องค์ประกอบของดนตรีไทย
องค์ประกอบของดนตรีไทย
ดนตรีไทยที่มีความไพเราะน่าฟัง จะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญต่างๆ ดังนี้
1. เสียงดนตรี เสียงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา โดยนำเสียงต่างๆ มาจัดระบบให้ได้สัดส่วน มีความกลมกลืนกัน โดยทั่วไปแล้วเสียงดนตรีเกิดจากเสียงของเครื่องดนตรี และเสียงร้องเพลงของมนุษย์ เสียงของดนตรีจะมีความไพเราะน่าฟังเพียงใดขึ้นอยู่กับทักษะการเรียบเรียงเสียงประสานของศิลปิน
2. ทำนอง เสียงต่ำ เสียงสูง เสียงสั้น เสียงยาว เสียงทุ้ม เสียงแหลมของดนตรีหรือบทเพลง ทำนองของดนตรีหรือทำนองของบทเพลงแต่ละเพลงนั้น มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้ประพันธ์เพลง ว่าต้องการสร้างสรรค์ให้บทเพลงนั้นๆ มีทำนองเป็นไปในรูปแบบใด เช่น ทำนองที่ฟังแล้วเศร้าสร้อย โหยหวน คึกคัก เข้มแข็ง ฮึกเหิม เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วผู้ประพันธ์นิยมประพันธ์แนวทำนองหลัหรือแนวเนื้อทำนองนำของบทเพลงก่อนเพิ่มเติมรายละเอียดของบทเพลง
3. จังหวะ การเคลื่อนไหวที่สม่ำเสมอ อาจกำหนดไว้เป็นควาช้า - เร็วต่างกัน เช่น เพลงจังหวะช้า เพลงจังหวะเร็ว ในทางดนตรีการกำหนดความสั้น - ยาวของเสียงที่มีส่วนสัมพันธ์กับระยะเวลาในการร้องเพลงหรือเล่นดนตรีจะต้องมีจังหวะเป็นเกณฑ์ ถ้าร้องเพลงหรือเล่นดนตรีไม่ตรงจังหวะ ย่อมไม่มีความไพเราะเท่าที่ควร ในกรณีที่ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีหลายคนในเพลงเดียวกันจังหวะจะทำหน้าที่เป็นตัวกำกับ เพื่อให้การร้องเพลงหรือเล่นดนตรีนั้นออกมาในลักษณะที่พร้อมเพรียงกัน และผสมกลมกลืนกันอย่างเหมาะสม
4. การประสานเสียง เสียงของเครื่องดนตรี และเสียงร้องเพลงของมนุษย์มีระดับที่แตกต่างกัน เปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน โดยเสียงที่เปล่งออกมานั้นทต้องผสมผสานกลมกลืนกัน ฟังแล้วไม่ขัดหู การประสานเสียงดนตรีนั้น เสียงประสานต้องประสานกับแนวทำนองหลักหรือแนวทำนองนำของบทเพลงนั้นๆได้อย่างผสมกลมกลืนกัน รับ และสอดคล้องกันได้เป็นอย่างดี ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานดนตรี จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการประสานเสียงอย่างดี ดังดนตรีที่พบเห็นหรือได้ยินได้ฟังกันบ่อยๆ เช่น เพลงเต่าเห่ พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ที่มีการประสานเสียงระหว่างแนวขับร้องของนักร้องชายกับนักร้องหญิง โดยมีดนตรีบรรเลงสอดรับอย่างกลมกลืน เป็นต้น
ระบบเสียง และทำนองของดนตรีไทย
ระบบเสียง และทำนองของดนตรีไทย นับว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของดนตรีซึ่งมีลักษณะ ดังนี้
1. ระบบเสียงของดนตรีไทย เสียงของดนตรีไทย มทั้งหมด 7 เสียง เช่นเดียวดนตรีสากล แต่ต่างกันตรงที่ระยะความห่างของช่วงเสียงในแต่ละระดับของดนตรีไทยจะมีความห่างเท่ากัน 1 เสียงเต็มทุกเสียงไม่มีช่วงครึ่งเสียงเหมือนดนตรีสากล ระบบเสียงของดนตรีไทยจะใช้ฆ้องวงใหญ่เป็นเครื่องกำหนดระดับเสียง ซึ่งศัพท์สังคีต เรียกว่า "ทาง"
การที่ระดับเสียงของดนตรีไทยมีช่วงความห่างในระดับที่เท่าๆกัน ทำให้การบรรเลงดนตรีไทยสามารถเริ่มต้นที่เสียงใดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลง
2.ทำนองของดนตรีไทย ทำนองคือ เสียงลักษณะต่างๆ สูงบ้าง ต่ำบ้าง สั้นบ้าง ยาวบ้าง ที่ผู้ประพันธ์นั้นได้นำมาเรียบเรียงให้ต่อเนื่องกัน ผสมผสานกันได้อย่างกลมกลืน โดยทำนองของดนตรีไทย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.1 ทำนองร้อง หรือทางร้อง หมายถึงทำนองที่ประพันธ์ขึ้น สำหรับผู้ขับร้อง ร้องส่งให้ดนตรีรับ ประกอบด้วยทำนองที่ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ขึ้นและเนื้อร้อง ผู้ขับร้องจะต้องปรุงแต่งทำนองหลักให้เหมาะสมกับระดับเสียงและความหมายของเนื้อร่้อง
เนื่องจากคำในภาษาไทยนั้น มีการใช้ระดับเสียงวรรณยุกต์ จึงทำให้ความหมายของคำต่างกันไป เช่น คำว่า ม้า หากร้องโดยคำนึงถึงแต่ให้ตรงเสียงหลักของเพลงก็อาจจะออกมาเป็น มา หรือ หมา ได้ ซึ่งจะทำให้ความหมายของคำนั้นเปลี่ยนไป ดังนั้นทำนองร้องจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงเสียงหลัก และความหมายไปพร้อมๆกัน
2.2 ทำนองบรรเลง หรือทางเครื่อง หมายถึง ทำนองที่ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ขึ้นสำหรับเครื่องดนตรีต่างๆ บรรเลง ซึ่งบรรเลงสามารถพลิกแพลงทำนองหลักจากลูกฆ้องเป็นทำนองเต็มให้เหมาะสมกับเครื่องดนตรีแต่ละชนิดได้ แต่ต้องเป็นไปตามแบบแผน คือ เสียงตกของแต่ละวรรคจะต้องตรงกับเสียงตกของทำนองที่ผู้ประพันธ์ กำหนดไว้
ผลิตภัณฑ์ WINKWHITE
ดนตรีไทยที่มีความไพเราะน่าฟัง จะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญต่างๆ ดังนี้
1. เสียงดนตรี เสียงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา โดยนำเสียงต่างๆ มาจัดระบบให้ได้สัดส่วน มีความกลมกลืนกัน โดยทั่วไปแล้วเสียงดนตรีเกิดจากเสียงของเครื่องดนตรี และเสียงร้องเพลงของมนุษย์ เสียงของดนตรีจะมีความไพเราะน่าฟังเพียงใดขึ้นอยู่กับทักษะการเรียบเรียงเสียงประสานของศิลปิน
2. ทำนอง เสียงต่ำ เสียงสูง เสียงสั้น เสียงยาว เสียงทุ้ม เสียงแหลมของดนตรีหรือบทเพลง ทำนองของดนตรีหรือทำนองของบทเพลงแต่ละเพลงนั้น มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้ประพันธ์เพลง ว่าต้องการสร้างสรรค์ให้บทเพลงนั้นๆ มีทำนองเป็นไปในรูปแบบใด เช่น ทำนองที่ฟังแล้วเศร้าสร้อย โหยหวน คึกคัก เข้มแข็ง ฮึกเหิม เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วผู้ประพันธ์นิยมประพันธ์แนวทำนองหลัหรือแนวเนื้อทำนองนำของบทเพลงก่อนเพิ่มเติมรายละเอียดของบทเพลง
3. จังหวะ การเคลื่อนไหวที่สม่ำเสมอ อาจกำหนดไว้เป็นควาช้า - เร็วต่างกัน เช่น เพลงจังหวะช้า เพลงจังหวะเร็ว ในทางดนตรีการกำหนดความสั้น - ยาวของเสียงที่มีส่วนสัมพันธ์กับระยะเวลาในการร้องเพลงหรือเล่นดนตรีจะต้องมีจังหวะเป็นเกณฑ์ ถ้าร้องเพลงหรือเล่นดนตรีไม่ตรงจังหวะ ย่อมไม่มีความไพเราะเท่าที่ควร ในกรณีที่ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีหลายคนในเพลงเดียวกันจังหวะจะทำหน้าที่เป็นตัวกำกับ เพื่อให้การร้องเพลงหรือเล่นดนตรีนั้นออกมาในลักษณะที่พร้อมเพรียงกัน และผสมกลมกลืนกันอย่างเหมาะสม
