ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี
การสร้างสรรค์บทเพลง หรือประพันธ์เพลงไทยแต่ละเพลง เปรียบได้กับการประพันธืบทร้อยกรองในลักษณะต่างๆ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เป็นต้น เพราะการสร้งสรรค์บทเพลงไทยจะต้องพิจารณษนำเสียงแต่ละเสียงมาเรียบเรียงให้สอดประสานกลมกลืนกันอย่างเหมาะสมสามารถสื่ออารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ตามที่ตนต้องการถ่ายทอดให้แก่ผู้ฟังได้ ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงรูปแบบของเพลงแต่ละประเภทให้เป็นไปตามแบบแผนที่กำหนดไว้ด้วย เช่นเดียวกับการประพันธ์บทร้อยกรองต่างๆ ที่ผู้ประพันธ์ต้องคัดสรรคำแต่ละให้มีทั้งเสียงและความหมาที่สัมผัสคล้องจองกัน มีสัมผัสใน สัมผัสนอก แบ่งวรรคตอนให้ครบถ้วนตามแบบแผนที่กำหนดไว้ โดยปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี มีดังนี้
๑) ธรรมชาติ เป็นสิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อจินตนาการของผู้ประพันธ์บทเพลงไทย การได้เห็นธรรมชาติที่สวยงามไม่ว่าจะเป็นภูเขา นำ้ตก ทะเล ต้นไม้ ดอกไม้ หรือได้ยินได้ฟังเสียงของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น เสียงคลื่น ลม น้ำตก ฝน ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เสียงร้องของสัตว์ต่างๆ เป็นต้น ย่อมทำให้ศิลปิน หรือผู้ที่ได้สัมผัสสิ่งต่างๆเหล่า่นั้น เกิดจินตนาการขึ้นและถ่ายทอดออกมาเป็นท่วงทำนองเพลง เพื่อให้ผู้ฟังได้สัมผัสถึงธรรมชาตินั้นๆ เช่นเดียวกับตนได้ เช่น เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่งสามชั้น บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) ที่สื่อให้ผู้ฟังจินตนาการถึงลักษณะของระลอกคลื่นที่ค่อยๆ เคลื่อนเข้าหาฝั่งได้อย่างชัดเจน เป็นต้น
ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าผู้ประพันธ์เพลงได้พยายามใช้เสียงดนตรีสื่อถึงความงามของธรรมชาติและลเียนแบบเสียงของธรรมชาติที่ได้ยินให้ออกมาเป็นบทเพลง เพื่อให้ผู้ฟังเพลงเกิดอารมณ์และความรู้สึกต่างๆตามจุดมุ่งหมายของผู้ประพันธ์เพลง
๒) วิถีชีวิต มีอิทธิพลมากต่อการสร้างสรรค์บทเพลงไทย แต่เดิมอาชีพหลักของคนไทย ท คือ อาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน เป็นต้น โดยในขณะที่ทำงานอาจรู้สึกเหน็ดเหนื่อย อ่อนล้า ดังนั้น เมื่อถึงช่วงเวลาพักผ่อนก็ย่อมต้องมีการสร้างสรรค์สิ่งที่จะช่วยให้คนทำงานเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินจึงเป็นเหตุให้มีผู้คิดสร้างสรรค์บทเพลงไทยขึ้นเพื่อใช้ในกิจกรรมนันทนาการหลังจากการทำงาน ตัวอย่างบทเพลงที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นในลักษณะนี้ เช่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงลาวกระทบไม้ เพลงอีแซว เป็นต้น
๓) ศาสนาและความเชื่อ ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อจินตนาการในการสร้างสรรค์บทเพลงไทย ทั้งนี้ เพราะอิทธิพลจากศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ได้ส่งผลทำให้เกิดประเพณี พิธีกรรมหลายอย่างขึ้นในสังคมไทย ขณะเดียวกันก็ทำให้มีผุ็ประพันธ์บทเพลงไทยที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อขึ้น เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมความเชื่อทางศาสนา
บทเพลงที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อ จะใช้บทเพลงหน้าพาทย์ที่จัดเป็นเพลงชั้นสูงมีท่วงทำนองและจังหวะหน้าทับที่ต่างไปจากบทเพลงไทยโดยทั่วไป เมื่อได้ฟังจึงก่อให้เกิดความรู้สึกน่าเคารพ น่าเกรงขาม แฝงไว้ด้วยความสง่างามและความศักดิ์สิทธฺ์ เช่นเพลงสาธุการ เพลงตระนิมิตร เพลงบาทสกุณี เพลงสมอข้ามสมุทร เป็นต้น
๔) อารมณ์และความรู้สึก มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการสร้างสรรค์บทเพลงไทยซึ่งจะเห็นได้ว่า เพลงไทยมีท่วงทำนองที่ฟังแล้วให้อารมณ์ที่หลากหลาย ทั้งสุข สนุกสนาน เพลิดเพลิน โศกเศร้า หรือฮึกเหิม ซึ่งอารมณ์เพลงเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นจากอารมณ์และความรู้สึกต่างๆที่ส่งผลให้ผู้ประพันธ์เพลงถ่ายทอดออกมาเป็นทำนองเพลงต่างๆ เช่น เพลงค้างคายวกินกล้วย เพลงนางครวญ เพลงทยอย เพลงลาวดวงเดือน เป็นต้น
โดยท่วงทำนองเพลงต่างๆ เหล่านั้นได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากจินตนาการที่หลากหลายของผู้ประพันธ์เพลง และการถ่ายทอดเรื่องราวความคิดของผู้ประพันธ์เพลงแต่ละท่าน ต่างมีเทคนิคและการแสดงออกทางจินตนาการในการสร้างสรรค์บทเพลง และการถ่ายทอดเรื่องราวความคิดในบทเพลงที่อาจเหมือน หรือแตกต่างกันออกไป
เทคนิคและการแสดงออกในการจินตนาการในการสร้างสรรค์บทเพลง
ในการประพันธ์เพลงแต่ละเพลง ผู้ประพันธ์จำเป็นต้องใช้เทคนิคในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตนลงในบทเพลง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดอามรมณ์และความรู้้สึกคล้อยตาม เทคนิคและการแสดงออกในการจินตนาการในการสร้างสรรค์บทเพลงประกอบด้วยสิ่งต่างๆดังนี้
๒) จังหวะ เป็นเทคนิคที่ผู้ประพันธ์ต้องคำนึงถึงในการประพันธ์เพลง โดยบทเพลงที่สนุกสนาน จังหวะที่ใช้ก็จำเป็นต้องเป็นจังหวะที่กระชับ สั้น ไม่เชื่องช้า ซึ่งแตกต่างกับบทเพลงที่เกี่ยวข้องกับความรัก ความงาม ความสุข ความโศกเศร้า การสูญเสีย หรือการพลัดพราก ก็ต้องใช้จังหวะช้า มีกาทอดจังหวะ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าถึงอารมณ์เพลงได้ง่ายขึ้น
๓) รูปแบบ นอกจากจะใช้รูปแบบตามที่กำหนดเป็นแบบทฤษฎีดนตรีไทยแล้ว ผู้ประพันธ์อาจต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบบทเพลง เพื่อให้เกิดความแปลกใหม่ในวงการดนตรีไทย ซึ่งจะทำให้บทเพลงไทยได้รับความสนใจและความนิยมมากขึ้น เช่น เพลงโหมโรงมหาราช ผลงานประพันธ์ของอาจารย์มนตรี ตราโมท ที่ได้แต่งขึ้นเพื่อทูลเกล้า ฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ (รัชกาลที่๙) เนื่องในวโรกาสทรงพระเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ โดยรูปแบบของเพลงนี้มีลักษณะแตกต่างไปจากเพลงโหมโรงเดิม ผู้ประพันธ์ได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต อัญเชิญทำนองบทเพลงพระราชนิพนธ์ใกล้รุ่งและเพลงเราสู้มาแปลงเป็นเพลงอัตราจังหวะสองชั้น สอดแทรกทำนอง ลูกล้อ ลูกขัด ลูกเหลื่อม ผสมผสานกันอย่างลงตัวและจบด้วยทำนองเพลงพระราชนิพนธ์สายฝน ๓ วรรคบทเพลงจึงมีความไพเราะ แปลกหูไปจากเดิมมาก
๔) สำเนียงภาษา ศิลปินดนตรีไทยมีความสามารถในการเลียนสำเนียงชาติต่างๆ ดังจะเห็นได้จากชื่อเพลงส่วนใหญ่ที่ขึ้นต้นด้วยชื่อของชชนชาติต่างๆ เช่น จีน แขก ฝรั่ง มอญ เขมร ลาว พม่า เป็นต้น ดังนั้น ในการประพันธ์เพลงผู้ประพันธ์เพลงจึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคในการถ่ายทอดให้บทเพลงนั้นมีสำเนียงคล้ายคลึงกับทำนองและสำเนียงเพลงของแต่ละชาติให้ได้มากที่สุด
