ทักษะพื้นฐานทางดนตรีไทย
หลักการขับร้องเพลงไทย
การขับร้องเดี่ยว คือการขับร้องคนเดียว ผู้ขับร้องต้องมีความมั่นใจ มีความสามารถในการสอดแทรกเทคนิคต่างๆ ในการขับร้องอย่างเหมาะสม โดยมีข้อปฏิบัติ ดังต่ไปนี้
๑. ดูแลและควบคุมระดับเสียงให้แจ่มใส คงที่ ตรงตามระดับเสียงดนตรี ไม่เพี้ยน หรือปีบเสียงสูงเกินไป ทำนองและจังหวะถูกต้องครบถ้วน
๒. การออกเสียงคำ การแบ่งวรรคตอนคำร้องถูกต้อง เหมาะสม ตรงตามความหมายที่ผู้ประพันธ์กำหนด
๓. การผ่อนลมหายใจ ต้องแบ่งให้สม่ำเสมอ เหมาะสมกับคำร้องและทำนอง เพราะถ้าผ่อนลมหายใจไม่ถูกต้อง จะทำให้คำร้องและทำนองไม่ชัดเจน หรือไม่ต่อเนื่อง
๔. ไม่ควรแสดงท่าทาง หรือสีหน้าขณะขับร้อง มีสมาธิ ไม่วอกแวกขณะขับร้อง
บทเพลงที่นิยมใช้ขับร้องเดี่ยวจะมีเนื้อหาที่ไม่ยาวจนเกินไป ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงอัตราจังหวะสามชั้นและเพลงเถา เช่น เพลงราโคสามชั้น เพลงราตรีประดับดาวเถา เป็นต้น
การขับร้องหมู่ คือการขับร้องตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เน้นความพร้อมเพรียงเป็นหนี่งเดียว ผู้ขับร้อง จะปฏิบัติเช่นเดียวกับการขับร้องเดี่ยว เพียงแต่มีเพิ่มเติมบางประการ ดังต่อไปนี้
๑. เน้นความพร้อมเพรียง ผู้ขับร้องต้องขับร้องให้ระดับเสียง ทำนอง จังหวะ การแบ่งวรรคตอน และการผ่อนลมหายใจตรงกันทุกคน ไม่สอดแทรกเทคนิคการขับร้องให้แตกต่างไปจากผู้อื่น
๒. ต้องขับร้องให้เสียงทุกคนกลมกลืนกัน ไม่ควรร้องเสียงดังเพื่อให้เด่นกว่าคนอื่น
บทเพลงที่นิยมใช้ขับร้องหมู่ ได้แก่ เพลงอัตราจังหวะสองชั้นและเพลงตับ เช่นเพลงนางนาคสองชั้น เพลงตับนางลอย เป็นต้น
การขับร้องประกอบการแสดง จะมีความต่างจากการขับร้องที่กล่าวมาข้างต้น คือ เป็นการบรรยายเนื้อเรื่องและการขับร้องประกอบลีลาท่าทางของผู้แสดง นอกจากจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับการขับร้องเดี่ยวและการขับร้องหมู่แล้ว ผู้ขับร้องยังต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญ ต่อไปนี้
๑. ต้องขับร้องให้ตรงกับลีลาท่าทางของผู้แสดง ไม่ช้า หรือเร็วจนเกินไป
๒. ต้องสอดแทรกอารมณ์ให้คล้อยตามไปกับเนื้อเรื่อง เพื่อช่วยให้ผูเชมเกิดสุนทรียรสอย่างเต็มที่
๓. ต้องฝึกซ้อมกับผู้แสดงจนคุ้นเคย ไม่ทำให้ผู้แสดงเสียงจังหวะ หรือเคอะเขิน
บทเพลงที่นิยมใช้ในการขับร้องประกอบแสดง ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงอัตราจังหวะสองชั้น และเพลงอัตราจังหวะชั้นเดียว มีจังหวะกระชับ เช่น เพลงยานี เพลงเต่าเห่ ซึ่งใช้ขับร้องประกอบการแสดง โน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนางลอย เป๋็นต้น
หลักการบรรเลงดนตรีไทย
หลักการบรรเลงดนตรีไทยที่ผู้เรียนควรทราบในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ นี้ จะแบ่งตามลักษณะของการขับร้อง คือ การบรรเลงเดี่ยว การบรรเลงหมู่ และการบรรเลงประกอบการแสดง
