บทบาท และอิทธิพลของดนตรีต่อสังคมไทย


บทบาทของดนตรีต่อสังคมไทย
๑) บทบาทของดนตรีไทย หมายถึง ดนตรีที่มีแบบแผน และมีรูปแบบเป็นดนตรีที่เป็นตัวแทนของดนตรีประจำชาติ เช่น วงปี่พาทย์ วงเครื่องสายไทย วงมโหรี วงกลองชนะ  วงบัวลอย เป็นต้น  โดยดนตรีไทยที่ปรากฏอยู่ในงาน และกิจกรรมต่างๆดังต่อไปนี้
        ๑.๑ พระราชพิธีของราชสำนัก
เมื่อมีการจัดงานพระราชพิธีต่างๆ จะมีการนำดนตรีเข้าไปบรรเลง เช่น

วงปี่พาทย์ในงานจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
พิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
งานกฐินพระราชทาน
การบรรเลงดนตรีในงานพระบรมศพ  งานพระศพของพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งนิยมบรรเลงด้วย
วงปี่กลอง วงปี่พาทย์นางหงส์ เป็นต้น
๑.๒ งานพิธีของราษฎร และในกิจกรรมอื่นๆ 
งานบุญ นิยมนำวงปี่พาทย์มาบรรเลงในงาน เช่น
งานบวชนาค
งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่
งานทำบุญเลี้ยงพระ
สำหรับงานมงคลลักษณะอื่นๆ เช่น งานมงคลสมรส งานเลี้ยงรับรอง  นิยมบรรเลงด้วยวงเครื่องสายไทยหรือวงมโหรี เป็นต้น
๑.๓งานพิธีของราษฎร ประเภทงานศพ
นิยมบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์นางหงส์  วงปี่พาทย์มอญ  วงบัวลอยหรือวงแตรวง
๑๔ ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง
การแสดงโขน หนังใหญ่ หุ่นกระบอก หุ่นละครเล็ก ละคร  ลิเก
นิยมใช้วงปี่พาทย์ในการบรรเลงประกอบการแสดง
๑.๕ ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์

จะนิยมใช้ดนตรีประกอบในเนื้อเรื่องที่แสดงถึงความเป็นไทย เช่น
ภาพยนตร์ เรื่อง โหมโรงละครพื้นบ้าน เรื่อ ปลาบู่ทอง เป็นต้น
๑.๖ ดนตรีที่ใช้ประกอบการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ

เช่น เชิญชวนเที่ยวงานที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม งานเทศกาล  งานรณรงค์ด้านศิลปวัฒนธรรม  การจัดขบวนแห่
นิยมนำขบวนแห่ด้วยวงแตรวง
๒ บทบาทของดนตรีพื้นบ้าน
ดนตรีพื้นบ้านของแต่ละกลุ่มชนที่อยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ที่ได้มีการนำมาบรรเลง ขับร้องในกิจกรรมต่างๆ ทั้งในงานมงคล  งานอวมงคล  งานรื่นเริง และประกอบการแสดง  มีดังนี้
ภาคเหนือ
ได้แก่ วงสะล้อซึงขลุ่ย (วงสะล้อซอซึง) วงปี่จุม  วงป้าดฆ้อง  วงตึ่งโนง
ประเภทของเพลงและทำนองร้อง เช่น อื่อ  ซอ ค่าว  ฮ่ำ   ซอจะปุ ซอเงี้ยวซอดาด เป็นต้น
ประเภทการแข่งขันหรือการบรรเลงทั่วไป เช่น วงกลองสะบัดชัย
ภาคอีสาน
ได้แก่ วงพิณแคนโหวดโปงลาง  วงกันตรึม  วงหมอลำ วงกลองตุ้ม  วงกลอง-ยาว
ประเภทเพลงและทำนอง เช่น เพลงโคราช ลำเต้ย  ลำกลอน  ลำพื้น  เจรียง เป็นต้น
หมอลำ จะแบ่งออกเป็น ลำกลอน  ลำหมู่
ลำกลอน  ได้แก่ ลำชิงชู้  ลำโจทย์แก้แปลถาม ลำกลอนซิ่ง
ลำหมู่  จะเป็นลำเรื่องต่อกลอน ลำเป็นเรื่องเป็นราว แบ่งเป็นทำนองต่างๆ เช่น
ทำนองขอนแก่น  ทำนองกาฬสินธุ์  ทำนองสารคาม  ทำนองอุบล            ทำนองลำเพลิน 
ภาคกลาง
ได้แก่ วงปี่พาทย์พื้นบ้าน  แตรวง  วงกลองยาว
ประเภทของเพลงและทำนองการขับร้อง เช่น  เพลงกล่อมลูก  เพลงฉ่อย  เพลงอีแซว   
เพลงร่อยพรรษา  เพลงรำภาข้าวสาร  เพลงสงฟาง  เพลงรำโทน  เป็นต้น
ภาคใต้
ได้แก่  วงดนตรีโนรา  วงดนตรีหนังตะลุง  วงกาหลอ  วงดนตรีประกอบการแสดงมะโย่ง
วงดนตรีรองเง็ง วงดนตรีในพิธีตือรี  วงดนตรีในพิธีกรรมลิมนต์
ประเภทของเพลงและทำนองการขับร้อง  เช่น เพลงบอก  เพลงเรือ เพลงนา  เพลงคำตัก  เป็นต้น
 อิทธิพลของดนตรีต่อสังคมไทย
ดนตรีเป็นเรื่องของเสียงที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของมนุษย์  เสียงดนตรีช่วยสร้างเสริมจิตใจของมนุษย์  จรรโลงให้มีความสุข  อิ่มเอิบ  คุณค่าของดนตรีสนองตอบต่อกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ  เช่น
งานพระราชพิธี
งานพิธีกรรมของประชาชน
งานรื่นเริง
ประกอบการแสดงละคร การแสดงภาพยนตร์
ใช้ในรูปแบบการเรียนการสอน
การโฆษณา  ประชาสัมพันธ์

ครูเทพเจ้าดนตรีไทย
ครูเทพเจ้าที่บรรดาเหล่าศิลปิน ที่นักดนตรีไทยให้ความเคารพนับถือมีอยู่หลายองค์  ความเชื่อนี้ดำเนินตามแนวทางของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู เป็นการน้อมนำความเชื่อ การแสดงความเคารพนับถือ และความกตัญญูกตเวทีต่อเทพเจ้า เพราะตามตำนานและคัมภีร์ที่ได้ปรากฏกล่าวไว้ว่า เทพเจ้าแห่งดนตรีเป็นผู้อุปการคุณสร้างงานศิลปะ คือ ทั้งการสร้างดนตรี  แต่งเพลง บรรเลงเพลงด้วยเครื่องดนตรี และ การขับร้อง ครูเทพเจ้าดนตรีไทยที่ควรรู้จัก มีดังนี้
พระวิศณุกรรม
 (เทพเจ้าแห่งการช่างทุกประเภท)

   •เทพเจ้าที่นับถือกันว่าเป็นนายช่างใหญ่ของเทวดา เป็นเจ้าแห่งช่างทุกประเภททั้ง ช่างเขียน ช่างปั้น  ช่างก่อสร้าง พระวิศณุกรรมเป็นผู้ออกแบบสร้างโรงละครไว้ ๓ ขนาด คือ ขนาดใหญ่รูปสี่เหล่ยมผืนผ้า  ขนาดกลางรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยม เพื่อใช้เป็นที่สอนให้ชาวมนุษย์รู้จักร้องรำทำเพลง





พระปัญจสีขร  
(ผู้เป็นเลิศด้านการดีด)

เทพเจ้าผู้ที่มีความเป็นเลิศด้านการดีด และการขับลำนำ  ตามตำนานกล่าวไว้ว่า ในอดีตชาติพระปัญจสีขรเป็นเด็กเลี้ยงโคไว้ผม ๕ แหย่ม มีชื่อเรียกว่า ปัญจสิขะ เป็นผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาในการสร้างกุศล ได้สร้างสาธารณสถาน เช่น ศาลา สระน้ำ ถนน ยานพาหนะ เป็นต้น แต่ต้องตายขณะอยู่ในวัยหนุ่ม จึงได้เกิดไปเป็นเทพบุตรในชั้นจาตุมหาราชิกา มีชื่อว่า ปัญจสิคนธรรพ์เทพบุตร  มีร่างกายเป็นสีทอง  มีมงกุฎห้ายอด
พระปรคนธรรพ  
(เทพเจ้าผู้คิดและสร้างพิณคันแรกขึ้น)
เทพเจ้าเป็นผู้ยอดแห่งคนธรรพ์ นามที่แท้จริงคือ พระนารทมุนี เป็นผู้คิดและและสร้างพิณคันแรกขึ้น นับถือว่าเป็นผู้มีความชำนาญในการขับร้อง และบรรเลงดนตรี  ทำหน้าที่เป็นพนักงานขับร้องและบรรเลงดนตรีกล่อมพระเป็นเจ้า และเทพยนิกร พระนารทมุนีเป็นครูเฒ่าและเป็นครูใหญ่ในวิชาสำคัญของพวกคนธรรพ์







ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ6 สิงหาคม 2566 เวลา 19:58

    ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ14 ธันวาคม 2566 เวลา 20:54

    สุดยอดมากค่ะ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)