4. การประสานเสียง เสียงของเครื่องดนตรี และเสียงร้องเพลงของมนุษย์มีระดับที่แตกต่างกัน เปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน โดยเสียงที่เปล่งออกมานั้นทต้องผสมผสานกลมกลืนกัน ฟังแล้วไม่ขัดหู การประสานเสียงดนตรีนั้น เสียงประสานต้องประสานกับแนวทำนองหลักหรือแนวทำนองนำของบทเพลงนั้นๆได้อย่างผสมกลมกลืนกัน รับ และสอดคล้องกันได้เป็นอย่างดี ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานดนตรี จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการประสานเสียงอย่างดี ดังดนตรีที่พบเห็นหรือได้ยินได้ฟังกันบ่อยๆ เช่น เพลงเต่าเห่ พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ที่มีการประสานเสียงระหว่างแนวขับร้องของนักร้องชายกับนักร้องหญิง โดยมีดนตรีบรรเลงสอดรับอย่างกลมกลืน เป็นต้น
ระบบเสียง และทำนองของดนตรีไทย
ระบบเสียง และทำนองของดนตรีไทย นับว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของดนตรีซึ่งมีลักษณะ ดังนี้
1. ระบบเสียงของดนตรีไทย เสียงของดนตรีไทย มทั้งหมด 7 เสียง เช่นเดียวดนตรีสากล แต่ต่างกันตรงที่ระยะความห่างของช่วงเสียงในแต่ละระดับของดนตรีไทยจะมีความห่างเท่ากัน 1 เสียงเต็มทุกเสียงไม่มีช่วงครึ่งเสียงเหมือนดนตรีสากล ระบบเสียงของดนตรีไทยจะใช้ฆ้องวงใหญ่เป็นเครื่องกำหนดระดับเสียง ซึ่งศัพท์สังคีต เรียกว่า "ทาง"
การที่ระดับเสียงของดนตรีไทยมีช่วงความห่างในระดับที่เท่าๆกัน ทำให้การบรรเลงดนตรีไทยสามารถเริ่มต้นที่เสียงใดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลง
ตารางเปรียบเทียบระดับเสียงของดนตรีไทยและดนตรีสากล
ระดับเสียงดนตรีไทย
|
ระดับเสียงดนตรีสากล
|
ลูกฆ้องวงใหญ่
|
วงที่ใช้บรรเลง
|
ทางเพียงออล่าง หรือ
ทางในลด
|
ฟา
|
ลูกที่ 10
|
วงปี่พาทย์ไม้นวม
วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
|
ทางใน
|
ซอล
|
ลูกที่ 11
|
วงปี่พาทย์ไม้แข็ง
ใช้ปี่ใน
|
ทางกลาง
|
ลา
|
ลูกที่ 12
|
วงปี่พาทย์ไม้แข็ง
ใช้ปี่กลาง
|
ทางเพียงออบนหรือ
ทางนอกต่ำ
|
ทีแฟล็ต
|
ลูกที่ 13
|
วงเครื่องสายมโหรี
ใช้ขลุ่ยเพียงออ
|
ทางกรวดหรือทางนอก
|
โด
|
ลูกที่ 14
|
วงปี่พาทย์เสภา
ใช้ปี่นอก
|
ทางกลางแหบ
|
เร
|
ลูกที่ 15
|
วงปี่พาทย์
ใช้ปี่กลางทางแหบ
|
ทางชวา
|
มี
|
ลูกที่ 16
|
วงเครื่องสายปี่ชวา
|
2.ทำนองของดนตรีไทย ทำนองคือ เสียงลักษณะต่างๆ สูงบ้าง ต่ำบ้าง สั้นบ้าง ยาวบ้าง ที่ผู้ประพันธ์นั้นได้นำมาเรียบเรียงให้ต่อเนื่องกัน ผสมผสานกันได้อย่างกลมกลืน โดยทำนองของดนตรีไทย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.1 ทำนองร้อง หรือทางร้อง หมายถึงทำนองที่ประพันธ์ขึ้น สำหรับผู้ขับร้อง ร้องส่งให้ดนตรีรับ ประกอบด้วยทำนองที่ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ขึ้นและเนื้อร้อง ผู้ขับร้องจะต้องปรุงแต่งทำนองหลักให้เหมาะสมกับระดับเสียงและความหมายของเนื้อร่้อง
เนื่องจากคำในภาษาไทยนั้น มีการใช้ระดับเสียงวรรณยุกต์ จึงทำให้ความหมายของคำต่างกันไป เช่น คำว่า ม้า หากร้องโดยคำนึงถึงแต่ให้ตรงเสียงหลักของเพลงก็อาจจะออกมาเป็น มา หรือ หมา ได้ ซึ่งจะทำให้ความหมายของคำนั้นเปลี่ยนไป ดังนั้นทำนองร้องจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงเสียงหลัก และความหมายไปพร้อมๆกัน
2.2 ทำนองบรรเลง หรือทางเครื่อง หมายถึง ทำนองที่ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ขึ้นสำหรับเครื่องดนตรีต่างๆ บรรเลง ซึ่งบรรเลงสามารถพลิกแพลงทำนองหลักจากลูกฆ้องเป็นทำนองเต็มให้เหมาะสมกับเครื่องดนตรีแต่ละชนิดได้ แต่ต้องเป็นไปตามแบบแผน คือ เสียงตกของแต่ละวรรคจะต้องตรงกับเสียงตกของทำนองที่ผู้ประพันธ์ กำหนดไว้
ผลิตภัณฑ์ WINKWHITE
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น