การบรรเลงเดี่ยว คือ การบรรเลงเครื่องดนตรีดำเนินทำนองชิ้นเดียวร่วมกับเครื่องดนตรีกำกับจังหวะ ได้แก่ ฉิ่งและกลอง รูปแบบการบรรเลงจะเริ่มจากทำนองช้าที่เรียกว่า ทางหวาน และจบด้วย ทางเก็บ คือ ทำนองถี่ๆ ซึ่งเป็นทางเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ผู้บรรเลงเดี่ยวต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการบรรเลงเครื่องดนตรีชนิดนั้นๆได้เป็นอย่างดี และจะต้องปฏิบัติตน ดังต่อไปนี้
๑. ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องดนตรีก่อนบรรเลงทุกครั้ง
๒. ต้องขยันหมั่นฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความชำนาญ บรรเลงไม่ผิดพลาด
๓. มีความแม่นยำในทำนองและจังหวะ สามารถสอดแทรกเทคนิค ความสามารถในการบรรเลงได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงทำนองและจังหวะอย่างเคร่งครัด
๔. มีสมาธิ มีความมั่นใจ และกล้าแสดงออก
การบรรเลงรวมวง คือการบรรเลงที่นำเครื่องดนตรีดำเนินทำนองหลายๆชนิดมาบรรเลงรวมกันมีเครื่องกำกับจังหวะตามแบบแผนทางดนตรี ได้แก่ วงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย และวงมโหรี สามารถบรรเลงตามลำพัง หรือบรรเลงร่วมกับการขับร้องก็ได้ ซึ่งหลักในการบรรเลงรวมวง มีดังต่อไปนี้
๑. ต้องตรวจสอบเครื่องดนตรีทุกชนิดให้มีระดับเสียงเดียวกัน ไม่สูง หรือต่ำกว่ากัน
๒. ผู้บรรเลงต้องรู้หน้าที่ของเครื่องดนตรีที่ตนบรรเลง เช่น ระนาดเอก เป็นผู้นำวง เป็นต้น และไม่ควรก้าวก่ายหน้าที่ของเครื่องดนตรีอื่นๆ
๓. ต้องหมั่นฝึกซ้อม เพื่อให้สามารถบรรเลงได้อย่างพร้อมเพรียง ถูกต้องทั้งทำนองและจังหวะ
๔. ต้องบรรเลงให้เสียงกลมกลืนกับเครื่องดนตรีอื่นๆ ไม่ควรบรรเลงให้เสียงดังเกินกว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ
บทเพลงที่นิยมใช้บรเลงรวมวง จะขึ้นอยู่กับประเภทของวงดนตรีที่ใช้บรรเลง ถ้าเป็นวงปี่พาทย์ นิยมบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ เพลงโหมโรง เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงต่างๆ เป็นต้น ถ้าเป็นวงเครื่องสาย หรือวงมโหรี ส่วนใหญ่จะนิยมบรรเลงเพลงอัตราจังหวะสามชั้น เพลงอัตราจังหวะสองชั้น เพลงเถา และเพลงโหมโรงมโหรี
การบรรเลงประกอบการแสดง คือการบรรเลงที่ใช้บรรเลงดนตรีประกอบการแสดงต่างๆ ได้แก่ ระบำ รำ ฟ้อน โขน ละคร เป็นต้น การบรรเลงชนิดนี้คล้ายกับการบรรเลงรวมวง เพียงแต่ผู้บรรเลงต้องเพิ่มความสนใจในการบรรเลงให้สอดคล้องกับลีลท่าทางของผู้แสดงในแต่ละอารมณ์เพลงเข้าไป กล่าวคือ ต้องบรรเลงให้ต่อเนื่อง ไม่ติดขัด จังหวะช้า - เร็ว เหมาะสมกับบทเพลงตามเนื้อเรื่อง ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ชมได้รับความบันเทิงครบตามอรรถรสของการแสดงนั้นย่างเต็มที่
WINKWHITE
