจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จเช่นเดียวกัน
เมื่อเสด็จนิวัตสู่ประเทศไทย จึงทรงโปรดเกล้าฯให้ดำเนินการให้มีเพลงเกียรติยศสำหรับกษัตริย์ ซึ่งครูดนตรีไทยได้เลือกเพลงบุหลันลอยเลื่อนในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) มาปรับปรุงเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี แต่ท่วงทำนองจังหวะยังไม่เหมาะสมกับการใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลง ในเวลาต่อมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้นำทำนองเพลงที่ครูดนตรีชาวฮอลันดาเป็นผู้แต่งมาใช้ ส่วนเนื้อร้องเป็นบทพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ซึ่งภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงปรับคำบางแห่งให้สอดคล้องกันดังเนื้อเพลงที่ใช้ร้องกันอยู่ในปัจจุบัน สำหรับเพลงมหาชัย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระนริศรานุวัติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์ขึ้น เพื่อใช้เป็นเกียรติยศของประธานในพิธีที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ชั้นผู้ใหญ่ เช่น สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นต้น และเพลงมหาฤกษ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงนำทำนองของเก่าครั้งสมัยอยุธยามาพระนิพนธ์ขึ้นให้เป็นทำนองอย่างเพลงฝรั่ง ใช้ในวโกาสที่เกี่ยวำกับฤกษ์พิธี หรือช่วงเวลาสำคัญที่สุดของงาน รวมทั้งใช้บรรเลงต้อนรับประธานในพิธีที่มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์
เพลงสรรเสริญพระบารมี
เพลงมหาชัย
เพลงมหาฤกษ์
1.2 ช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ.2475 ได้มีการใช้เพลงชาติ ฉบับที่พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะการ) ประพันธ์ทำนอง และขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ประพันธ์เนื้อเพลง แต่ใช้เป็นระยะเวลาสั้นๆ อย่างไม่เป็นทางการ
ในปี พ.ศ.2477 รัฐบาลได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติขึ้นใหม่ ผลปรากฏว่าเนื้อร้องของขุนวิจิตรมาตรายังคงได้รับการรับรองให้ใช้อีกต่อไป แต่มีการเพิ่มเนื้อร้องของนายฉันท์ ขำวิไล ต่อท้ายเข้ามาอีก 2 บท ทำให้เนื้อร้องเพลงชาติยาวมาก ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามมาเป็นไทย ในปี พ.ศ.2482 ทางราชการจึงเลือกใช้ทำนองเพลงเดิมของพระเจนดุริยางค์ ส่วนเนื้อเพลงได้เปิดให้มีการประกวด ผลปรากฏว่าเนื้อเพลงของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งแต่งในนามของกองทัพบกได้รับคัดเลือกและนำมาใช้อย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2482 เป็นต้นมา
เพลงชาติไทย
1.3 ช่วงสมัยรัฐนิยม การเมืองของประเทศไทยหลังปี พ.ศ.2475 เป็นต้นมา รัฐบาลมีความต้องการจะพัฒนาประเทศให้มีความทันสมัยเหมือนอย่างตะวันตก รวมทั้งต้องการปลูกฝังให้คนไทยมีความคิดแบบชาตินิยม จึงพยายามกำหนดวัฒนธรรมใหม่ให้คนไทยยึดถือปฏิบัติ แนวความคิดนี้มีความชัดเจนมากในรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ระหว่างปี พ.ศ.2481-2487 ได้ออกประกาศรัฐนิยมถึง 12 ฉบับ ซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมหลายลักษณะ รวมทั้งดนตรีก็ถูกนำไปมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้สึกรักชาตินิยมด้วย ซึ่งหน่วยงานที่เป็นหลักในการดำเนินงนสร้างจิตสำนึกรักชาติ ได้แก่ กรมศิลปากรและกรมโฆษณาการ บุคคลสำคัญที่มีบทบาทในการทำงาน คือ หลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา) ที่ใช้ละครเป็นเครื่องมือสื่อสารแนวคิดในการรักชาติ