WINKWHITE
๑) ธรรมชาติ เป็นสิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อจินตนาการของผู้ประพันธ์บทเพลงไทย การได้เห็นธรรมชาติที่สวยงามไม่ว่าจะเป็นภูเขา นำ้ตก ทะเล ต้นไม้ ดอกไม้ หรือได้ยินได้ฟังเสียงของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น เสียงคลื่น ลม น้ำตก ฝน ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เสียงร้องของสัตว์ต่างๆ เป็นต้น ย่อมทำให้ศิลปิน หรือผู้ที่ได้สัมผัสสิ่งต่างๆเหล่า่นั้น เกิดจินตนาการขึ้นและถ่ายทอดออกมาเป็นท่วงทำนองเพลง เพื่อให้ผู้ฟังได้สัมผัสถึงธรรมชาตินั้นๆ เช่นเดียวกับตนได้ เช่น เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่งสามชั้น บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) ที่สื่อให้ผู้ฟังจินตนาการถึงลักษณะของระลอกคลื่นที่ค่อยๆ เคลื่อนเข้าหาฝั่งได้อย่างชัดเจน เป็นต้น
ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าผู้ประพันธ์เพลงได้พยายามใช้เสียงดนตรีสื่อถึงความงามของธรรมชาติและลเียนแบบเสียงของธรรมชาติที่ได้ยินให้ออกมาเป็นบทเพลง เพื่อให้ผู้ฟังเพลงเกิดอารมณ์และความรู้สึกต่างๆตามจุดมุ่งหมายของผู้ประพันธ์เพลง
๒) วิถีชีวิต มีอิทธิพลมากต่อการสร้างสรรค์บทเพลงไทย แต่เดิมอาชีพหลักของคนไทย ท คือ อาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน เป็นต้น โดยในขณะที่ทำงานอาจรู้สึกเหน็ดเหนื่อย อ่อนล้า ดังนั้น เมื่อถึงช่วงเวลาพักผ่อนก็ย่อมต้องมีการสร้างสรรค์สิ่งที่จะช่วยให้คนทำงานเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินจึงเป็นเหตุให้มีผู้คิดสร้างสรรค์บทเพลงไทยขึ้นเพื่อใช้ในกิจกรรมนันทนาการหลังจากการทำงาน ตัวอย่างบทเพลงที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นในลักษณะนี้ เช่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงลาวกระทบไม้ เพลงอีแซว เป็นต้น
๓) ศาสนาและความเชื่อ ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อจินตนาการในการสร้างสรรค์บทเพลงไทย ทั้งนี้ เพราะอิทธิพลจากศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ได้ส่งผลทำให้เกิดประเพณี พิธีกรรมหลายอย่างขึ้นในสังคมไทย ขณะเดียวกันก็ทำให้มีผุ็ประพันธ์บทเพลงไทยที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อขึ้น เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมความเชื่อทางศาสนา
บทเพลงที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อ จะใช้บทเพลงหน้าพาทย์ที่จัดเป็นเพลงชั้นสูงมีท่วงทำนองและจังหวะหน้าทับที่ต่างไปจากบทเพลงไทยโดยทั่วไป เมื่อได้ฟังจึงก่อให้เกิดความรู้สึกน่าเคารพ น่าเกรงขาม แฝงไว้ด้วยความสง่างามและความศักดิ์สิทธฺ์ เช่นเพลงสาธุการ เพลงตระนิมิตร เพลงบาทสกุณี เพลงสมอข้ามสมุทร เป็นต้น
๔) อารมณ์และความรู้สึก มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการสร้างสรรค์บทเพลงไทยซึ่งจะเห็นได้ว่า เพลงไทยมีท่วงทำนองที่ฟังแล้วให้อารมณ์ที่หลากหลาย ทั้งสุข สนุกสนาน เพลิดเพลิน โศกเศร้า หรือฮึกเหิม ซึ่งอารมณ์เพลงเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นจากอารมณ์และความรู้สึกต่างๆที่ส่งผลให้ผู้ประพันธ์เพลงถ่ายทอดออกมาเป็นทำนองเพลงต่างๆ เช่น เพลงค้างคายวกินกล้วย เพลงนางครวญ เพลงทยอย เพลงลาวดวงเดือน เป็นต้น
