วิวัฒนาการของดนตรีสากลในแต่ละยุคสมัย (ยุคกลางและยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ)
ยุคกลาง
เริ่มประมาณปี ค.ศ. 400 - 1400 ในสมัยกลางนี้โบสถ์เป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านดนตรี ศิลปะ การศึกษาและการเมือง วิวัฒนาการของดนตรีตะวันตกมีการบันทึกไว้ตั้งแต่เริ่มแรกของคริ สต์ศาสนา บทเพลงทางศาสนาซึ่งเกิดขึ้นจากกราประสมประสานระหว่างดนตรีโรมัน โบราณกับดนตรียิวโบราณ เพลงแต่งเพื่อพิธีทางศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ โดยนำคำสอนจากพระคัมภีร์มาร้องเป็นทำนอง เพื่อให้ประชาชนได้เกิดอาราณ์ซาบซึ้ง และมีศรัทธาแก่กล้าในศาสนา ไมใช่เพื่อความไพเราะของทำนอง หรือความสนุกสนานของจังหวะ เมื่อศาสนาคริสต์แพร่กระจายไปทั่วโลก ประเทศต่างๆ ได้นำบทเพลงที่ชาติตนเองคุ้นเคยมาร้องในพิธีสักการะพระเจ้า ดังนั้นเพลงที่ใช้ร้องในพิธีของศาสนาคริสต์จึงแตกต่างกันไปตามภ ูมิภาคและเชื้อชาติที่นับถือ
เมื่อคริสต์ศาสนาเข้มแข็งขึ้น ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการขับร้องเพลงสวด ที่เรียกว่า ชานท์ (Chant) จนเป็นที่ยอมรับในหมู่พวกศาสนาคริสต์ สันตะปาปาเกรกอรี (Pope Gregory the Great) พระผู้นำศาสนาในยุคนั้น คือ ผู้ที่รวบรวมบทสวดต่างๆ ที่มีอยู่ ให้เป็นหมวดหมู่ เปลี่ยนคำร้องจากภาษากรีกให้เป็นภาษาละติน กำหนดลำดับเพลงสวดไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติเหมือนกัน ผลงานการรวบรวมบทสวดของสันตะปาปาเกรกอรี ถูกเรียกว่า เกรกอรีชานท์ (Gregory Chant)หรือบทสวดของเกรกอรี ซึ่งในศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคธอลิคก็ยังนำมาใช้อยู่จนปัจจุบัน ชานท์เป็นบทเพลงรองที่มีแต่ทำนอง ไม่มีการประสานเสียงและไม่มีการบังคับจังหวะ แต่ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญและรสนิยมของนักร้องเอง เพลงประเภทนี้ถูกเรียกว่า เพลงเสียงเดียว หรือเรียกว่า โมโนโฟนี (Monophony)
วิวัฒนาการที่สำคัญที่สุดของดนตรีเกิดขึ้นที่ปลายยุคกลาง ราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 คือ การเพิ่มแนวร้องขึ้นอีกแนวหนึ่ง เป็นเสียงร้องที่เป็นคู่ขนานกับทำนองหลัก กำหนดให้ร้องพร้อมกันไป วิธีการเขียนเพลงที่มี 2 แนวนี้เรียกว่า ออร์แกนุม (Organum) จากจุดเริ่มนี้เองดนตรีสากลก็ได้พัฒนาไปอย่างมากมาย จากแนวสองแนวที่ขนานกันเป็นสองแนวแต่ไม่จำเป็นต้องขนานกันเสมอไ ป สวนทางกันได้ ต่อมาได้เพิ่มเสียงสองแนวเป็นสามแนวและเป็นสี่แนว จากเพลงร้องดั้งเดิมที่มีเพียงเสียงเดียว ได้พัฒนาขึ้นกลายเป็นเพลงหลายแนวเสียงหรือเรียกว่าโพลีโฟนี (Polyphony)
ปลายยุคกลางได้มีการเล่นดนตรีนอกวงการศาสนาขึ้นบ้าง โดยมีกลุ่มนักดนตรีเร่ร่อนเที่ยวไปในที่ต่างๆ เปิดการแสดงดนตรีประกอบการเล่านิทาน เล่าเรื่องการต่อสู้ของนักรบผู้กล้าหาญ ร้องเพลง หรือบรรเลงดนตรีประกอบการแสดงมายากล แสดงกายกรรม แสดงการต้นระบำต่างๆ จุดมุ่งหมายคือความบันเทิง นักดนตรีพเนจรเหล่านี้ กระจายอยุ่ทั่วภาคพื้นยุโรป มีชื่อเรียกต่างกันไป พวกจองเกลอ (Jonglour) อยู่ทั่วไปในยุโรป พวกมิสสเทรล (Minstrel) เร่ร่อนอยู่ในอังกฤษ พวกทรูแวร์ (Trouveres) ทำหน้าที่บรรเลงเพลงในราชสำนักทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส และพวกทรูบาร์ดัวร์ (Troubadour) ทำหน้าทีบรรเลงเพลงในราชสำนักทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส
เริ่มประมาณปี ค.ศ. 400 - 1400 ในสมัยกลางนี้โบสถ์เป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านดนตรี ศิลปะ การศึกษาและการเมือง วิวัฒนาการของดนตรีตะวันตกมีการบันทึกไว้ตั้งแต่เริ่มแรกของคริ สต์ศาสนา บทเพลงทางศาสนาซึ่งเกิดขึ้นจากกราประสมประสานระหว่างดนตรีโรมัน โบราณกับดนตรียิวโบราณ เพลงแต่งเพื่อพิธีทางศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ โดยนำคำสอนจากพระคัมภีร์มาร้องเป็นทำนอง เพื่อให้ประชาชนได้เกิดอาราณ์ซาบซึ้ง และมีศรัทธาแก่กล้าในศาสนา ไมใช่เพื่อความไพเราะของทำนอง หรือความสนุกสนานของจังหวะ เมื่อศาสนาคริสต์แพร่กระจายไปทั่วโลก ประเทศต่างๆ ได้นำบทเพลงที่ชาติตนเองคุ้นเคยมาร้องในพิธีสักการะพระเจ้า ดังนั้นเพลงที่ใช้ร้องในพิธีของศาสนาคริสต์จึงแตกต่างกันไปตามภ ูมิภาคและเชื้อชาติที่นับถือ
เมื่อคริสต์ศาสนาเข้มแข็งขึ้น ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการขับร้องเพลงสวด ที่เรียกว่า ชานท์ (Chant) จนเป็นที่ยอมรับในหมู่พวกศาสนาคริสต์ สันตะปาปาเกรกอรี (Pope Gregory the Great) พระผู้นำศาสนาในยุคนั้น คือ ผู้ที่รวบรวมบทสวดต่างๆ ที่มีอยู่ ให้เป็นหมวดหมู่ เปลี่ยนคำร้องจากภาษากรีกให้เป็นภาษาละติน กำหนดลำดับเพลงสวดไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติเหมือนกัน ผลงานการรวบรวมบทสวดของสันตะปาปาเกรกอรี ถูกเรียกว่า เกรกอรีชานท์ (Gregory Chant)หรือบทสวดของเกรกอรี ซึ่งในศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคธอลิคก็ยังนำมาใช้อยู่จนปัจจุบัน ชานท์เป็นบทเพลงรองที่มีแต่ทำนอง ไม่มีการประสานเสียงและไม่มีการบังคับจังหวะ แต่ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญและรสนิยมของนักร้องเอง เพลงประเภทนี้ถูกเรียกว่า เพลงเสียงเดียว หรือเรียกว่า โมโนโฟนี (Monophony)
วิวัฒนาการที่สำคัญที่สุดของดนตรีเกิดขึ้นที่ปลายยุคกลาง ราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 คือ การเพิ่มแนวร้องขึ้นอีกแนวหนึ่ง เป็นเสียงร้องที่เป็นคู่ขนานกับทำนองหลัก กำหนดให้ร้องพร้อมกันไป วิธีการเขียนเพลงที่มี 2 แนวนี้เรียกว่า ออร์แกนุม (Organum) จากจุดเริ่มนี้เองดนตรีสากลก็ได้พัฒนาไปอย่างมากมาย จากแนวสองแนวที่ขนานกันเป็นสองแนวแต่ไม่จำเป็นต้องขนานกันเสมอไ ป สวนทางกันได้ ต่อมาได้เพิ่มเสียงสองแนวเป็นสามแนวและเป็นสี่แนว จากเพลงร้องดั้งเดิมที่มีเพียงเสียงเดียว ได้พัฒนาขึ้นกลายเป็นเพลงหลายแนวเสียงหรือเรียกว่าโพลีโฟนี (Polyphony)