โดยเฉพาะละครปลุกใจเรื่องต่างๆ ของหลวงวิจิตรวาทการ จะเน้นเนื้อหาสาระให้ผู้ชมตระหนักถึงความสามัคคี ความรักชาติ ความเสียสละเพื่อส่วนรวมผ่านตัวละคร บทร้อง และทำนองเพลง ดังที่ปรากฏในบทละครเรื่อง เลือดสุพรรณ เรื่องราชมนู เรื่องศึกถลาง เรื่องเจ้าหญิงแสนหวี เรื่องมหาเทวี ฯลฯ และเมื่อมีการก่อปฏิวัติรัฐประหาร ทางรัฐบาลได้นำเพลงปลุกใจที่อยู่ในละครมาออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีโทรทัศน์ เช่น เพลงเลือดสุพรรณ จากละครเรื่อง เลือดสุพรรณ เพลงรักเมืองไทย จากละครเรื่อง ราชมนู เพลงศึกถลาง เพลงแหลมทอง เพลงถื่นเถิดชาวไทย จากละครเรื่องศึกถลาง เป็นต้น
1.4 ช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 สถานการณืบ้านเมือบงในขณะนั้น มีความแตกแยกทางความคิดเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ในขณะเดียวกันก็เกิดการต่อต้านลัทธิทุนนิยมตะวันตก รวมทั้งประชาชนเกิดความต้องการให้บ้านเมืองมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาคนยากจนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบและไม่ได้รับความเป็นธรรมต่างๆ
สภาพเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น ได้เป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินสร้างสรรค์ดนตรีและบทเพลงออกมารับใช้สังคมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเพลงเพื่อชีวิต เพลงที่มีเนื้อหาสาระบอกเล่าเรื่องราวความเป็นไปในสังคม ให้เห็นความยากไร้ของชั้นชนกรรมาชีพ การต่อต้านสินค้าต่างชาติ ความไม่เป็นธรรม เพลงเพื่อชีวิตจะใช้เครื่องดนตรีง่ายๆ แล้วแต่ถนัด ผสมผสานระหว่างเครื่องดนตรีตะวันออกกับเครื่องดนตรีตะวันตก วงดนตรีเพื่อชีวิตในยุคนั้นมีอยู่หลากหลายวง เช่น วงคาราวาน วงแฮมเมอร์ เป็นต้น
วงคาราวาน
วงแฮมเมอร์
ช่วงเวลาดังกล่าวก็มีดนตรีในอีกลักษณะหนึ่ง คือ เพลงปลุกใจ ที่มีเนื้อหาสาระเน้นให้รักชาติ รักแผ่นดิน ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ต่อต้านผู้ที่ทำให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย เพลงปลุกใจเป็นเพลงที่มีอิทธิพลต่อการกระตุ้นพลังภายในของผู้ฟังให้กระตือรือร้น เกิดความฮึกเหิม กล้าหกาญ ฯลฯ เพลงปลุกใจที่นิยมนำมาขับร้องบ่อย เช่น เพลงหนักแผ่นดิน เพลงถามคนไทย เพลงอยุธยารำลึก เพลงรักกันไว้เถิด เพลงตืนเถดชาวไทย เพลงต้นตระกูลไทย เป็นต้น
ต้นตระกูลไทย
ภายหลังเหตุการ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 มาจนถึงปัจจุบัน สภาพบ้านเมืองมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอันมาก และแม้ในบางช่วงจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ภาพดนตรีก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบมากนัก เพียงแต่มีการปรับให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและการแข่งขันทางเศรษฐกิจค่ายเพลง อย่างเพลงเพื่อชีวิตก็ไม่เน้นเรื่องราวของชนชั้นกรรมาชีพมากนัก แต่จะกล่าวถึงเรื่องราวที่สังคมให้ความสน รวมทั้งความรักของหนุ่มสาวด้วย หรือจากจังหวะทำนองที่เรียบง่ายหลายเพลง ก็เปลี่ยนเป้นจังหวะทำนองที่สนุกสนานแทน เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผุ้ฟังที่เป็นวัยรุ่นได้ง่ายขึ้น เนื้อหาของเพลงปลุกใจจะเป็นเรื่องรวหลากหลายมากกว่าเดิม เช่น เน้นในเรื่องการรู้การรู้จักสามัคคี ความจงรักภักดี การอนุรักษ์ทรัพยากระรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น
2. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีกับงานดนตรี
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างสรรค์ผลงานอันมีคุณค่า และยังส่งผลต่อการพัฒนางานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านวรรณกรรม ศิลปกรรม นาฏกรรม ดนตรี โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะด้านงานดนตรี การเลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้ส่งผลให้งานดนตรีมีการพัฒนา ทั้งในระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องดนตรี เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และการปรับปรุงรูปแบบของดนตรีจนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับงานดนตรี เริ่มต้นขึ้นเมื่อโทมัส อันวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลก ได้คิดประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับใช้บันทึกเสียงดนตรีขึ้น และเรียกเครื่องมือชนิดนี้ว่า "เครื่องบันทึกเสียง เอดิสัน โฟโนกราฟ" (Edison Phonograph) เครื่องมือชนิดนี้สามารถใช้บันทึกทำนองและจังหวะของบทเพลงเพื่อสื่อไปถึงผู้ฟังได้ ซึ่งจะมีความแตกต่างไปจากการบันทึกเพลงด้วยตัวโน้ตเหมือนแต่ก่อน ในช่วงแรกเครื่องบันทึกเสียงดังกล่าวยังให้รายละเอียดและคุณภาพเสียงได้ไม่ดีนัก แต่ก็ถือเป็นสิ่งที่สร้างความมหัศจรรย์ให้แก่วงการดนตรีอย่างมากในสมัยนั้น อีกทั้งยังเป็นการเริ่มต้นการพัฒนาระบบการบันทึกเสียงดนตรีอีกหลายรูปแบบในภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกเสียงลงในกระบอกเสียงไขขี้ผึ้ง (Wax Cylinder) การบันทึกเสียงลงในจานเสียงหรือแผ่นเสียง ใช้เปิดกับเครื่องเล่นจานเสียง (Gramophone)
นอกจากการประดิษฐ์เครื่องมือเกี่ยวกับการบันทึกเสียงแล้ว ยังมีการปรับปรุงคุณภาพของงานดนตรีโดยนักฟิสิกส์ชื่อว่า "อเล็กซานเดอร์ เจ.เอลลิส" (Alexander J.Ellis) ได้ศึกษาวิธีวัดระยะขั้นคู่เสียง โดยกำหนดให้ 1 ช่วงทบเสียง (Octave) มีค่าเท่ากับ 1,200 เซ็นต์ โยแบ่งระยะครึ่งเสียงในดนตรีตะวันตก 100 เซ็นต์ ซึ่งวิธีคิดเช่นนี้คงใช้มาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับในประเทศไทย เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่งานดนตรีให้ได้รับความนิยมจากนักฟังเพลงมากขึ้น เพราะนับตั้งแต่ที่มีการเปิดใช้ไฟฟ้าครั้งแรกในพระนคร เมื่อปี พ.ศ.2427 ดดยจอมลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ได้มอบหมายให้ครูฝึกทหารชาวอิตาลีเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อเครื่องจักรไฟฟ้าจากประเทศอังกฤษ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าใช้เรียบร้อยแล้ว พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน จึงได้ทรงเริ่มกระจายเสียงจากวังบ้านดอกไม้ เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2456 โดยเริ่มจากการกระจายเสียงข่าวสารทางราชการ จากนั้นจึงมีรายการบรรเลงดนตรีวงต่างๆ ตามมาทั้งวงดนตรีสากล วงดนตรีไทยสากล และวงดนตรีไทย ฯลฯ ออกอากาศตามรายการที่จัดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ประชาชนมีโอกาสได้รับฟังข่าวสารและบทเพลงรายการต่างๆเป็นการนำดนตรีไปสู่ผู้ฟัง ทั้งในพระนครและต่างจังหวัด
