หลักการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีของไทย
๑.หลักการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย
มี ๒ ประเภท คือประเภทเครื่องดีด เช่น กระจับปี่ ซึง พิณอีสาน พิณเปี๊ยะ เป็นต้น และประเภทเครื่องสี เช่น ซอสามสาย ซออู้ ซอด้วง ตรัว สะล้อ รือบับ โกร (ซอมอญ) เตหน่า (หน่าเตย) และประเภทเครื่องตี ได้แก่ ขิม ก่อนนำไปใช้ทุกครั้งต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องดนตรีให้เรียบร้อย ปรับเสียง และ ตั้งระดับเสียงให้ถูกต้อง รวมทั้งต้องปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีบรรเลงของเครื่องดนตรี และเมื่อเลิกใช้แล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
๑) ทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าเช็ดถูเครื่องดนตรีนั้นๆ ให้สะอาด
๒) ปลดเลื่อนหมอนหรือหย่อง เพื่อคลายสายของเครื่องดนตรีหรือคลายลูกบิดให้สายหย่อนเล็กน้อย
๓) เก็บคันชักเข้ากับคันซอหรือในกล่อง เก็บไม้ดีดให้เรียบร้อย
๒.หลักการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีดำเนินทำนอง
เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมอญ โปงลาง เป็นต้น ก่อนนำมาใช้ทุกครั้งให้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องดนตรีให้เรียบร้อยก่อนก่อนการนำมาฝึกซ้อมหรือบรรเลงจริง ตรวจสอบระดับเสียงให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันความเพี้ยนที่เกิดจากตะกั่วถ่วงเสียงหลุด ตั้งวาง และจัดลูกระนาด ลูกฆ้อง ลูกโปปงลาง ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ตรวจสอบสภาพไม้ตีให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยพร้อมใช้ รวมทั้งปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดให้ถูกต้อง และเมื่อเลิกใช้งานแล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
๑) ทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าเช็ดถูเครื่องดนตรีนั้นๆให้สะอาด
๒) ระนาดเอก และระนาดทุ้ม ให้ปลดเชือกจากตะขอแขวนทางด้านซ้าย ๑ อัน เพราะส่วนนี้ต้องรับน้ำ หนักผืนระนาดจึงต้องปลดเชือก เพื่อป้องกันเชือกขาดหรือตะขอหักหรือหลุด
๓) ตั้งวางเครื่องดนตรีไว้อย่างเป็นระเบียบโดยมิให้ถูกแสงแดด เพื่อป้องกันมิให้ตะกั่วถ่วงเสียง ละลายหรือส่วนประกอบที่เป็นไม้แตกหัก บิดเบี้ยว
๓. หลักการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกำกับจังหวะ
ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ โหม่ง แตระ กับแก๊บ รวมทั้งเครื่องตี และเครตื่องเคาะที่ใช้ตีเป็นเครื่องประกอบจังหวะ ก่อนนำมาใช้ทุกครั้งควรตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องดนตรีให้เรียบร้อย และปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดให้ถูกต้อง เมื่อเลิกใช้แล้วให้ดำเนินตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
๑) ทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าเช็ดถูเครื่องดนตรีนั้นๆให้สะอาด
๒) เก็บวางหรือใส่ไว้กล่องเก็บเครื่องดนตรีให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
๔. หลักการใช้ และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องหนัง
เช่น กลองทัด ตะโพนไทย ตะโพนมอญ กลองแขก กลองมลายู กลองสองหน้า กลองยาวกลางหาง โทน รำมะนา ทับ เป็นต้น เครื่องดนตรีลักษณะนี้มักจะนำหนังสัตว์มาขึ้นหน้าหุ้มกลอง ตรึงด้วยหมุดบางชนิดโยงด้วยสายที่ทำจากหนังสัตว์ สายหวาย เป็นต้น