ปลายยุคกลางได้มีการเล่นดนตรีนอกวงการศาสนาขึ้นบ้าง โดยมีกลุ่มนักดนตรีเร่ร่อนเที่ยวไปในที่ต่างๆ เปิดการแสดงดนตรีประกอบการเล่านิทาน เล่าเรื่องการต่อสู้ของนักรบผู้กล้าหาญ ร้องเพลง หรือบรรเลงดนตรีประกอบการแสดงมายากล แสดงกายกรรม แสดงการต้นระบำต่างๆ จุดมุ่งหมายคือความบันเทิง นักดนตรีพเนจรเหล่านี้ กระจายอยุ่ทั่วภาคพื้นยุโรป มีชื่อเรียกต่างกันไป พวกจองเกลอ (Jonglour) อยู่ทั่วไปในยุโรป พวกมิสสเทรล (Minstrel) เร่ร่อนอยู่ในอังกฤษ พวกทรูแวร์ (Trouveres) ทำหน้าที่บรรเลงเพลงในราชสำนักทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส และพวกทรูบาร์ดัวร์ (Troubadour) ทำหน้าทีบรรเลงเพลงในราชสำนักทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส
ยุคเรเนสซองส์หรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (The Renaissance Period)
สมัยเรเนสซองส์ หรือ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เริ่มประมาณ ค.ศ. 1400 – 1600 เพลงศาสนายังมีความสำคัญอยู่เช่นเดิม เพลงสำหรับประชาชนทั่วไป เพื่อให้ความบันเทิง ความสนุกสนาน ก็เกิดขึ้นด้วย การประสานเสียงได้รับการพัฒนาให้กลมกลืนขึ้น เพลงศาสนาเป็นรากฐานของทฤษฎีการประสานเสียง เพลงในยุคนี้แบ่งเป็นสองแบบ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบที่เรียกว่า อิมมิเททีฟโพลีโฟนี (Imitative Polyphony) คือ มีหลายแนว และแต่ละแนวจะเริ่มไม่พร้อมกัน ทุกแนวเสียงมีความสำคัญแบบที่สองเรียกว่า โฮโมโฟนี (Homophony) คือ มีหลายแนวเสียงและบรรเลงไปพร้อมกัน มีเพียงแนวเสียงเดียวที่เด่น แนวเสียงอื่นๆ เป็นเพียงเสียงประกอบ เพลงในสมัยนี้ ยังไม่มีการแบ่งจังหวะที่แน่นอน คือ ยังไม่มีการแบ่งห้องออกเป็น 3/4 หรือ 4/4 เพลงส่วนใหญ่ก็ยังเกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนาอยู่เพลงประกอบขั้นต อนต่างๆ ของพิธีทางศาสนาที่สำคัญ คือ เพลงแมส (Mass) และโมเต็ท (Motet) คำร้องเป็นภาษาละติน เพลงที่ไม่ใช่เพลงศาสนาก็เริ่มนิยมกันมากขึ้น ได้แก่ เพลงประเภท แมดริกัล (Madrigal) ซึ่งมีเนื้อร้องเกี่ยวกับความรัก หรือยกย่องบุคคลสำคัญ และมักจะมีจังหวะสนุกสนาน นอกจากนี้ยังใช้ภาษาประจำชาติของแต่ละชาติ
เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทในยุคนี้ เครื่องดนตรีที่นำมาใช้ในการบรรเลง คือ ลูท ออร์แกนลม ฮาร์พซิคอร์ด เวอจินัล ขลุ่ยเรคอร์เดอร์ ซอวิโอล องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของดนตรียุคนี้ที่ถูกนำมาใช้ คือ ความดัง - เบาของเสียงดนตรี (Dynamic)
เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทในยุคนี้ เครื่องดนตรีที่นำมาใช้ในการบรรเลง คือ ลูท ออร์แกนลม ฮาร์พซิคอร์ด เวอจินัล ขลุ่ยเรคอร์เดอร์ ซอวิโอล องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของดนตรียุคนี้ที่ถูกนำมาใช้ คือ ความดัง - เบาของเสียงดนตรี (Dynamic)
คำว่า “Renaissance” แปลว่า “การเกิดใหม่ ” (Re-birth) ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ปัญญาชนในยุโรปได้ หันความสนใจจากกิจการฝ่ายศาสนาที่ได้ปฏิบัติมาอย่างเคร่งครัดตล อดสมัยกลาง มาสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งมีแนวความคิดอ่านและวัฒนธรรมตามแบบกรีก และโรมันโบราณ สมัยแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยานี้ ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกตามหัวเมืองภาคเหนือของแหลมอิตาลี