การขับร้องเดี่ยว คือการขับร้องคนเดียว ผู้ขับร้องต้องมีความมั่นใจ มีความสามารถในการสอดแทรกเทคนิคต่างๆ ในการขับร้องอย่างเหมาะสม โดยมีข้อปฏิบัติ ดังต่ไปนี้
๑. ดูแลและควบคุมระดับเสียงให้แจ่มใส คงที่ ตรงตามระดับเสียงดนตรี ไม่เพี้ยน หรือปีบเสียงสูงเกินไป ทำนองและจังหวะถูกต้องครบถ้วน
๒. การออกเสียงคำ การแบ่งวรรคตอนคำร้องถูกต้อง เหมาะสม ตรงตามความหมายที่ผู้ประพันธ์กำหนด
๓. การผ่อนลมหายใจ ต้องแบ่งให้สม่ำเสมอ เหมาะสมกับคำร้องและทำนอง เพราะถ้าผ่อนลมหายใจไม่ถูกต้อง จะทำให้คำร้องและทำนองไม่ชัดเจน หรือไม่ต่อเนื่อง
๔. ไม่ควรแสดงท่าทาง หรือสีหน้าขณะขับร้อง มีสมาธิ ไม่วอกแวกขณะขับร้อง
บทเพลงที่นิยมใช้ขับร้องเดี่ยวจะมีเนื้อหาที่ไม่ยาวจนเกินไป ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงอัตราจังหวะสามชั้นและเพลงเถา เช่น เพลงราโคสามชั้น เพลงราตรีประดับดาวเถา เป็นต้น
การขับร้องหมู่ คือการขับร้องตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เน้นความพร้อมเพรียงเป็นหนี่งเดียว ผู้ขับร้อง จะปฏิบัติเช่นเดียวกับการขับร้องเดี่ยว เพียงแต่มีเพิ่มเติมบางประการ ดังต่อไปนี้
๑. เน้นความพร้อมเพรียง ผู้ขับร้องต้องขับร้องให้ระดับเสียง ทำนอง จังหวะ การแบ่งวรรคตอน และการผ่อนลมหายใจตรงกันทุกคน ไม่สอดแทรกเทคนิคการขับร้องให้แตกต่างไปจากผู้อื่น
๒. ต้องขับร้องให้เสียงทุกคนกลมกลืนกัน ไม่ควรร้องเสียงดังเพื่อให้เด่นกว่าคนอื่น
บทเพลงที่นิยมใช้ขับร้องหมู่ ได้แก่ เพลงอัตราจังหวะสองชั้นและเพลงตับ เช่นเพลงนางนาคสองชั้น เพลงตับนางลอย เป็นต้น
การขับร้องประกอบการแสดง จะมีความต่างจากการขับร้องที่กล่าวมาข้างต้น คือ เป็นการบรรยายเนื้อเรื่องและการขับร้องประกอบลีลาท่าทางของผู้แสดง นอกจากจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับการขับร้องเดี่ยวและการขับร้องหมู่แล้ว ผู้ขับร้องยังต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญ ต่อไปนี้
๑. ต้องขับร้องให้ตรงกับลีลาท่าทางของผู้แสดง ไม่ช้า หรือเร็วจนเกินไป
๒. ต้องสอดแทรกอารมณ์ให้คล้อยตามไปกับเนื้อเรื่อง เพื่อช่วยให้ผูเชมเกิดสุนทรียรสอย่างเต็มที่
๓. ต้องฝึกซ้อมกับผู้แสดงจนคุ้นเคย ไม่ทำให้ผู้แสดงเสียงจังหวะ หรือเคอะเขิน
บทเพลงที่นิยมใช้ในการขับร้องประกอบแสดง ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงอัตราจังหวะสองชั้น และเพลงอัตราจังหวะชั้นเดียว มีจังหวะกระชับ เช่น เพลงยานี เพลงเต่าเห่ ซึ่งใช้ขับร้องประกอบการแสดง โน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนางลอย เป๋็นต้น
หลักการบรรเลงดนตรีไทย
หลักการบรรเลงดนตรีไทยที่ผู้เรียนควรทราบในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ นี้ จะแบ่งตามลักษณะของการขับร้อง คือ การบรรเลงเดี่ยว การบรรเลงหมู่ และการบรรเลงประกอบการแสดง