ดังนั้น ก่อนนำมาใช้ควรตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องดนตรีให้เรียบร้อย ตั้งระดับเสียงให้ถูกต้อง ก่อนใช้งานบางชนิดที่มีไม้ตีก็ให้ตรวจสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้
รวมทั้งต้องปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดให้ถูกต้องและเมื่อเลิกใช้แล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
๑) ทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าเช็ดถูเครื่องดนตรีนั้นๆให้สะอาด
๒) ล้างหรือเช็ดทำความสะอาดหน้ากลองที่ติดจ่ากลองหรือข้าวบดสำหรับถ่วงหน้ากลองให้สะอาดเพราะข้าวบดถ่วงหรือจ่ากลองที่มีส่วนผสมของขี้เถ้า หากไม่ทำความสะอาดให้ดีแล้ว ความเค็มของขี้เถ้าจะกัดแผ่นหนังกลองให้เกิดความเสียหายได้
๕. หลักการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า
เช่น ปี่ใน ปี่นอก ปี่ชวา ปี่มอญ ขลุ่ยชนิดต่างๆ แคน เค่ง (แคนม้ง) ปี่อ้อ ปี่ผู้ไท ปี่ล้านนา เป็นต้น ลักษณะโดยทั่วไปของปี่มักมักจะทำด้วยไม้ แต่บางชนิดจะแทรกด้วยกำพวด ลิ้นโลหะหรือลิ้นใบตาล ก่อนนำมาใช้งานควรตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องดนตรีให้เรียบร้อยเสียก่อน รวมทั้งให้ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดให้ถูกต้อง และเมื่อเลิกใช้งานแล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
๑) ทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าเช็ดถูเครื่องดนตรีนั้นๆให้สะอาด
๒) แช่ลิ้นปี่ในน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เก็บกำพวดปี่ และลิ้นปี่ไว้ในกรักปี่ให้เรียบร้อย
๓) ตั้งวางในที่มีอากาศโปร่ง เพื่อป้องกันเชื้อราที่อาจเกิดขึ้นได้ และห้ามนำเลา ตัวแคนหรือเลาขลุ่ยไปตากแดด หรือตั้งไว้ในที่มีอุณหภูมิสูง เพราะจะทำให้เครื่องดนตรีปริแตก หรือโครงสร้างภายในเสียหาย ส่งผลกระทบต่อระบบเสียงของเครื่องดนตรีชนิดนั้นๆได้
WINKWHITE
มี ๒ ประเภท คือประเภทเครื่องดีด เช่น กระจับปี่ ซึง พิณอีสาน พิณเปี๊ยะ เป็นต้น และประเภทเครื่องสี เช่น ซอสามสาย ซออู้ ซอด้วง ตรัว สะล้อ รือบับ โกร (ซอมอญ) เตหน่า (หน่าเตย) และประเภทเครื่องตี ได้แก่ ขิม ก่อนนำไปใช้ทุกครั้งต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องดนตรีให้เรียบร้อย ปรับเสียง และ ตั้งระดับเสียงให้ถูกต้อง รวมทั้งต้องปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีบรรเลงของเครื่องดนตรี และเมื่อเลิกใช้แล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
๑) ทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าเช็ดถูเครื่องดนตรีนั้นๆ ให้สะอาด
๒) ปลดเลื่อนหมอนหรือหย่อง เพื่อคลายสายของเครื่องดนตรีหรือคลายลูกบิดให้สายหย่อนเล็กน้อย
๓) เก็บคันชักเข้ากับคันซอหรือในกล่อง เก็บไม้ดีดให้เรียบร้อย
๒.หลักการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีดำเนินทำนอง
เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมอญ โปงลาง เป็นต้น ก่อนนำมาใช้ทุกครั้งให้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องดนตรีให้เรียบร้อยก่อนก่อนการนำมาฝึกซ้อมหรือบรรเลงจริง ตรวจสอบระดับเสียงให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันความเพี้ยนที่เกิดจากตะกั่วถ่วงเสียงหลุด ตั้งวาง และจัดลูกระนาด ลูกฆ้อง ลูกโปปงลาง ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ตรวจสอบสภาพไม้ตีให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยพร้อมใช้ รวมทั้งปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดให้ถูกต้อง และเมื่อเลิกใช้งานแล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
