ลักษณะของบทเพลงไทย
ลักษณะของบทเพลงไทยมีหลากหลายลักษณะคล้ายบทร้อง โดยเริ่มจากวรรคหลายวรรคเป็ยบาท และหลายบาทเป็นบท โดยลักษณะของบทเพลงไทยสามารถจำแนกได้ดังนี้
1. วรรค ส่วนหนึ่งของทำนองเพลงที่กำหนดโดยความยาวของจังหวะหน้าทับ ทำนองเพลง 1วรรค มีความยาวเท่ากับ 1 จังหวะหน้าทับ
2. ท่อน ทำนองเพลงที่มีความยาวตั้งแต่ 2 วรรค ขึ้นไป ที่นำมาเรียบเรียงติดต่อกันเป็นส่วนหนึ่งของบทเพลง
3. จับ มีความหมายเดียวกันกับ ท่อน แต่ใช้เรียกทำนองเพลงเชิดนอกที่ใช้ปี่นอกบรรเลงประกอบการแสดงหนังใหญ่ โดยการแสดงแต่ละครั้งคนเชิดจะเชิดหนังจับออกมา 3 คู่ ในแต่ละคู่ ผู้บรรเลงปี่นอกจะต้องบรรเลงเพลงเชิดนอก 1จับ ดังนั้น ในการบรรเลงเพลงเชิดนอกที่ถูกต้อง จึงต้องบรรเลงให้ครบทั้ง 3 จับ
4. ตัว มีความหมายเดียวกับ ท่อน และ จับ ต่างกันเพียง ตัว ใช้สำหรับเรียกสัดส่วนของเพลงบางประเภท ได้แก่ เพลงตระ และเพลงเชิดต่างๆ ยกเว้นเพลงเชิดนอกที่เรียกเป็น จับ อีกทั้งเพลงที่นับเป็นตัวจะมีลักษณะพิเศษ คือ ทำนองตอนท้ายของทุกตัวนั้นจะลงท้ายเหมือนกัน
5. เพลง ทำนองที่ดุริยกวีได้ประพันธ์ขึ้นจากจินตนาการของตนหรือแรงบันดาลใจ โดยจะมีจังหวะช้าหรือเร็ว หรือยาวไม่เท่ากัน แต่แบบแผนที่ถูกต้องของเพลงไทยโบราณ คือ ท่อนหนึ่งควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 2 จังหวะหน้าทับ
เพลงไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. เพลงขับร้อง คือเพลงที่ประพันธ์ขึ้นสำหรับดนตรีบรรเลงร่วมกับการขับร้อง ได้แก่
- เพลงเถา เพลงๆเดียวที่บรรเลงหรือขับร้องติดต่อกัน โดยมีอัตราขจังหวะลดหลั่นกัน ตั้งแต่จังหวะ 3 ชั้น (ช้า) ท จังหวะ 2 ชั้น (ปานกลาง) และชั้นเดียว (เร็ว) เช่นเพลงราตรีประดับดาวเถา เป็นต้น
- เพลงตับ เพลงหลายๆเพลงที่นำมาบรรเลงหรือขับร้องต่อเนื่องกัน แบ่งแบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท คือ ตับเพลง เป็นเพลงที่นำมาบรรเลงหรือขับร้องกัน โดยต้องเป็นเพลงที่มีอตัราจังหวะเดียวกัน เช่น เพลงตับต้นเพลงฉิ่ง 3 ชั้นประกอบด้วยเพลงต้นเพลงฉิ่ง 3ชั้น เพลงจระเข้หางยาว 3 ชั้น เพลงตวงพระธาตุ 3 ชั้น และเพลงนกขมิ้น 3 ชั้น เป็นต้น และเพลงตับเรื่อง คือเพลงที่นำมาบรรเลงหรือขับร้องต่อเนื่องกัน โยมีบทร้องเป็นเรื่องราวเดียวกัน เช่น ตับคาวี เป็นต้น
- เพลงเกร็ด เพลงที่นำมาบรรเลงหรือขับร้องอิสระ ไม่จำเป็นต้องบรรเลงหรือขับร้องร่วมเพลงอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงที่มีบทร้องบรรยายเกี่ยวกับธรรมชาติ การชมความงาม การอวยพรหรือคติสอนใจ เช่น เพลงเขมรไทรโยค เพลงแขกสาหร่าย 2 ชั้น เป็นต้น
2.เพลงบรรเลง คือเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเฉพาะสำหรับเครื่องดนตรีบรรเลงได้แก่
- เพลงโหมโรง เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงเป็นเพลงก่อนการบรรเลงหรือการแสดงจะเริ่ม เช่น เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง
- เพลงหน้าพาทย์ เป็นเพลงชั้นสูงที่ใช้บรรเลงในพระราชพิธ หรืองานที่ต้องการแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์หรือความขลังหรือบรรเลงประกอบกิริยาอาการต่างๆของผู้แสดงโขนหรือละคร เช่น เพลงตระนิมิตร เป็นต้น
- เพลงเรื่อง เป็นเพลงที่นำมาบรรเลงติดต่อกันโดยใช้บรรเลงประกอบพิธีต่างๆไม่มีการขับร้องมาเกี่ยวข้อง เช่น เพลงเรื่องทำขวัญ เป็นต้น
- เพลงหางเครื่อง เป็นเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงใหญ่อาจมีสำเนียงเดียวกับเพลงใหญ่ หรือเป็นเพลงหางเครื่องที่กำหนดไว้ประจำเฉพาะ ซึ่งเพลงส่วนใหญ่มีทำนองสั้นๆและมีจังหวะสนุกสนาน
- เพลงออกภาษา เป็นเพลงที่มีสำเนียงเป็นภาษาต่างๆ ที่บรรเลงติดต่อกันหลังจากบรรเลงเพลงแม่บทจบ โดยมีลักษณะคล้ายเพลงหางเครื่อง ต่างกันตรงที่มิได้บรรเลงเพียงสำเนียงเดียว เช่น เมื่อบรรเลงเพลงแม่บทจบ นิยมบรรเลงออกด้วยเพลงภาษา เริ่มด้วยสำเนียงจีน เขมร ตะลุง และพม่า จากนั้นจะะเลือกบรรเลงเพลงสำเนียงแขก ฝรั่ง ญี่ปุ่น ลาว ญวณ ข่า เงี้ยว เพลงใดต่อก่อนก็ได้ ทั้งนี้เพลงออกภาษาอาจหมายถึงเพลงที่มีสำเนียงภาษาสอดแทรกอยู่ในทำเพลงก็ได้ เช่น เพลงพม่าห้าท่อน เป็นต้น
- ลูกหมด เป็นเพลงที่มีทำนองสั้น จังหวะเร็ว แสดงนัยว่า เพลงที่บรรเลงนั้นจะจบลงแล้ว
WINKWHITE
1. วรรค ส่วนหนึ่งของทำนองเพลงที่กำหนดโดยความยาวของจังหวะหน้าทับ ทำนองเพลง 1วรรค มีความยาวเท่ากับ 1 จังหวะหน้าทับ
2. ท่อน ทำนองเพลงที่มีความยาวตั้งแต่ 2 วรรค ขึ้นไป ที่นำมาเรียบเรียงติดต่อกันเป็นส่วนหนึ่งของบทเพลง
3. จับ มีความหมายเดียวกันกับ ท่อน แต่ใช้เรียกทำนองเพลงเชิดนอกที่ใช้ปี่นอกบรรเลงประกอบการแสดงหนังใหญ่ โดยการแสดงแต่ละครั้งคนเชิดจะเชิดหนังจับออกมา 3 คู่ ในแต่ละคู่ ผู้บรรเลงปี่นอกจะต้องบรรเลงเพลงเชิดนอก 1จับ ดังนั้น ในการบรรเลงเพลงเชิดนอกที่ถูกต้อง จึงต้องบรรเลงให้ครบทั้ง 3 จับ
4. ตัว มีความหมายเดียวกับ ท่อน และ จับ ต่างกันเพียง ตัว ใช้สำหรับเรียกสัดส่วนของเพลงบางประเภท ได้แก่ เพลงตระ และเพลงเชิดต่างๆ ยกเว้นเพลงเชิดนอกที่เรียกเป็น จับ อีกทั้งเพลงที่นับเป็นตัวจะมีลักษณะพิเศษ คือ ทำนองตอนท้ายของทุกตัวนั้นจะลงท้ายเหมือนกัน
5. เพลง ทำนองที่ดุริยกวีได้ประพันธ์ขึ้นจากจินตนาการของตนหรือแรงบันดาลใจ โดยจะมีจังหวะช้าหรือเร็ว หรือยาวไม่เท่ากัน แต่แบบแผนที่ถูกต้องของเพลงไทยโบราณ คือ ท่อนหนึ่งควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 2 จังหวะหน้าทับ
เพลงไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. เพลงขับร้อง คือเพลงที่ประพันธ์ขึ้นสำหรับดนตรีบรรเลงร่วมกับการขับร้อง ได้แก่
- เพลงเถา เพลงๆเดียวที่บรรเลงหรือขับร้องติดต่อกัน โดยมีอัตราขจังหวะลดหลั่นกัน ตั้งแต่จังหวะ 3 ชั้น (ช้า) ท จังหวะ 2 ชั้น (ปานกลาง) และชั้นเดียว (เร็ว) เช่นเพลงราตรีประดับดาวเถา เป็นต้น
- เพลงตับ เพลงหลายๆเพลงที่นำมาบรรเลงหรือขับร้องต่อเนื่องกัน แบ่งแบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท คือ ตับเพลง เป็นเพลงที่นำมาบรรเลงหรือขับร้องกัน โดยต้องเป็นเพลงที่มีอตัราจังหวะเดียวกัน เช่น เพลงตับต้นเพลงฉิ่ง 3 ชั้นประกอบด้วยเพลงต้นเพลงฉิ่ง 3ชั้น เพลงจระเข้หางยาว 3 ชั้น เพลงตวงพระธาตุ 3 ชั้น และเพลงนกขมิ้น 3 ชั้น เป็นต้น และเพลงตับเรื่อง คือเพลงที่นำมาบรรเลงหรือขับร้องต่อเนื่องกัน โยมีบทร้องเป็นเรื่องราวเดียวกัน เช่น ตับคาวี เป็นต้น
- เพลงเกร็ด เพลงที่นำมาบรรเลงหรือขับร้องอิสระ ไม่จำเป็นต้องบรรเลงหรือขับร้องร่วมเพลงอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงที่มีบทร้องบรรยายเกี่ยวกับธรรมชาติ การชมความงาม การอวยพรหรือคติสอนใจ เช่น เพลงเขมรไทรโยค เพลงแขกสาหร่าย 2 ชั้น เป็นต้น
2.เพลงบรรเลง คือเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเฉพาะสำหรับเครื่องดนตรีบรรเลงได้แก่
- เพลงโหมโรง เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงเป็นเพลงก่อนการบรรเลงหรือการแสดงจะเริ่ม เช่น เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง
- เพลงหน้าพาทย์ เป็นเพลงชั้นสูงที่ใช้บรรเลงในพระราชพิธ หรืองานที่ต้องการแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์หรือความขลังหรือบรรเลงประกอบกิริยาอาการต่างๆของผู้แสดงโขนหรือละคร เช่น เพลงตระนิมิตร เป็นต้น
- เพลงเรื่อง เป็นเพลงที่นำมาบรรเลงติดต่อกันโดยใช้บรรเลงประกอบพิธีต่างๆไม่มีการขับร้องมาเกี่ยวข้อง เช่น เพลงเรื่องทำขวัญ เป็นต้น
- เพลงหางเครื่อง เป็นเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงใหญ่อาจมีสำเนียงเดียวกับเพลงใหญ่ หรือเป็นเพลงหางเครื่องที่กำหนดไว้ประจำเฉพาะ ซึ่งเพลงส่วนใหญ่มีทำนองสั้นๆและมีจังหวะสนุกสนาน
- เพลงออกภาษา เป็นเพลงที่มีสำเนียงเป็นภาษาต่างๆ ที่บรรเลงติดต่อกันหลังจากบรรเลงเพลงแม่บทจบ โดยมีลักษณะคล้ายเพลงหางเครื่อง ต่างกันตรงที่มิได้บรรเลงเพียงสำเนียงเดียว เช่น เมื่อบรรเลงเพลงแม่บทจบ นิยมบรรเลงออกด้วยเพลงภาษา เริ่มด้วยสำเนียงจีน เขมร ตะลุง และพม่า จากนั้นจะะเลือกบรรเลงเพลงสำเนียงแขก ฝรั่ง ญี่ปุ่น ลาว ญวณ ข่า เงี้ยว เพลงใดต่อก่อนก็ได้ ทั้งนี้เพลงออกภาษาอาจหมายถึงเพลงที่มีสำเนียงภาษาสอดแทรกอยู่ในทำเพลงก็ได้ เช่น เพลงพม่าห้าท่อน เป็นต้น
- ลูกหมด เป็นเพลงที่มีทำนองสั้น จังหวะเร็ว แสดงนัยว่า เพลงที่บรรเลงนั้นจะจบลงแล้ว
WINKWHITE
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น