วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)

   สมัยรัตนโกสินธ์
   ดนตรีในสมัยรัตนโกสินทร์มีการพัฒนาต่อเนื่องมาจากดนตรีไทยในสมัยอยุธยา สามารถกล่าวในแต่ละช่วงของรัชกาลได้  ดังต่อไปนี้
  1. สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช   (รัชกาลที่ 1 )  พระองค์ได้ทรงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมขึ้น  โดยทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์และเรื่องดาหลังให้สมบูรณ์  ซึ่งเป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  โดยวรรณคดีทั้ง 2 เรื่อง ใช้ในการแสดงโขนและการแสดงละคร จึงนับเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้บทเพลงต่างๆ ในอดีตถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง  เพราะละครไทยต้องอาศัยเพลงบรรเลงประกอบ
    นอกจากนี้  ครูดนตรีได้เพิ่มกลองทัดขึ้นในวงปี่พาทย์อีกลูกหนึ่ง  ซึ่งแต่เดิมวงปี่พาทย์จะมีกลองทัดเพียงลูกเดียว ลูกที่เพิ่มขึ้นเสียงต่างออกไป   ทำให้เกิดเสียง 2 เสียงขึ้น  คือ เสียงสูงตีดัง  ต้อม  ดดยจะเรียกลูกที่มีเสียงสูงว่า  ตัวผู้  และลูกเสียงที่มีเสียงต่ำจะเรียกว่า  ตัวเมีย


   2. สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  (รัชกาลที่ 2 )  ในสมัยนี้ดนตรีไทยได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น  โยยพระองค์ทรงส่งเสริมด้านวรรณคดีและการละคร  ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนาและเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอีกสำนวนหนึ่ง  เพื่อให้เหมาะแก่การแสดงละครในมากยิ่งขึ้นจนวรรณคดีเรื่องอิเหนาได้รับการยกย่องว่าเป็นกลอนบทละครที่ดีที่สุด
     ส่วนด้านดนตรีก็เฟื่องฟูขึ้นเช่นเดียวกัน  ดังปรากฏในพระราชประวัติของพระองค์ว่าทรงสีซอสามสายได้เป็นเลิศ ทรงมีซอคู่พระหัตถ์  เรียกว่า   ซอสายฟ้าฟาด  และมีเพลงพระราชนิพนธ์ใหม่เกิดขึ้น คือ เพลงบุหลันลอยเลื่อน ในสมัยนี้เกิดวงปี่พาทย์เสภา และได้มีการนำกลองสองหน้ามาใช้ตีกำกับจังหวะหน้าทับในวงปี่พาทย์เสภาอีกด้วย


    3. สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่ 3 )   ในสัมยนี้วงดนตรีได้มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มขึ้น เพื่อให้เป็นคู่กับระนาดเอก  โดยทำตามแบบระนาดเอกของเดิม คือ ให้มีลูกระนาดขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้เกิดเสียงทุ้มต่ำ แล้วบรรเลงระนาดทุ้มให้มีเสียงผิดแปลกไปจากระนาดเอก ส่วนลีลาการบรรเลงระนาดทุ้มนั้นก็ให้มีลีลาที่หยอกล้อไปกับระนาดเอก  บางครั้งอาจตีล้ำหน้า  บางครั้งตีเยื้องแนวลีลาไปข้างหลัง
      นอกจากระนาดทุ้มเพิ่มขึ้นแล้ว  ในด้านการบรรเลงบทเพลงก็ได้มีการนำเพลงอัตราจังหวะสองชั้นมาแต่งขยายเป็นอัตราจังหวะสามชั้นและแต่งตัดเป็นอัตราจังหวะชั้นเดียว  พร้อมทั้งวงนำเพลงทั้งสามอัตราจังหวะมาเรียบเรียงเป็นเพลงเถา  เครื่องดนตรีที่คิดขึ้นในสมันนี้ คือ  ฆ้องวงเล็ก


   4. สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่ 4 )    การดนตรีเจริญแพร่หลายมากยิ่งขึ้น  มีวงปี่พาทย์  วงมโหรี เกิดขึ้นมากมาย มีการบรรเลงเพลงอัตราจังหวะสามชั้นกันอย่างแพร่หลาย  มีเครื่องดนตรีเกิดขึ้นใหม่อีกด้วย คือ ระนาดทอง  (ระนาดเอกเหล็ก) ระนาดทองเป็นระนาดแบบเดียวระนาดเอก  แต่ทำลูกระนาดด้วยทองเหลืองแทน เวลาตีเสียงจะดังกังวานมาก
     นอกจากนี้ ยังมีเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่งคู่ระนาดทอง นั่นก็คือ ระนาดทุ้มเหล็ก  เพื่อเพิ่มเติมในวงปี่พาทย์  ทำให้มีการพัฒนาเป้นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่


