เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีไทย

          ๑. โน้ตเพลงไทย
           โน้ตเพลงไทย มีหลายลักษณะทั้งงที่ใช้ตัวเลขแทนเสียงและใช้ตัวอักษรไทยแทนเสียง ในปัจจุบันนิยมใช้ตัวอักษรแทนเสียง เสียงของดนตรีไทยมีทั้งหมด ๗ เสียง  แต่ละช่วงเสียงห่างกัน ๑ เสียงเต็มเท่ากันทุกเสียง  ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงตัวโน้ตของไทย  ได้แก่  ใช้แทนเสียง  โด  ตัว   ใช้แทนเสียง  เร   ตัว  ใช้แทนเสียง มี  ตัว ใช้แทนเสียง ฟา  ตัว  ใช้แทนเสียง ซอล  ตัว ใช้แทนเสียง ลา และ ตัว   ใช้แทนเสียง  ที
        ในการบันทึกโน้ต  ถ้าโน้ตระดับเสียงขึ้นเป็นคู่ ๘ กำหนดให้ใช้เครื่องหมาย ํ โดยเขียนไว้บนตัวโน้ต เช่น ดํ   รํ   มํ เป็นต้น

         ๒. รูปแบบการบันทึกโน้ตเพลงไทย
         การบันทึกโน้ตเพลงไทยโดยทั่วไป  บรรทัดหนึ่งจะแบ่งเป็น ๘ ห้อง เท่าๆกัน ดังนี้










        ในแต่ละห้องเพลงจะประกอบไปด้วยตัวอักษณที่ใช้แทนเสียงตัวโน้ต ๔ ตัว เสียงตัวโน้ตมีทั้งสั้นและยาว ในการบันทึกโน้ตเสียงยาวจะใช้สัญลักษณ์ - แทนความยาวของจังหวะ - มีค่าเท่ากับความยาวของโน้ต ๑ ตัว ถ้ายาวมากก็ให้เพิ่มจำนวนสัญลักษณ์ตามขนาดความยาวของจังหวะนั้น  ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความยาวของตัวโน้ตแต่ละตัวว่า ต้องการให้มีความยาวมากน้อยเพียบงใด ในเบื้งต้นวิธีง่ายที่สุดที่จะช่วยให็ผู้เรียนเข้าใจจังหวะและสามารถอ่านโน้ตได้อย่างถูกต้อง ก็คือฝึกให้ผู้เรียนอ่านโน้ตและเคาะจังหวะโน้ตตัวที่ ๒ และ ๔ ของแต่ละห้อง ( โน้ตตัวที่ ๑ และ ๓ เป็นจังหวะที่ยกมือขึ้นทั้ง ๒ ตัว ) ให้ฝึกอ่านโน้ตในจังหวะที่หลากหลาย  ซึ่งวิธีนี้ช่วยให้สามารถเข้าใจจังหวะย่อยในแต่ละห้องเพลงได้ชัดเจนขึ้น
 
   ตัวอย่าง โน้ตทั่วไปที่มีความยาวของจังหวะเท่าๆกัน
   ให้ฝึกปฏิบัติอ่านโน้ตต่อไปนี้พร้อมเคาะจังหวะตรงตัวที่ ๒ และ ๔ ของแต่ละห้อง
ด ด ด ด
ร ร ร ร
ม ม ม ม
 ฟ ฟ ฟ ฟ
ซ ซ ซ ซ
ล ล ล ล
ท ท ท ท
ดํ ดํ ดํ ดํ

ตัวอย่าง โน้ตที่มีความยาวเท่ากับโน้ต ๒ ตัว
ฝึกปฏิบัติโดยอ่านโน้ตต่อไปนี้พร้อมเคาะจังหวะตรงตัวที่ ๒ และ ๔ ของแต่ละห้อง โน้ตตัวใดทีมีเครื่องหมาย - ตาม ให้อ่านเสียงยวให้ครบตามจังหวะ
- ด - ด
- ร - ร
- ม - ม
 - ฟ - ฟ
- ซ - ซ
- ล - ล
- ท - ท
- ดํ - ดํ

ตัวอย่าง โน้ตที่มีเสียงยาวและสั้น ปนกัน
ฝึกปฏิบัติโดยอ่านโน้ตต่อไปนี้พร้อมเคาะจังหวะตัวที่ ๒ และ ๔ ของแต่ละห้อง
- - - ร
- ร ร ร
- ซ – ม
ร ด ร ม
- - - -
ซ ล ด ร
- ด – ม
ร ร ร ร
- - - ซ
- ซ ซ ซ
ล ซ ม ซ
- ล – ด
- - - ด
- ด ด ด
- ซ – ม
ร ด – ร

       ๓. อัตราจังหวะพื้ฐานเพลงไทย
       จังหวะเพลงไทยเดิมที่นิยมบรรเลงกันทั่วไป ซึ่งบัญญัติไว้เป็นศัพท์สังคีต ๓ คำ คือ สามชั้น สองชั้น และชั้นเดียว ดังนี้
   
        สามชั้น หมายถึง อัตราจังหวะที่มีความยาวมากที่สุด  หรือ ช้าที่สุด มีความยาวเท่ากับอัตราจังหวะสองชั้น ๒ จังหวะ และเท่ากับอัตราจังหวะชั้นเดียว ๔ จังหวะ ถ้าเคาะตามจังหวะฉิ่ง จะเคาะตรงโน้ตตัวที่๔ ของห้องคู่ คือ ห้องที่ ๒ , ๔  ,  ๖  , ๘ ของแต่ละบรรทัด ดังตัวอย่าง
                                 

ด ด ด ด
        ฉิ่ง
ร ร ร ร

ม ม ม ม
          ฉับ
ฟ ฟ ฟ ฟ

ซ ซ ซ ซ
         ฉิ่ง
ล ล ล ล

ท ท ท ท
         ฉับ
ดํ ดํ ดํ ดํ


สองชั้น หมายถึง อัตราจังหวะที่มีความยาวปานกลาง สั้นกว่าอัตราจังหวะสามชั้น ๑ เท่าและยาวกว่าอัตราจังหวะชั้นเดียว ๑ เท่า ดังนั้น ถ้าเคาะตามจังหวะฉิ่ง จะเคาะตรงตัวโน้ตตัวที่ ๔ ของแต่ละห้อง ดังนี้
               
       ฉิ่ง
ด ด ด ด
      ฉับ
ร ร ร ร
       ฉิ่ง
ม ม ม ม
        ฉับ 
ฟ ฟ ฟ ฟ
       ฉิ่ง
ซ ซ ซ ซ
       ฉับ
ล ล ล ล
       ฉิ่ง
ท ท ท ท
       ฉับ
ดํ ดํ ดํ ดํ


ชั้นเดียว หมายถึง อัตราจังหวะที่สั้นที่สุด มีความยาวเท่ากับครึ่งหนึ่งของอัตราจังหวะสองชั้น ถ้าเคาะตามจังหวะฉิ่งเท่ากับจังหวะย่อยของโน้ตที่ได้ฝึกปฏิบัติข้างต้น คือ จังหวะ ฉิ่ง ลงตำแหน่งอขงตัวโน้ตที่ ๒ และจังหวะ  ฉับ  ลงตัวโน้ตตัวที่ ๔
        
   ฉิ่ง   ฉับ
ด ด ด ด
  ฉิ่ง  ฉับ
ร ร ร ร
  ฉิ่ง    ฉับ
ม ม ม ม
  ฉิ่ง   ฉับ 
ฟ ฟ ฟ ฟ
   ฉิ่ง   ฉับ
ซ ซ ซ ซ
  ฉิ่ง   ฉับ
ล ล ล ล
  ฉิ่ง    ฉับ
ท ท ท ท
  ฉิ่ง   ฉับ
ดํ ดํ ดํ ดํ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล