ดนตรีในวัฒนธรรมต่างประเทศ (พม่าและอินโดนีเซีย)
เอกสารที่มีการบันทึกเรื่องราวของดนตรีพม่า คือพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ถังบันทึกว่า ราชสำนักพยูได้ส่งนักดนตรีและการแสดงไปแสดงในราชสำนักจีนใน ปี ค.ศ.800 (พ.ศ. 1343) ในการแสดง นั้นมีเครื่องดนตรีถึง 14 ชนิด ลักษณะของเครื่องดนตรีที่บันทึกสอดคล้องกับลักษณะของเครื่องดนตรีในปัจจุบัน พงศาวดารดังกล่าวระบุชื่อ พิณ 2 ชนิด ชนิดหนึ่งน่าจะเป็น มิยอง จะเข้ที่มีหัวคล้ายจระเข้จริงๆ ไม่มีเครื่องดนตรี อื่นในบันทึกที่แสดงว่าคล้ายกับเครื่องดนตรีสำหรับบรรเลงนอกอาคารอย่างในปัจจุบัน เหตุที่เป็นเช่นนี้มีความเป็นไปได้ 2 กรณี คือ สมัยนั้นไม่มีเครื่องดนตรีแบบปัจจุบันหรือ ไม่ก็มีแล้วแต่ราชสำนักไม่เห็นสมควรที่จะส่งไปแสดง (Becker 1967, 1980)
เครื่องดนตรีที่มีในอดีตแต่ปัจจุบันแทบไม่มีใครรู้จักได้แก่ ตะยอ (ซอมอญ) ซึ่ง ในปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยไวโอลิน แคนที่เรียกว่า ฮยิ่น (Hnayin) ที่ไม่มีใครรู้จัก เครื่อง ดนตรีอีกชนิดหนึ่งที่สูญไปแล้วคือ สันตะยา (Santaya) ที่ปัจจุบันใช้เรียกเปียโน ส่วน มิยอง (Mijaun) ก็ไม่มีใช้ในดนตรีพม่าแล้ว แต่ชาวรามัญในพม่ายังใช้กันอยู่ (Garfias 1985)
ดนตรีของพม่าไม่มีหลักฐานชัดเจนจนกระทั่งปี ค.ศ. 1700 ในสมัยราชวงศ์ Kaunbaun ทางราชสำนักได้ให้การอุปถัมภ์ดนตรีอย่างดี ทำให้ดนตรีเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่น ราชสำนัก ให้การอุปถัมภ์ดนตรี 2 ชนิดคือ อันยีน ตีวาย (Anyeintiwain) ดนตรี ประกอบการเต้นรำและ ขับร้องของสตรีในราชสำนัก และ ชเว โตมุยชี ตีวาย (Htwe to mui ci tiwain) ดนตรีพิธีกรรม ในราชสำนัก และดนตรีสำหรับกระบวนแห่
ในสมัยราชวงศ์ Kuanbuan มีหลักฐานแน่นอนว่าศิลปินที่ชื่อ “ เมียวดี มินซี อู สะ ” (Myawa di Minci U Sa) หรือเรียกกันสั้นว่า วุนซีอูสะ (Wunci U Sa) ซึ่ง ถือกำเนิดทางภาคเหนือในปี 1766 มีความสำคัญมากด้านการรับเอาศิลปะไทยเข้าไว้ แล้วปรับปรุงให้เป็นแบบพม่า โดยการประสมประสานกิจกรรมดนตรีเข้ากับการทหาร ในการประพันธ์เพลงแบบฉบับ เขาได้รับพระราชานุญาตให้เรียนดนตรีกับครูดนตรีชาวไทยที่ถูกจับเป็นเชลยอยู่ก่อนแล้ว รวมทั้งศึกษาวรรณคดีและ ละครเรื่องต่างๆ เช่น รามเกียรติ์ และอิเหนา ซึ่งเป็นเรื่องราวอันเป็นที่ชื่นชอบของราชสำนักพม่า ทั้งยังได้แต่ง เพลงและดนตรีประกอบการแสดงเพื่อให้ในราชสำนักอีกด้วย และโดยการเคลื่อนไหว ทางทหารทำให้โชคชะตาของเขาผันผวนอย่างน่าอัศจรรย์ทั้งทางดีและทางร้าย ตราบจน บั้นปลายของชีวิตจึงได้รับการยกย่องอย่างสมเกียรติจากพระเจ้ามินดอง (Mindon) ใน ปีค.ศ. 1853 (Williamson 1979)[1]
ช่วงแรกที่พม่าทั้งประเทศตกเป็นอาณานิคม คือในช่วง ค.ศ.๑๘๘๖ จนต้นศตวรรษที่ ๑๙ วงซายวายได้เริ่มซบเซาลง นักดนตรีขาดผู้อุปถัมภ์ การแสดงในงานราชสำนักหมดไป แต่การแสดงกลาง แจ้ง หรือ มเยวาย กลับได้รับความนิยมแทน โดยเฉพาะการแสดงละคร และการเล่นหุ่นชัก ในยุคนั้นเริ่มมีหนังเงียบเข้ามาฉาย จึงเกิดเพลงบรรเลงแนวใหม่ขึ้นมา เป็นเพลงประกอบหนัง เพลงโฆษณาสินค้าพื้นเมือง อาทิ ผ้าโสร่งเมืองยอ ร่มเมืองพะสิม และบุหรี่พม่า นอกจากนี้ยังมีการแต่งเพลงพุทธศาสนา พอในยุคที่พม่าต่อต้านเจ้าอาณานิคม จึงได้มีการเล่นซายวายเป็นเพลงเพื่อการปฏิวัติ หรือ เพลงทางการเมือง ในสมัยนั้นเริ่มมีการผลิตแผ่นเสียง หรือ ดัต-ปยา จึงทำให้เพลงบรรเลงซายวายกระจายไปทั่วประเทศ แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านการบันทึกเสียง ซึ่งบันทึกได้เพียง ๖ นาทีต่อแผ่น เพลงบรรเลงซายวาย จึงต้องสั้นลง ซายวายจึงได้เปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยเล่นกันมา
พอถึงยุคสังคมนิยม ซึ่งถือเป็นยุคเทปคลาสเซท ได้เกิดวงดนตรีสมัยใหม่ ที่ใช้เครื่องดนตรีตะวันตกทั้งวง ซึ่งเรียกว่าตีวาย กีตาร์เป็นเครื่องดนตรียอดนิยม เพลงจำนวนมากจึงเป็นเพลงทำนองฝรั่ง อาทิ เพลงร็อค และเพลงดิสโก อย่างไรก็ตามยังมีการพัฒนาเพลงพื้นบ้านเป็นเพลงแนวลูกทุ่ง เครื่องดนตรีหลักที่ใช้เป็นแมนดาริน ส่วนซายวายนั้นมักนิยมบรรเลงในเพลงทางศาสนาและเพลงทรงเจ้าเป็นส่วนใหญ่ พอถึงยุคปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นยุคสมัยของซีดีรอมนั้น ได้มีการลอกทำนองเพลงต่างประเทศกันอย่างมากมาย ขณะเดียวกันเสียงของซายวายก็แทบจะเลือนหายไปจากตลาดเพลงยุคใหม่
แม้ซายวายจะเสื่อมความนิยมในหมู่คนยุคใหม่ แต่ก็ยังได้รับการยอมรับในฐานะเป็นดนตรีคลาสสิคของพม่า เสียงของซายวายยังคงรับฟังได้ในเพลงทางพุทธศาสนา และเพลงปลุกใจ ส่วนวงซายวายนั้น ยังหาชมได้ในงานแสดงทางวัฒนธรรม อาทิ การแสดงละคร การแสดงหุ่นชัก งานทางศาสนพิธี งานประเพณี งานรัฐพิธี และงานทรงเจ้า เป็นต้น ปัจจุบันรัฐบาลพม่าได้ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์วงซายวายเช่นเดียวกับการแสดงพื้นบ้านอื่นๆ โดยจัดให้มีการประกวดกันทุกปี อีกทั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐจะออกอากาศเพลงบรรเลงซายวายเป็นประจำ( อรนุช นิยมธรรม)[2]
ประเภทของเครื่องดนตรี ความแตกต่างของดนตรีในอาคารและภายนอกอาคารของพม่าอยู่ที่ เสียง อันดังตื่นเต้นเร้าใจ กับเสียงอันอ่อนหวานนุ่มนวลนั่นเอง “ดนตรีนอกอาคาร” มีชื่อเรียก กันหลายชื่อ แต่ละชื่อมักมาจากชนิดของกลองที่ใช้เป็นเครื่องดนตรีหลัก โดยมี วงซายวาย (sainwaing) เป็นวงดนตรีหลัก และแพร่หลายที่สุด วงดนตรีประกอบด้วยฆ้อง กลอง และปี่เป็นหลัก “วงดนตรีในอาคาร” ใช้เครื่องดนตรีเพียง 2 – 3 ชิ้นเท่านั้น บางคราว ก็มีเพียงนักร้องคนหนึ่ง กับเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งเช่น พิณ – ซ็องก๊อก หรือระนาด – ปัตตลา เพียงอย่างเดียว ประกอบกับฉิ่ง หรือกรับ ที่นักร้องเป็นผู้ตี เครื่องดนตรี ดังกล่าวนี้ มีทั้งเครื่องดนตรีเสียงตายตัวและเครื่องดนตรีที่ปรับเสียงได้ ปัจจุบันมีการนำเอา ไวโอลินและเปียโนไปประสมกับดนตรีดั้งเดิมของพม่ามากขึ้น
ประเภทของเครื่องดนตรี ความแตกต่างของดนตรีในอาคารและภายนอกอาคารของพม่าอยู่ที่ เสียง อันดังตื่นเต้นเร้าใจ กับเสียงอันอ่อนหวานนุ่มนวลนั่นเอง “ดนตรีนอกอาคาร” มีชื่อเรียก กันหลายชื่อ แต่ละชื่อมักมาจากชนิดของกลองที่ใช้เป็นเครื่องดนตรีหลัก โดยมี วงซายวาย (sainwaing) เป็นวงดนตรีหลัก และแพร่หลายที่สุด วงดนตรีประกอบด้วยฆ้อง กลอง และปี่เป็นหลัก “วงดนตรีในอาคาร” ใช้เครื่องดนตรีเพียง 2 – 3 ชิ้นเท่านั้น บางคราว ก็มีเพียงนักร้องคนหนึ่ง กับเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งเช่น พิณ – ซ็องก๊อก หรือระนาด – ปัตตลา เพียงอย่างเดียว ประกอบกับฉิ่ง หรือกรับ ที่นักร้องเป็นผู้ตี เครื่องดนตรี ดังกล่าวนี้ มีทั้งเครื่องดนตรีเสียงตายตัวและเครื่องดนตรีที่ปรับเสียงได้ ปัจจุบันมีการนำเอา ไวโอลินและเปียโนไปประสมกับดนตรีดั้งเดิมของพม่ามากขึ้น
ซายวาย หรือที่คนไทยเรียกว่าวงปี่พาทย์ของพม่า (MyanmarSaingwaing)
[Top]
ซายวาย
คำว่า ซายวาย ใช้เรียกทั้งเครื่องดนตรีและวงดนตรี วงดนตรีเป็นดนตรีประกอบการแสดงที่สำคัญของพม่า ใช้บรรเลงประกอบการแสดงบนเวที ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ตลอดจนใช้บรรเลงในงานเทศกาลและพิธีการอย่างหลากหลาย เช่น การต้อนรับแขกบ้าน แขกเมือง เครื่องดนตรีในวงซายวาย สามารถปรับเปลี่ยนไปได้ตามความเหมาะสมกับ สถานการณ์ เครื่องดนตรีหลัก อันได้แก่ ปัตวาย หรือ พาทวาย(Pat – Wain) . มองซาย (Maungzaing), เน่ (Hne), ช็อค ลอน บัต (Chauklon bat)และมีเครื่องประกอบจังหวะอื่นๆ
ภาพปัตวาย (Patwaing)
ตัวอย่างวงดนตรีพม่า
ดนตรีในวัฒนธรรมอินโดนีเซีย
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น