โดยได้เริ่มขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ก่อนแล้วจึงแพร่ไปยังเวนิช ปิสา เจนัว จนทั่วแคว้นทัสคานีและลอมบาร์ดี จากนั้นจึงแพร่ไปทั่วแหลมอิตาลีแล้วขยายตัวเข้าไปในฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ
โดยได้เริ่มขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ก่อนแล้วจึงแพร่ไปยังเวนิช ปิสา เจนัว จนทั่วแคว้นทัสคานีและลอมบาร์ดี จากนั้นจึงแพร่ไปทั่วแหลมอิตาลีแล้วขยายตัวเข้าไปในฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ
ลักษณะของดนตรีในสมัยนี้ยังคงมีรูปแบบคล้ายในสมัยศิลป์ใหม่ แต่ได้มีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบมากขึ้น ลักษณะการสอดประสานทำนอง ยังคงเป็นลักษณะเด่น เพลงร้องยังคงนิยมกัน แต่เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ในช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16 รูปแบบของดนตรีมีความแตกต่างกันดังนี้ (ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535:89)
1. สมัยศตวรรษที่ 15
ประชาชนทั่วไปได้หลุดพ้นจากการปกครองระบอบศักดินา (Feudalism) มนุษยนิยม (Humanism) ได้กลายเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา ศิลปินผู้มีชื่อเสียง คือ ลอเร็นโซ กิแบร์ตี โดนาเต็ลโล เลโอนาร์โด ดา วินชิ ฯลฯ เพลงมักจะมี 3 แนว โดยแนวบนสุดจะมีลักษณะน่าสนใจกว่าแนวอื่น ๆ เพลงที่ประกอบด้วยเสียง 4 แนว ในลักษณะของโซปราโน อัลโต เทเนอร์ เบส
เริ่มนิยมประพันธ์กันซึ่งเป็นรากฐานของการประสานเสียง 4 แนว ในสมัยต่อ ๆ มา เพลงโบสถ์จำพวก
แมสซึ่งพัฒนามาจากแชนท์มีการประพันธ์กันเช่นเดียวกับในสมัยกลาง เพลงโมเต็ตยังมีรูปแบบคล้ายสมัยศิลป์ใหม่ ในระยะนี้เพลงคฤหัสถ์เริ่มมีการสอดประสานเกิดขึ้น คือ เพลงประเภทซังซอง แบบสอดประสาน (Polyphonic chanson) ซึ่งมีแนวทำนองเด่น 1 แนว และมีแนวอื่นสอดประสานแบบล้อกัน (Imitative style) ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลักษณะของการใส่เสียงประสาน (Homophony)
ลักษณะล้อกันแบบนี้เป็นลักษณะสำคัญของเพลงในสมัยนี้ นอกจากนี้มีการนำรูปแบบของโมเต็ตมาประพันธ์เป็นเพลงแมสและการนำ หลักของแคนนอนมาใช้ในเพลงแมสด้วย
2. สมัยศตวรรษที่ 16
มนุษยนิยมยังคงเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา การปฏิรูปทางศาสนาและการต่อต้านการปฏิรูปทางศาสนาของพวกคาทอลิก เป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งของคริสต์ศาสนาเพลงร้อง แบบสอดประสานทำนองพัฒนาจนมีความสมบูรณ์แบบเพลงร้องยังคงเป็นลัก ษณะเด่น แต่เพลงบรรเลงก็เริ่มนิยมกันมากขึ้น เพลงโบสถ์ยังมีอิทธิพลจากเพลงโบสถ์ของโรมัน แต่ก็มีเพลงโบสถ์ของนิกายโปรแตสแตนท์เกิดขึ้น การประสานเสียงเริ่มมีหลักเกณฑ์มากขึ้น การใช้การประสานเสียงสลับกับการล้อกันของทำนองเป็นลักษณะหนึ่งข องเพลงในสมัยนี้ การแต่งเพลงแมสและโมเต็ต นำหลักของการล้อกันของทำนองมาใช้แต่เป็นแบบฟิวก์ (Fugue) ซึ่งพัฒนามาจากแคนนอน คือ การล้อของทำนองที่มีการแบ่งเป็นส่วน ๆ ที่สลับซับซ้อนมีหลักเกณฑ์มากขึ้นในสมัยนี้มีการปฏิวัติทางดนตรีเกิดขึ้นในเยอ รมัน ซึ่งเป็นเรื่องของความขัดแย้งทางศาสนากับพวกโรมันแคธอลิก จึงมีการแต่งเพลงขึ้นมาใหม่โดยใช้กฏเกณฑ์ใหม่ด้วยเพลงที่เกิดขึ ้นมาใหม่เป็นเพลงสวดที่เรียกว่า “โคราล” (Chorale) ซึ่งเป็นเพลงที่นำมาจากแชนท์แต่ใส่อัตราจังหวะเข้าไป นอกจากนี้ยังเป็นเพลงที่นำมาจากเพลงคฤหัสถ์โดย ใส่เนื้อเป็นเรื่องศาสนาและเป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ด้วย เพลงในสมัยนี้เริ่มมีอัตราจังหวะแน่นอน เพลงคฤหัสถ์มีการพัฒนาทั้งใช้ผู้ร้องและการบรรเลง กล่าวได้ว่าดนตรีในศตวรรษนี้มีรูปแบบ ใหม่ ๆ เกิดขึ้นและหลักการต่าง ๆ มีแบบแผนมากขึ้น ในสมัยนี้มนุษย์เริ่มเห็นความสำคัญของดนตรีมาก โดยถือว่าดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต นอกจากจะให้ดนตรีในศาสนาสืบเนื่องมาจากสมัยกลาง (Middle Ages) แล้วยังต้องการดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) เพื่อพักผ่อนในยามว่าง เพราะฉะนั้นในสมัยนี้ดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) และดนตรีศาสนา (Sacred Music) มีความสำคัญเท่ากัน
สรุปลักษณะบทเพลงในสมัยนี้
1. บทร้องใช้โพลีโฟนี (Polyphony) ส่วนใหญ่ใช้ 3-4 แนว ในศตวรรษที่ 16 ได้ชื่อว่า “The Golden Age of Polyphony”
2. มีการพัฒนา Rhythm ในแบบ Duple time และ Triple time ขึ้น
3. การประสานเสียงใช้คู่ 3 ตลอด และเป็นสมัยสุดท้ายที่มีรูปแบบของขับร้องและบรรเลงเหมือนกัน
เครื่องดนตรีสมัยรีเนซองส์
- เครื่องดนตรีในสมัยนี้ที่นิยมใช้กันได้แก่ เครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้คันชัก
ได้แก่ ซอวิโอล (Viols) ขนาดต่าง ๆ ซอรีเบค (Rebec) ซึ่งตัวซอมีทรวดทรงคล้ายลูกแพร์เป็นเครื่องสายที่ใช้คันชัก ลูท เวอร์จินัล คลาวิคอร์ด ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ปี่ชอม ปี่คอร์เน็ต แตรทรัมเปต และแตรทรอมโบนโบราณ เป็นต้น
ประชาชนทั่วไปได้หลุดพ้นจากการปกครองระบอบศักดินา (Feudalism) มนุษยนิยม (Humanism) ได้กลายเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา ศิลปินผู้มีชื่อเสียง คือ ลอเร็นโซ กิแบร์ตี โดนาเต็ลโล เลโอนาร์โด ดา วินชิ ฯลฯ เพลงมักจะมี 3 แนว โดยแนวบนสุดจะมีลักษณะน่าสนใจกว่าแนวอื่น ๆ เพลงที่ประกอบด้วยเสียง 4 แนว ในลักษณะของโซปราโน อัลโต เทเนอร์ เบส
เริ่มนิยมประพันธ์กันซึ่งเป็นรากฐานของการประสานเสียง 4 แนว ในสมัยต่อ ๆ มา เพลงโบสถ์จำพวก
แมสซึ่งพัฒนามาจากแชนท์มีการประพันธ์กันเช่นเดียวกับในสมัยกลาง เพลงโมเต็ตยังมีรูปแบบคล้ายสมัยศิลป์ใหม่ ในระยะนี้เพลงคฤหัสถ์เริ่มมีการสอดประสานเกิดขึ้น คือ เพลงประเภทซังซอง แบบสอดประสาน (Polyphonic chanson) ซึ่งมีแนวทำนองเด่น 1 แนว และมีแนวอื่นสอดประสานแบบล้อกัน (Imitative style) ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลักษณะของการใส่เสียงประสาน (Homophony)