การพัฒนาเทคโนโลยีด้านงานดนตรียังดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดนิ่ง นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างเครื่องบันทึกเสียงต่อมาอีกหลายลักษณะ เทคโนโลยีเกี่ยวกับงานดนตรีได้พัฒนาขึ้นตามความนิยมของนักฟังเพลง ซึ่งปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย โดยในปัจจุบันพัฒนาการของการดนตรีได้ปรับตามเทคโนโลยีระบบดิจิทอล คือ นอกจากการนำเสียงดนตรีไปสู่ผู้ฟังผ่านทางวิทยุกระจายเสียงแล้วยังพัฒนาไปสู่การเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต จนเข้าสู่ระบบดาวเทียมที่ในปัจจุบันถือว่าเป็นสื่อเผยแพร่ที่มีความสำคัญในการนำเพลงไพเราะสู่กลุ่มผู้ฟังเพลงทั่วโลก
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้ส่งผลให้งานดนตรีมีการพัฒนา ทั้งในระบบคอมพิวเตอรื การพัฒนาเครื่องดนตรี เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และปรับปรุงรูปแบบของดนตรีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อนำบทเพลงไพเราะสู่ผู้ฟังให้ได้รับความสุขอย่างเต็มที่
ผลิตภัณฑ์ WINKWHITE
1. การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองกับงานดนตรี
การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง มีอิทธิพลต่องานดนตรีของประเทศไทยในหลายยุคสมัยทั้งโดยเปลี่ยนจากพื้นฐานของตนเองและรับแนวคิดจากวัฒนธรรมภายนอก
1.1 ช่วงปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 ) ประเทศไทยได้รับแนวคิดการมีเพลงเกียรติยศสำหรับสถาบัน หรือบุคคลสำคัญของชาติจากชาวตะวันตก กล่าวคือ ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขต้องมีเพลงสำหรับพระมหากษัตริย์ส่งผลให้เกิดเกียรติยศขึ้นหลายเพลง เช่น เพลงสรรเสริญพระบรามี เพลงมหาชัย เพลงมหาฤกษ์ เป็นต้น
สำหรับเพลงสรรเสริญพระบารมี เกิดจากเมื่อครั้งเสด็จประภาสเกาะชวา เมื่อปี พ.ศ.2414 ขณะที่ประทับอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ วงดุริยางค์ของอังกฤษต้องการบรรเลงเพลงเกียรติยศเพื่อรับเสด็จ ในสมัยนั้นประเทศไทยยังไม่มีเพลงเกียรติยศ จึงใช้เพลง "God Save the Queen" รับเสด็จแทน และเมื่อทรงเสด็จไปยังเมืองปัตตาเวีย ประเทศอินโดนีเซีย ชาวฮอลันดาก็ได้สอบถามถึงเพลงประจำพระองค์ เพื่อจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จเช่นเดียวกัน
เมื่อเสด็จนิวัตสู่ประเทศไทย จึงทรงโปรดเกล้าฯให้ดำเนินการให้มีเพลงเกียรติยศสำหรับกษัตริย์ ซึ่งครูดนตรีไทยได้เลือกเพลงบุหลันลอยเลื่อนในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) มาปรับปรุงเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี แต่ท่วงทำนองจังหวะยังไม่เหมาะสมกับการใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลง ในเวลาต่อมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้นำทำนองเพลงที่ครูดนตรีชาวฮอลันดาเป็นผู้แต่งมาใช้ ส่วนเนื้อร้องเป็นบทพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ซึ่งภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงปรับคำบางแห่งให้สอดคล้องกันดังเนื้อเพลงที่ใช้ร้องกันอยู่ในปัจจุบัน สำหรับเพลงมหาชัย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระนริศรานุวัติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์ขึ้น เพื่อใช้เป็นเกียรติยศของประธานในพิธีที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ชั้นผู้ใหญ่ เช่น สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นต้น และเพลงมหาฤกษ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงนำทำนองของเก่าครั้งสมัยอยุธยามาพระนิพนธ์ขึ้นให้เป็นทำนองอย่างเพลงฝรั่ง ใช้ในวโกาสที่เกี่ยวำกับฤกษ์พิธี หรือช่วงเวลาสำคัญที่สุดของงาน รวมทั้งใช้บรรเลงต้อนรับประธานในพิธีที่มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์
