วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สุโขทัยและอยุธยา)
การศึกษาเรื่องราวของดนตรีไทยนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงแหล่งกำเนิด ความเป็นมา และวิวัฒนาการของดนตรีไท่ยในแต่ละยุคสมัย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้ง มองเห็นคุณค่าของดนตรีไทย อันเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมประจำชาติไทย ซึ่งการแบ่งยุคสมัยทางดนตรีของไทยจะนิยมกำหนดตามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ดังต่อไปนี้
1. สมัยสุโขทัย
สมัยสุโขทัยนับเป็นสมัยเริ่มต้นที่คนไทยรวตัวกันเป็นชาติอย่างสมบูรณ์ แทนที่จะเป็นเพียงอาณาจักรที่มีเขตอิทธิพลอย่างจำกัดดังแต่กอ่น เรื่องราวของสุโขทัยมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยและจารึกเรื่องราวต่างๆ ลงในหลักศิลาจารึก และจากศิลาจารึกนี้เองทำให้คนรุ่นหลังทราบว่าสมัยสุโขทัยเป็นยุคสมัยหนึ่งที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การทหาร ภาษา และศิลปวัฒนธรรม ชาวเมืองมีเครื่องเล่นสร้างควงามรื่นเริงบันเทิงใจ และมีอิสระเสรีที่จะแสดงออกในเรื่องราวของบทเพลงและดนตรี เพลงและเรื่องราวของดนตรีบางส่วนจึงปรากฏอยู่บนหลักศิลาจารึก เช่น ข้อความที่ว่า "เสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ" แสดงให้เห็นว่า ในสมัยสุโขทัยมีการนำดนตรีมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ทั้งในราชสำนักและประเพณีของราษฎร
เครื่องดนตรีที่ปรากฏหลักฐานว่ามีการใช้กันในสมัยสุโขทัย เช่น บัณเฑาะห์ สังข์ แตรงอน (กาหล) แตรเขาควาย (พิสเนญชัย) พิณเพียะ หรือเบี๊ยะะพวง กรับคู่ มโหระทึก ฆ้อง กลอง กังสดาล ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น เพลงไทยที่ปรากฏขึ้นในสมัยนี้ได้แก่ เพลงเทพทอง หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เพลงสุโขทัย"
พิณน้ำเต้า |
แตรเขาควาย |
แตรสังข์ |
แตรงอน |
มโหระทึก |
กังสกาล |
บัณเฑาะห์ |
2. สมัยอยุธยา
สมัยอยุธยาดนตรีมีการพัฒนาในหลายๆด้าน ทั้งนี้ เพราะอยุธยาเป็นราชธานียาวนนานถึง 417 ปีจึงมีการติดต่อสัมพันธ์กับชาติต่างๆ หลายชาติ ดดยผ่านทางการเมือง การค้า และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม เชื่อกันว่าในสมัยอยุธยาดนตรีไทยน่าจะมีความเจริญมาก ทำให้ประชาชนนิยมเล่นดนตรีกันมากมาย แม้แต่ในเขตพระราชฐาน จนกระทั่งในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนถ (พ.ศ.1991-2031) ต้องมีกฏมณเฑียรบาลกำหนดว่า "ห้ามร้องเพลงเรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีโทนทับ ในเขตพระราชฐาน"
เครื่องดนตรีในสมัยอยุธยาบางชนิดรับช่วงมาจากสมัยสุโขทัย แต่ได้มีการพัฒนาในการคิดสร้างเครื่องดนตรีขึ้นมาอีกหลายชิ้นจำทำให้ดครื่องดนตรีในสมัยนี้มีครบเกือบทุกประเภท เช่น กระจับปี่ จะเข้ (พัฒนามาจากเครื่องดนตรีของมอญ) พิณน้ำเต้า ซอสามสาย ซออู้ ซอด้วง ขลุย กรับคู่ กรับเสภา ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องชัย ฆ้องโหม่ง ฉิง ฉาบ ตะโพน โทน รำมะนา กลองทัด กลองตุ๊ก ปี่ใน ปี่กลาง แตรงอน แตรสังข์ เป็นต้น
ซออู้ |
ซอด้วง |
จะเข้ |
ตะโพน |
กลองตุ๊ก (กลองชาตรี) |
ปี่ใน |
เพลงที่ปรากฏในสมัยนี้ สามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เพลงมโหรี ใช้วงมโหรีบรรเลง มีไว้สำหรับบรรเลงขับกล่อม เพลงที่บรรเลงมี 2 ชนิด คือ เพลงตับและเพลงเกร็ด ซึ่งมีตำราเพลงมโหรีปราฏกรายชื่อตกทอดมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ถึงจำนวน 197 เพลง
2. เพลงปี่พาทย์ ใช้วงปี่พาทย์ มีไว้สำหรับบรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร และใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพลงที่บรรเลง เช่น เพลงหน้าพาทย์ เพลงประกอบละคร เพลงเรื่อง เป็นต้น
3. เพลงภาษา เป็นเพลงไทยที่มีสำเนียงของชาติต่างๆ มักใช้เพลงประกอบตัวละครตามเชื้อชาติ นั้นๆ เช่น เพลงสำเนียงภาษาจีน เพลงาสำเนียงมอญ เป็นต้น
ตัวอย่างเพลงภาษา
ผลิตภัณฑ์ WINKWHITE
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น