๑) ทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าเช็ดถูเครื่องดนตรีนั้นๆให้สะอาด
๒) ระนาดเอก และระนาดทุ้ม ให้ปลดเชือกจากตะขอแขวนทางด้านซ้าย ๑ อัน เพราะส่วนนี้ต้องรับน้ำ หนักผืนระนาดจึงต้องปลดเชือก เพื่อป้องกันเชือกขาดหรือตะขอหักหรือหลุด
๓) ตั้งวางเครื่องดนตรีไว้อย่างเป็นระเบียบโดยมิให้ถูกแสงแดด เพื่อป้องกันมิให้ตะกั่วถ่วงเสียง ละลายหรือส่วนประกอบที่เป็นไม้แตกหัก บิดเบี้ยว
๓. หลักการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกำกับจังหวะ
ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ โหม่ง แตระ กับแก๊บ รวมทั้งเครื่องตี และเครตื่องเคาะที่ใช้ตีเป็นเครื่องประกอบจังหวะ ก่อนนำมาใช้ทุกครั้งควรตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องดนตรีให้เรียบร้อย และปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดให้ถูกต้อง เมื่อเลิกใช้แล้วให้ดำเนินตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
๑) ทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าเช็ดถูเครื่องดนตรีนั้นๆให้สะอาด
๒) เก็บวางหรือใส่ไว้กล่องเก็บเครื่องดนตรีให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
๔. หลักการใช้ และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องหนัง
เช่น กลองทัด ตะโพนไทย ตะโพนมอญ กลองแขก กลองมลายู กลองสองหน้า กลองยาวกลางหาง โทน รำมะนา ทับ เป็นต้น เครื่องดนตรีลักษณะนี้มักจะนำหนังสัตว์มาขึ้นหน้าหุ้มกลอง ตรึงด้วยหมุดบางชนิดโยงด้วยสายที่ทำจากหนังสัตว์ สายหวาย เป็นต้น
ดังนั้น ก่อนนำมาใช้ควรตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องดนตรีให้เรียบร้อย ตั้งระดับเสียงให้ถูกต้อง ก่อนใช้งานบางชนิดที่มีไม้ตีก็ให้ตรวจสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้
รวมทั้งต้องปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดให้ถูกต้องและเมื่อเลิกใช้แล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
๑) ทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าเช็ดถูเครื่องดนตรีนั้นๆให้สะอาด
๒) ล้างหรือเช็ดทำความสะอาดหน้ากลองที่ติดจ่ากลองหรือข้าวบดสำหรับถ่วงหน้ากลองให้สะอาดเพราะข้าวบดถ่วงหรือจ่ากลองที่มีส่วนผสมของขี้เถ้า หากไม่ทำความสะอาดให้ดีแล้ว ความเค็มของขี้เถ้าจะกัดแผ่นหนังกลองให้เกิดความเสียหายได้
๕. หลักการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า
เช่น ปี่ใน ปี่นอก ปี่ชวา ปี่มอญ ขลุ่ยชนิดต่างๆ แคน เค่ง (แคนม้ง) ปี่อ้อ ปี่ผู้ไท ปี่ล้านนา เป็นต้น ลักษณะโดยทั่วไปของปี่มักมักจะทำด้วยไม้ แต่บางชนิดจะแทรกด้วยกำพวด ลิ้นโลหะหรือลิ้นใบตาล ก่อนนำมาใช้งานควรตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องดนตรีให้เรียบร้อยเสียก่อน รวมทั้งให้ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดให้ถูกต้อง และเมื่อเลิกใช้งานแล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
๑) ทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าเช็ดถูเครื่องดนตรีนั้นๆให้สะอาด
๒) แช่ลิ้นปี่ในน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เก็บกำพวดปี่ และลิ้นปี่ไว้ในกรักปี่ให้เรียบร้อย
๓) ตั้งวางในที่มีอากาศโปร่ง เพื่อป้องกันเชื้อราที่อาจเกิดขึ้นได้ และห้ามนำเลา ตัวแคนหรือเลาขลุ่ยไปตากแดด หรือตั้งไว้ในที่มีอุณหภูมิสูง เพราะจะทำให้เครื่องดนตรีปริแตก หรือโครงสร้างภายในเสียหาย ส่งผลกระทบต่อระบบเสียงของเครื่องดนตรีชนิดนั้นๆได้
กำพวดปี่และลิ้นปี่ |
WINKWHITE
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น