เพลงสรรเสริญพระบารมี
เพลงมหาชัย
เพลงมหาฤกษ์
1.2 ช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ.2475 ได้มีการใช้เพลงชาติ ฉบับที่พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะการ) ประพันธ์ทำนอง และขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ประพันธ์เนื้อเพลง แต่ใช้เป็นระยะเวลาสั้นๆ อย่างไม่เป็นทางการ
ในปี พ.ศ.2477 รัฐบาลได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติขึ้นใหม่ ผลปรากฏว่าเนื้อร้องของขุนวิจิตรมาตรายังคงได้รับการรับรองให้ใช้อีกต่อไป แต่มีการเพิ่มเนื้อร้องของนายฉันท์ ขำวิไล ต่อท้ายเข้ามาอีก 2 บท ทำให้เนื้อร้องเพลงชาติยาวมาก ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามมาเป็นไทย ในปี พ.ศ.2482 ทางราชการจึงเลือกใช้ทำนองเพลงเดิมของพระเจนดุริยางค์ ส่วนเนื้อเพลงได้เปิดให้มีการประกวด ผลปรากฏว่าเนื้อเพลงของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งแต่งในนามของกองทัพบกได้รับคัดเลือกและนำมาใช้อย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2482 เป็นต้นมา
เพลงชาติไทย
1.3 ช่วงสมัยรัฐนิยม การเมืองของประเทศไทยหลังปี พ.ศ.2475 เป็นต้นมา รัฐบาลมีความต้องการจะพัฒนาประเทศให้มีความทันสมัยเหมือนอย่างตะวันตก รวมทั้งต้องการปลูกฝังให้คนไทยมีความคิดแบบชาตินิยม จึงพยายามกำหนดวัฒนธรรมใหม่ให้คนไทยยึดถือปฏิบัติ แนวความคิดนี้มีความชัดเจนมากในรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ระหว่างปี พ.ศ.2481-2487 ได้ออกประกาศรัฐนิยมถึง 12 ฉบับ ซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมหลายลักษณะ รวมทั้งดนตรีก็ถูกนำไปมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้สึกรักชาตินิยมด้วย ซึ่งหน่วยงานที่เป็นหลักในการดำเนินงนสร้างจิตสำนึกรักชาติ ได้แก่ กรมศิลปากรและกรมโฆษณาการ บุคคลสำคัญที่มีบทบาทในการทำงาน คือ หลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา) ที่ใช้ละครเป็นเครื่องมือสื่อสารแนวคิดในการรักชาติ
โดยเฉพาะละครปลุกใจเรื่องต่างๆ ของหลวงวิจิตรวาทการ จะเน้นเนื้อหาสาระให้ผู้ชมตระหนักถึงความสามัคคี ความรักชาติ ความเสียสละเพื่อส่วนรวมผ่านตัวละคร บทร้อง และทำนองเพลง ดังที่ปรากฏในบทละครเรื่อง เลือดสุพรรณ เรื่องราชมนู เรื่องศึกถลาง เรื่องเจ้าหญิงแสนหวี เรื่องมหาเทวี ฯลฯ และเมื่อมีการก่อปฏิวัติรัฐประหาร ทางรัฐบาลได้นำเพลงปลุกใจที่อยู่ในละครมาออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีโทรทัศน์ เช่น เพลงเลือดสุพรรณ จากละครเรื่อง เลือดสุพรรณ เพลงรักเมืองไทย จากละครเรื่อง ราชมนู เพลงศึกถลาง เพลงแหลมทอง เพลงถื่นเถิดชาวไทย จากละครเรื่องศึกถลาง เป็นต้น
1.4 ช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 สถานการณืบ้านเมือบงในขณะนั้น มีความแตกแยกทางความคิดเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ในขณะเดียวกันก็เกิดการต่อต้านลัทธิทุนนิยมตะวันตก รวมทั้งประชาชนเกิดความต้องการให้บ้านเมืองมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาคนยากจนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบและไม่ได้รับความเป็นธรรมต่างๆ
สภาพเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น ได้เป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินสร้างสรรค์ดนตรีและบทเพลงออกมารับใช้สังคมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเพลงเพื่อชีวิต เพลงที่มีเนื้อหาสาระบอกเล่าเรื่องราวความเป็นไปในสังคม ให้เห็นความยากไร้ของชั้นชนกรรมาชีพ การต่อต้านสินค้าต่างชาติ ความไม่เป็นธรรม เพลงเพื่อชีวิตจะใช้เครื่องดนตรีง่ายๆ แล้วแต่ถนัด ผสมผสานระหว่างเครื่องดนตรีตะวันออกกับเครื่องดนตรีตะวันตก วงดนตรีเพื่อชีวิตในยุคนั้นมีอยู่หลากหลายวง เช่น วงคาราวาน วงแฮมเมอร์ เป็นต้น
วงคาราวาน
วงแฮมเมอร์
ช่วงเวลาดังกล่าวก็มีดนตรีในอีกลักษณะหนึ่ง คือ เพลงปลุกใจ ที่มีเนื้อหาสาระเน้นให้รักชาติ รักแผ่นดิน ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ต่อต้านผู้ที่ทำให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย เพลงปลุกใจเป็นเพลงที่มีอิทธิพลต่อการกระตุ้นพลังภายในของผู้ฟังให้กระตือรือร้น เกิดความฮึกเหิม กล้าหกาญ ฯลฯ เพลงปลุกใจที่นิยมนำมาขับร้องบ่อย เช่น เพลงหนักแผ่นดิน เพลงถามคนไทย เพลงอยุธยารำลึก เพลงรักกันไว้เถิด เพลงตืนเถดชาวไทย เพลงต้นตระกูลไทย เป็นต้น
ต้นตระกูลไทย
ภายหลังเหตุการ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 มาจนถึงปัจจุบัน สภาพบ้านเมืองมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอันมาก และแม้ในบางช่วงจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ภาพดนตรีก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบมากนัก เพียงแต่มีการปรับให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและการแข่งขันทางเศรษฐกิจค่ายเพลง อย่างเพลงเพื่อชีวิตก็ไม่เน้นเรื่องราวของชนชั้นกรรมาชีพมากนัก แต่จะกล่าวถึงเรื่องราวที่สังคมให้ความสน รวมทั้งความรักของหนุ่มสาวด้วย หรือจากจังหวะทำนองที่เรียบง่ายหลายเพลง ก็เปลี่ยนเป้นจังหวะทำนองที่สนุกสนานแทน เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผุ้ฟังที่เป็นวัยรุ่นได้ง่ายขึ้น เนื้อหาของเพลงปลุกใจจะเป็นเรื่องรวหลากหลายมากกว่าเดิม เช่น เน้นในเรื่องการรู้การรู้จักสามัคคี ความจงรักภักดี การอนุรักษ์ทรัพยากระรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น
2. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีกับงานดนตรี
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างสรรค์ผลงานอันมีคุณค่า และยังส่งผลต่อการพัฒนางานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านวรรณกรรม ศิลปกรรม นาฏกรรม ดนตรี โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะด้านงานดนตรี การเลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้ส่งผลให้งานดนตรีมีการพัฒนา ทั้งในระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องดนตรี เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และการปรับปรุงรูปแบบของดนตรีจนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับงานดนตรี เริ่มต้นขึ้นเมื่อโทมัส อันวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลก ได้คิดประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับใช้บันทึกเสียงดนตรีขึ้น และเรียกเครื่องมือชนิดนี้ว่า "เครื่องบันทึกเสียง เอดิสัน โฟโนกราฟ" (Edison Phonograph) เครื่องมือชนิดนี้สามารถใช้บันทึกทำนองและจังหวะของบทเพลงเพื่อสื่อไปถึงผู้ฟังได้ ซึ่งจะมีความแตกต่างไปจากการบันทึกเพลงด้วยตัวโน้ตเหมือนแต่ก่อน ในช่วงแรกเครื่องบันทึกเสียงดังกล่าวยังให้รายละเอียดและคุณภาพเสียงได้ไม่ดีนัก แต่ก็ถือเป็นสิ่งที่สร้างความมหัศจรรย์ให้แก่วงการดนตรีอย่างมากในสมัยนั้น อีกทั้งยังเป็นการเริ่มต้นการพัฒนาระบบการบันทึกเสียงดนตรีอีกหลายรูปแบบในภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกเสียงลงในกระบอกเสียงไขขี้ผึ้ง (Wax Cylinder) การบันทึกเสียงลงในจานเสียงหรือแผ่นเสียง ใช้เปิดกับเครื่องเล่นจานเสียง (Gramophone)
เครื่องบันทึกเสียงโฟโนกราฟ |
เครื่องเล่นแผ่นเสียง |
แผ่นเสียง |
นอกจากการประดิษฐ์เครื่องมือเกี่ยวกับการบันทึกเสียงแล้ว ยังมีการปรับปรุงคุณภาพของงานดนตรีโดยนักฟิสิกส์ชื่อว่า "อเล็กซานเดอร์ เจ.เอลลิส" (Alexander J.Ellis) ได้ศึกษาวิธีวัดระยะขั้นคู่เสียง โดยกำหนดให้ 1 ช่วงทบเสียง (Octave) มีค่าเท่ากับ 1,200 เซ็นต์ โยแบ่งระยะครึ่งเสียงในดนตรีตะวันตก 100 เซ็นต์ ซึ่งวิธีคิดเช่นนี้คงใช้มาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับในประเทศไทย เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่งานดนตรีให้ได้รับความนิยมจากนักฟังเพลงมากขึ้น เพราะนับตั้งแต่ที่มีการเปิดใช้ไฟฟ้าครั้งแรกในพระนคร เมื่อปี พ.ศ.2427 ดดยจอมลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ได้มอบหมายให้ครูฝึกทหารชาวอิตาลีเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อเครื่องจักรไฟฟ้าจากประเทศอังกฤษ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าใช้เรียบร้อยแล้ว พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน จึงได้ทรงเริ่มกระจายเสียงจากวังบ้านดอกไม้ เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2456 โดยเริ่มจากการกระจายเสียงข่าวสารทางราชการ จากนั้นจึงมีรายการบรรเลงดนตรีวงต่างๆ ตามมาทั้งวงดนตรีสากล วงดนตรีไทยสากล และวงดนตรีไทย ฯลฯ ออกอากาศตามรายการที่จัดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ประชาชนมีโอกาสได้รับฟังข่าวสารและบทเพลงรายการต่างๆเป็นการนำดนตรีไปสู่ผู้ฟัง ทั้งในพระนครและต่างจังหวัด
การพัฒนาเทคโนโลยีด้านงานดนตรียังดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดนิ่ง นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างเครื่องบันทึกเสียงต่อมาอีกหลายลักษณะ เทคโนโลยีเกี่ยวกับงานดนตรีได้พัฒนาขึ้นตามความนิยมของนักฟังเพลง ซึ่งปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย โดยในปัจจุบันพัฒนาการของการดนตรีได้ปรับตามเทคโนโลยีระบบดิจิทอล คือ นอกจากการนำเสียงดนตรีไปสู่ผู้ฟังผ่านทางวิทยุกระจายเสียงแล้วยังพัฒนาไปสู่การเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต จนเข้าสู่ระบบดาวเทียมที่ในปัจจุบันถือว่าเป็นสื่อเผยแพร่ที่มีความสำคัญในการนำเพลงไพเราะสู่กลุ่มผู้ฟังเพลงทั่วโลก
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้ส่งผลให้งานดนตรีมีการพัฒนา ทั้งในระบบคอมพิวเตอรื การพัฒนาเครื่องดนตรี เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และปรับปรุงรูปแบบของดนตรีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อนำบทเพลงไพเราะสู่ผู้ฟังให้ได้รับความสุขอย่างเต็มที่
ห้องบันทึกเสียง |
เครื่องขยายเสียง |
ชุดเครื่องเสียง |
ผลิตภัณฑ์ WINKWHITE
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น