โดยท่วงทำนองเพลงต่างๆ เหล่านั้นได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากจินตนาการที่หลากหลายของผู้ประพันธ์เพลง และการถ่ายทอดเรื่องราวความคิดของผู้ประพันธ์เพลงแต่ละท่าน ต่างมีเทคนิคและการแสดงออกทางจินตนาการในการสร้างสรรค์บทเพลง และการถ่ายทอดเรื่องราวความคิดในบทเพลงที่อาจเหมือน หรือแตกต่างกันออกไป
เทคนิคและการแสดงออกในการจินตนาการในการสร้างสรรค์บทเพลง
ในการประพันธ์เพลงแต่ละเพลง ผู้ประพันธ์จำเป็นต้องใช้เทคนิคในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตนลงในบทเพลง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดอามรมณ์และความรู้้สึกคล้อยตาม เทคนิคและการแสดงออกในการจินตนาการในการสร้างสรรค์บทเพลงประกอบด้วยสิ่งต่างๆดังนี้
๑) เสียง เป็นเทคนิคที่สำคัญประการหนึ่งในการสื่อให้เกิดอารมณ์ต่างๆ เช่น บทเพลงที่ต้องการแสดงออกถึงความสนุกสนาน ปลุกใจ ผู้ประพันธ์จะเลือกใช้เสียงที่อยู่ในระดับปานกลาง ไม่สูง หรือต่ำจนเกินไป มีการสลับเสียงสูง - ต่ำ เพื่อให้เกิดสีสันของบทเพลง รวมทั้งเป็นกระตุ้นอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ฟังให้รู้สึกคึกคักและสนุกสนานตามไปด้วย บทเพลงที่เกียวข้องกับความรัก ความงาม ความสุข ความโศกเศร้า การสูญเสีย หรือการพลัดพราก ผู้ประพันธ์จะเลือกใช้เสียงในระดับเสียงเดียวกัน ไม่สลับเสียงสูง - ต่ำ โลดโผนดังบทเพลงที่ให้อารมณ์สนุกสนาน บทเพลงที่ต้องการสื่อถึงความสวยงามและเสียงของธรรมชาติ ผู้ประพันธ์ยังจำเป็นต้องคัดสรรเสียงให้ใกล้เคียงกับเสียงธรรมชาติ ผู้ประพันธ์ยังจำเป็นต้องคัดสรรเสียงให้ใกล้เคียงกับเสียงธรรมชาติที่ต้องการถ่ายทอด เช่นเสียงนกร้อง เสียงน้ำตก เสียงคลื่น
๓) รูปแบบ นอกจากจะใช้รูปแบบตามที่กำหนดเป็นแบบทฤษฎีดนตรีไทยแล้ว ผู้ประพันธ์อาจต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบบทเพลง เพื่อให้เกิดความแปลกใหม่ในวงการดนตรีไทย ซึ่งจะทำให้บทเพลงไทยได้รับความสนใจและความนิยมมากขึ้น เช่น เพลงโหมโรงมหาราช ผลงานประพันธ์ของอาจารย์มนตรี ตราโมท ที่ได้แต่งขึ้นเพื่อทูลเกล้า ฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ (รัชกาลที่๙) เนื่องในวโรกาสทรงพระเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ โดยรูปแบบของเพลงนี้มีลักษณะแตกต่างไปจากเพลงโหมโรงเดิม ผู้ประพันธ์ได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต อัญเชิญทำนองบทเพลงพระราชนิพนธ์ใกล้รุ่งและเพลงเราสู้มาแปลงเป็นเพลงอัตราจังหวะสองชั้น สอดแทรกทำนอง ลูกล้อ ลูกขัด ลูกเหลื่อม ผสมผสานกันอย่างลงตัวและจบด้วยทำนองเพลงพระราชนิพนธ์สายฝน ๓ วรรคบทเพลงจึงมีความไพเราะ แปลกหูไปจากเดิมมาก
๔) สำเนียงภาษา ศิลปินดนตรีไทยมีความสามารถในการเลียนสำเนียงชาติต่างๆ ดังจะเห็นได้จากชื่อเพลงส่วนใหญ่ที่ขึ้นต้นด้วยชื่อของชชนชาติต่างๆ เช่น จีน แขก ฝรั่ง มอญ เขมร ลาว พม่า เป็นต้น ดังนั้น ในการประพันธ์เพลงผู้ประพันธ์เพลงจึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคในการถ่ายทอดให้บทเพลงนั้นมีสำเนียงคล้ายคลึงกับทำนองและสำเนียงเพลงของแต่ละชาติให้ได้มากที่สุด
WINKWHITE
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น