การบรรเลงเดี่ยว คือ การบรรเลงเครื่องดนตรีดำเนินทำนองชิ้นเดียวร่วมกับเครื่องดนตรีกำกับจังหวะ ได้แก่ ฉิ่งและกลอง รูปแบบการบรรเลงจะเริ่มจากทำนองช้าที่เรียกว่า ทางหวาน และจบด้วย ทางเก็บ คือ ทำนองถี่ๆ ซึ่งเป็นทางเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ผู้บรรเลงเดี่ยวต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการบรรเลงเครื่องดนตรีชนิดนั้นๆได้เป็นอย่างดี และจะต้องปฏิบัติตน ดังต่อไปนี้
๑. ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องดนตรีก่อนบรรเลงทุกครั้ง
๒. ต้องขยันหมั่นฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความชำนาญ บรรเลงไม่ผิดพลาด
๓. มีความแม่นยำในทำนองและจังหวะ สามารถสอดแทรกเทคนิค ความสามารถในการบรรเลงได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงทำนองและจังหวะอย่างเคร่งครัด
๔. มีสมาธิ มีความมั่นใจ และกล้าแสดงออก
การบรรเลงรวมวง คือการบรรเลงที่นำเครื่องดนตรีดำเนินทำนองหลายๆชนิดมาบรรเลงรวมกันมีเครื่องกำกับจังหวะตามแบบแผนทางดนตรี ได้แก่ วงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย และวงมโหรี สามารถบรรเลงตามลำพัง หรือบรรเลงร่วมกับการขับร้องก็ได้ ซึ่งหลักในการบรรเลงรวมวง มีดังต่อไปนี้
๑. ต้องตรวจสอบเครื่องดนตรีทุกชนิดให้มีระดับเสียงเดียวกัน ไม่สูง หรือต่ำกว่ากัน
๒. ผู้บรรเลงต้องรู้หน้าที่ของเครื่องดนตรีที่ตนบรรเลง เช่น ระนาดเอก เป็นผู้นำวง เป็นต้น และไม่ควรก้าวก่ายหน้าที่ของเครื่องดนตรีอื่นๆ
๓. ต้องหมั่นฝึกซ้อม เพื่อให้สามารถบรรเลงได้อย่างพร้อมเพรียง ถูกต้องทั้งทำนองและจังหวะ
๔. ต้องบรรเลงให้เสียงกลมกลืนกับเครื่องดนตรีอื่นๆ ไม่ควรบรรเลงให้เสียงดังเกินกว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ
บทเพลงที่นิยมใช้บรเลงรวมวง จะขึ้นอยู่กับประเภทของวงดนตรีที่ใช้บรรเลง ถ้าเป็นวงปี่พาทย์ นิยมบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ เพลงโหมโรง เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงต่างๆ เป็นต้น ถ้าเป็นวงเครื่องสาย หรือวงมโหรี ส่วนใหญ่จะนิยมบรรเลงเพลงอัตราจังหวะสามชั้น เพลงอัตราจังหวะสองชั้น เพลงเถา และเพลงโหมโรงมโหรี
การบรรเลงประกอบการแสดง คือการบรรเลงที่ใช้บรรเลงดนตรีประกอบการแสดงต่างๆ ได้แก่ ระบำ รำ ฟ้อน โขน ละคร เป็นต้น การบรรเลงชนิดนี้คล้ายกับการบรรเลงรวมวง เพียงแต่ผู้บรรเลงต้องเพิ่มความสนใจในการบรรเลงให้สอดคล้องกับลีลท่าทางของผู้แสดงในแต่ละอารมณ์เพลงเข้าไป กล่าวคือ ต้องบรรเลงให้ต่อเนื่อง ไม่ติดขัด จังหวะช้า - เร็ว เหมาะสมกับบทเพลงตามเนื้อเรื่อง ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ชมได้รับความบันเทิงครบตามอรรถรสของการแสดงนั้นย่างเต็มที่
WINKWHITE
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น