ลักษณะล้อกันแบบนี้เป็นลักษณะสำคัญของเพลงในสมัยนี้ นอกจากนี้มีการนำรูปแบบของโมเต็ตมาประพันธ์เป็นเพลงแมสและการนำ หลักของแคนนอนมาใช้ในเพลงแมสด้วย
2. สมัยศตวรรษที่ 16
มนุษยนิยมยังคงเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา การปฏิรูปทางศาสนาและการต่อต้านการปฏิรูปทางศาสนาของพวกคาทอลิก เป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งของคริสต์ศาสนาเพลงร้อง แบบสอดประสานทำนองพัฒนาจนมีความสมบูรณ์แบบเพลงร้องยังคงเป็นลัก ษณะเด่น แต่เพลงบรรเลงก็เริ่มนิยมกันมากขึ้น เพลงโบสถ์ยังมีอิทธิพลจากเพลงโบสถ์ของโรมัน แต่ก็มีเพลงโบสถ์ของนิกายโปรแตสแตนท์เกิดขึ้น การประสานเสียงเริ่มมีหลักเกณฑ์มากขึ้น การใช้การประสานเสียงสลับกับการล้อกันของทำนองเป็นลักษณะหนึ่งข องเพลงในสมัยนี้ การแต่งเพลงแมสและโมเต็ต นำหลักของการล้อกันของทำนองมาใช้แต่เป็นแบบฟิวก์ (Fugue) ซึ่งพัฒนามาจากแคนนอน คือ การล้อของทำนองที่มีการแบ่งเป็นส่วน ๆ ที่สลับซับซ้อนมีหลักเกณฑ์มากขึ้นในสมัยนี้มีการปฏิวัติทางดนตรีเกิดขึ้นในเยอ รมัน ซึ่งเป็นเรื่องของความขัดแย้งทางศาสนากับพวกโรมันแคธอลิก จึงมีการแต่งเพลงขึ้นมาใหม่โดยใช้กฏเกณฑ์ใหม่ด้วยเพลงที่เกิดขึ ้นมาใหม่เป็นเพลงสวดที่เรียกว่า “โคราล” (Chorale) ซึ่งเป็นเพลงที่นำมาจากแชนท์แต่ใส่อัตราจังหวะเข้าไป นอกจากนี้ยังเป็นเพลงที่นำมาจากเพลงคฤหัสถ์โดย ใส่เนื้อเป็นเรื่องศาสนาและเป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ด้วย เพลงในสมัยนี้เริ่มมีอัตราจังหวะแน่นอน เพลงคฤหัสถ์มีการพัฒนาทั้งใช้ผู้ร้องและการบรรเลง กล่าวได้ว่าดนตรีในศตวรรษนี้มีรูปแบบ ใหม่ ๆ เกิดขึ้นและหลักการต่าง ๆ มีแบบแผนมากขึ้น ในสมัยนี้มนุษย์เริ่มเห็นความสำคัญของดนตรีมาก โดยถือว่าดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต นอกจากจะให้ดนตรีในศาสนาสืบเนื่องมาจากสมัยกลาง (Middle Ages) แล้วยังต้องการดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) เพื่อพักผ่อนในยามว่าง เพราะฉะนั้นในสมัยนี้ดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) และดนตรีศาสนา (Sacred Music) มีความสำคัญเท่ากัน
สรุปลักษณะบทเพลงในสมัยนี้
1. บทร้องใช้โพลีโฟนี (Polyphony) ส่วนใหญ่ใช้ 3-4 แนว ในศตวรรษที่ 16 ได้ชื่อว่า “The Golden Age of Polyphony”
2. มีการพัฒนา Rhythm ในแบบ Duple time และ Triple time ขึ้น
3. การประสานเสียงใช้คู่ 3 ตลอด และเป็นสมัยสุดท้ายที่มีรูปแบบของขับร้องและบรรเลงเหมือนกัน
เครื่องดนตรีสมัยรีเนซองส์
- เครื่องดนตรีในสมัยนี้ที่นิยมใช้กันได้แก่ เครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้คันชัก
ได้แก่ ซอวิโอล (Viols) ขนาดต่าง ๆ ซอรีเบค (Rebec) ซึ่งตัวซอมีทรวดทรงคล้ายลูกแพร์เป็นเครื่องสายที่ใช้คันชัก ลูท เวอร์จินัล คลาวิคอร์ด ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ปี่ชอม ปี่คอร์เน็ต แตรทรัมเปต และแตรทรอมโบนโบราณ เป็นต้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น