   5.สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่ 5 ) ได้มีการคิดวิธีประสมวงดนตรีขึ้นใหม่อีกรูปแบบหนึ่ง  คือ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ซึ่งเป็นการปรับปรุงวงของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ  กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ที่ได้ทรงปรับปรุงขึ้นเพื่อใช้ประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ที่ดัดแปลงมาจากละครโอเปร่า (Opera) ของตะวันตก
      ในการนี้ทำให้เกิดเครื่องดนตรีขึ้นใหม่อีกชนิดหนึ่ง คือ ตะโพน (ใช้ตะโพน 2 ใบ) ตั้งตีบนกลองทัด  โดยตีด้วยไม้นวม  เพื่อให้เกิดเสียงทุ้มต่ำดังกังสาน และไม่ดังกึกก้อง ซึ่งเหมาะสำหรับการแสดงละครดึกดำบรรพ์เป็นอย่างมาก

 6. สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่ 6 ) การบรรเลงดนตรีนิยมร้องรับเป็นเพลงเถาอย่างแพร่หลาย ก่อนหน้านี้ก็มีการบรรเลงกันบ้างแต่มานิยมกันมากในสมัยนี้ เพลงเถานั้นอาจต่อด้วยลูกหมดท้ายเพลงหรือไม่ก็ได้
     เครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยนี้ได้แก่   อังกะลุง  ซึ่งหลวงประดิษฐ์ไพเราะ  (ศร  ศิลปบรรเลง) ได้นำแบบอย่างมาจากเครื่องดนตรีของอินโดนีเซีย  เมื่อคราวตามเสด็จพระราชบิตุลาบรมพงศาภิมุข  เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์   กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชเสด็จเยือนอินดดนีเซีย  เมื่อ พ.ศ.2459 แต่ได้มีการดัดแปลงให้มี 7 เสียง  (ของเดิม 5 เสียง) และได้จัดให้เขย่าคนละ 2 มือ มือละ 1 เสียง
     นอกจากนี้ได้นำเพลงจากชวามาดัดแปลงเป็นเพลงไทยอีกด้วย  เช่น เพลงยะวา  เพลงโหมโรงบูเซ็นซ็อค  เพลงสะมารัง  เป็นต้น

  7. สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่ 7 )  เป็นช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณ์อาญาสิทธิราชย์  เป็นระบอบประชาธิปไตย  ในสมัยนี้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกและประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบนั้นด้วย  พระองค์ทรงศึกษาดนตรีจนมีพระปรีชาสามารถในการเล่นดนตรีดนตรีและทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทยไว้ 3 เพลง คือ เพลงราตรีประดับดาวเถา เพลงเขมรละออองค์เถา  และเพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่งสามชั้น
      นักดนตรีและนักประพันธ์เพลงในสมัยของพระองค์มีมากมายหลายท่านเช่น  หลวงประดิศฐ์  ไพเราะ  (ศร  ศิลปบรรเลง)  นายมนตรี  ตราโมท เป็นต้น  แต่เนื่องจากความผันผวนทางเศรษฐกิจโลกและการเมืองไทย  ทำให้ดนตรีและเพลงไทยได้รับผลกระทบและขาดความนิยมลง


   8. สมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร  (รัชกาลที่ 8 )    เป็นระยะที่ดนตรีไทยซบเซา  เนื่องจากการขาดการสนับสนุนจากหลายส่วน  รวมไปถึงคนไทยที่นิยมหันไปเล่นดนตรีแบบตะวันตกด้วย  ทำให้การประพันธ์เพลงในสมัยนี้มีการนำทำนองเพลงของสากลเข้ามาผสมผสานโดยมีผู้นำทำนองเพลงไทยใส่เนื้อร้องเต็มตามทำนองบ้าง  แต่งขึ้นเองบ้าง  เพื่อประกอบละครพูด  ละครประวัติศาสตร์และภาพยนต์  มีนักประพันธ์เพลงขึ้นหลายท่าน  เช่น พรานบูรพ์ (จวงจันทร์ จันทร์คณา ) หลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง  วัฒนปฤดา)  นายล้วน   ควันธรรม  เป็นต้น



WINKWHITE

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล