วิวัฒนาการดนตรีสากลในแต่ละยุคสมัย (ยุคบาโรกและยุคคลาสสิก)
ยุคบาโรก
คำว่า “Baroque” มาจากคำว่า “Barroco” ในภาษาโปรตุเกสซึ่งหมายถึง “ไข่มุกที่มีสัณฐานเบี้ยว” (Irregularly shaped pearl)
Jacob Burckhardt เป็นคนแรกที่ใช้คำนี้เรียกสไตล์ของงานสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมใน คริสต์ศตวรรษที่ 17
ที่เต็มไปด้วยการตกแต่งประดับประดาและให้ความรู้สึกอ่อนไหว (ไขแสง ศุขวัฒนะ,2535:96)
ในด้านดนตรี ได้มีผู้นำคำนี้มาใช้เรียกสมัยของดนตรีที่เกิดขึ้นในยุโรป เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาสิ้นสุดลงราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นเวลาร่วม 150 ปี เนื่องจากสมัยบาโรกเป็นสมัยที่ยาวนานรูปแบบของเพลงจึงมีการเปลี ่ยนแปลงไปตามเวลา อย่างไรก็ตามรูปแบบของเพลงที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะเด่นท ี่สุดของดนตรี บาโรกได้ปรากฏในบทประพันธ์ของ เจ.เอส.บาคและยอร์ช ฟริเดริค เฮนเดล ซึ่งคีตกวีทั้งสองนี้ได้แต่งขึ้นในช่วงเวลาครึ่งแรกของศตวรรษที ่ 18 ตอนต้นสมัยบาโรกคีตกวีส่วนมากได้เลิกนิยมสไตล์โพลี่โฟนี (Polyphony) ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งแนวขับร้องแต่ละแนวในบทเพลงต่างมีความสำคัญทัดเทียมกันและห ันมาสนใจสไตล์โมโนดี (Monody) ซึ่งในบทเพลงจะมีแนวขับร้องเพียงแนวเดียวดำเนินทำนอง และมีแนวสำคัญที่เรียกในภาษาอิตาเลี่ยนว่า “เบสโซคอนตินิวโอ (Basso Continuo)” ทำหน้าที่เสียงคลอเคลื่อนที่ตลอดเวลาประกอบ ทำให้เกิดคอร์ดขึ้นมา อย่างไรก็ตามคีตกวีรุ่นต่อมาก็มิได้เลิกสไตล์โฟลี่โฟนีเสียเลยท ีเดียวหากยังให้ไปปรากฏในดนตรีคีย์บอร์ดในแบบแผนของฟิวก์ (Fugue) ออร์แกนโคราล (Organchorale) ตลอดจนทอคคาตา (Toccata) ซึ่งแต่งโดยใช้เทคนิค เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint)
Jacob Burckhardt เป็นคนแรกที่ใช้คำนี้เรียกสไตล์ของงานสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมใน คริสต์ศตวรรษที่ 17
ที่เต็มไปด้วยการตกแต่งประดับประดาและให้ความรู้สึกอ่อนไหว (ไขแสง ศุขวัฒนะ,2535:96)
ในด้านดนตรี ได้มีผู้นำคำนี้มาใช้เรียกสมัยของดนตรีที่เกิดขึ้นในยุโรป เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาสิ้นสุดลงราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นเวลาร่วม 150 ปี เนื่องจากสมัยบาโรกเป็นสมัยที่ยาวนานรูปแบบของเพลงจึงมีการเปลี ่ยนแปลงไปตามเวลา อย่างไรก็ตามรูปแบบของเพลงที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะเด่นท ี่สุดของดนตรี บาโรกได้ปรากฏในบทประพันธ์ของ เจ.เอส.บาคและยอร์ช ฟริเดริค เฮนเดล ซึ่งคีตกวีทั้งสองนี้ได้แต่งขึ้นในช่วงเวลาครึ่งแรกของศตวรรษที ่ 18 ตอนต้นสมัยบาโรกคีตกวีส่วนมากได้เลิกนิยมสไตล์โพลี่โฟนี (Polyphony) ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งแนวขับร้องแต่ละแนวในบทเพลงต่างมีความสำคัญทัดเทียมกันและห ันมาสนใจสไตล์โมโนดี (Monody) ซึ่งในบทเพลงจะมีแนวขับร้องเพียงแนวเดียวดำเนินทำนอง และมีแนวสำคัญที่เรียกในภาษาอิตาเลี่ยนว่า “เบสโซคอนตินิวโอ (Basso Continuo)” ทำหน้าที่เสียงคลอเคลื่อนที่ตลอดเวลาประกอบ ทำให้เกิดคอร์ดขึ้นมา อย่างไรก็ตามคีตกวีรุ่นต่อมาก็มิได้เลิกสไตล์โฟลี่โฟนีเสียเลยท ีเดียวหากยังให้ไปปรากฏในดนตรีคีย์บอร์ดในแบบแผนของฟิวก์ (Fugue) ออร์แกนโคราล (Organchorale) ตลอดจนทอคคาตา (Toccata) ซึ่งแต่งโดยใช้เทคนิค เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint)
ดนตรีในสมัยนี้จะอยู่ประมาณ ค.ศ. 1600 – 1750 ช่วงระยะเวลานี้ ทวีปยุโรปกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทุกด้านไปในทางที่ดีขึ้น ดนตรีในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสมบูรณ์ ดนตรีศาสนา และดนตรีของชาวบ้านมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกัน โครงสร้างของเพลงมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น สีสันในบทเพลงมีมากขึ้นวงดนตรีวงใหญ่ขึ้น มีการนำเครื่องดนตรีมาใช้อย่างหลากหลาย เพลงในยุคนี้จะมีจังหวะสม่ำเสมอมาก ทางด้านการประสานเสียงมีการใช้เสียงหลัก (Tonality) ที่แน่นอน เพลงแต่ละเพลงจะต้องอยู่ในกุญแจหนึ่ง เช่น เริ่มด้วยกุญแจ C ก็ต้องจบด้วยกุญแจ C มีกฎเกณฑ์การใช้คอร์ด นักประพันธ์เพลงในยุคนี้นิยมทำนองสั้นๆ (Motif) มาบรรเลงซ้ำๆ กัน โดยเลียนแบบให้สูงขึ้น หรือต่ำลงเป็นลำดับ หรือไม่ก็ซ้ำอยู่ในระดับเดียวกัน ในด้านจังหวะ ได้ทำให้กระชับขึ้นมาก โดยมีการใช้เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature) จุดสุดยอดแห่งการเขียนเพลงแบบนี้คือ เพลงประเภท ฟิวก์ (Fugue) ซึ้งใช้เป็นทั้งเพลงร้องและเพลงบรรเลง เป็นเพลงที่มีหลายทำนองสลับซับซ้อน มีลวดลายมาก นอกจากนี้ การเขียนเพลงแบบโฮโมโฟนี คือ การประสานเสียงที่มีทำนองหลักหนึ่งแนว และมีแนวเสียงอื่นเป็นส่วนประกอบ ได้รับพัฒนาอย่างสมบูรณ์ในยุคนี้ นักประพันธ์เพลงหลายท่าน ได้สร้างผลงานโดยใช้หลักการประสานเสียงแบบโฮโมโฟนี ผู้มีชื่อเสียงมากในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกการประพันธ์เพลงแบบบร รเลงในยุคนี้ คือ วิวาลดี (Antonio Vivaldi ค.ศ. 1676 - 1741) เพลงที่เขาเขียนส่วนใหญ่ เป็นเพลงประเภท คอนแชร์โต (Concerto) ซึ่งเป็นเพลงสำหรับเดี่ยวคนเดียว ส่วนเพลงที่มีเดี่ยว 2 – 4 คน เพลงประเภทหลังนี้เรียกว่า คอนแชร์โต กรอสโซ (Concerto Grosso) ยุคนี้เป็นยุคที่ริเริ่มเขียนอุปรากร (Opera) ขึ้น ผู้ที่มีชื่อเสียงยิ่งใหญ่ทางด้านอุปรากร (Opera) คือ มอนทิเวอร์ดี (Claudio Monteverdi ค.ศ. 1567 - 1643)
นักประพันธ์เ พลงที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในยุคนี้เป็นชาวเยอรมัน คือ เจ. เอส. บาค (Johann Sebastian Bach ค.ศ. 1685 - 1750) และ แฮนเดล (George Frideric Handel ค.ศ. 1685 - 1759) สำหรับบาคนั้น ได้แต่งเพลงต่างๆ ไว้เป็นจำนวนหลายร้อยเพลง และยังได้วางรากฐานทางดนตรีไว้มากจนได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของดนตรีสากล” และส่วนแฮนเดลนั้น ใช้ชีวิตอยู่ในอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เขาได้แต่งเพลงร้องและเพลงบรรเลงไว้เป็นจำนวนมากเช่นกัน เพลงร้องที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกเพลงหนึ่ง คือ Messiah (ไทยออกเสียงว่า มิซซา) เป็นเพลงบรรยายถึงประวัติของพระเยซู เพลงนี้ใช้แสดงกันในฤดูคริสต์มาสทั่วทุกมุมโลก สำหรับเพลงบรรเลงนั้นได้เขียน คอนแชร์โต กรอสโซ (Concerto Grosso) ซึ่งเพลงไพเราะมาก ทั้งหมด 12 เพลง ที่วงดนตรีนิยมบรรเลงกันจนกระทั่งทุกวันนี้มี 2 เพลง คือ Water Music และ Fireworks Music
ในสมัยบาโรก ดนตรีศาสนาในแบบแผนต่าง ๆ เช่น ออราทอริโอ แมส พาสชัน คันตาตา
ในศาสนา (Church Cantata) คีตกวีก็นิยมแต่งกันไว้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แมสใน บี ไมเนอร์”
ของ เจ.เอส. บาค และออราทอริโอ เรื่อง “The Messiah” ของเฮนเดล จัดได้ว่าเป็นดนตรีศาสนาที่เด่นที่สุดของสมัยนี้
ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งของดนตรีสมัยบาโรกคือ การทำให้เกิด “ความตัดกัน”
(Contrasting) เช่น ในด้าน ความเร็ว – ความช้า ความดัง – ความค่อย การบรรเลงเดี่ยว – การ
บรรเลงร่วมกัน วิธีเหล่านี้พบในงานประเภท ตริโอโซนาตา (Trio Sonata) คอนแชร์โต กรอซโซ
(Concerto Grosso) ซิมโฟเนีย (Simphonia) และคันตาตา (Cantata) ตลอดสมัยนี้คีตกวีมิได้
เขียนบทบรรเลงส่วนใหญ่ของเขาขึ้นอย่างครบบริบูรณ์ ทั้งนี้เพราะเขาต้องการให้ผู้บรรเลงมีโอกาสแสดงความสามารถการเล ่นโดยอาศัยคีตปฏิภาณหรือการด้นสด (Improvisation) และการประดิษฐ์เม็ดพราย (Ornamentation) ในแนวของตนเอง
ในสมัยบาโรกนี้การบันทึกตัวโน้ตได้รับการพัฒนามาจนเป็นลักษณะกา รบันทึกตัวโน้ตที่
ใช้ในปัจจุบัน คือการใช้บรรทัด 5 เส้น การใช้กุญแจซอล (G Clef) กุญแจฟา (F Clef) กุญแจอัลโต
และกุญแจเทเนอร์ (C Clef) มีการใช้สัญลักษณ์ตัวโน้ตและตัวหยุดแทนความยาวของจังหวะและตำแห น่งของตัวโน้ตบรรทัด 5 เส้น แทนระดับเสียงและยังมีตัวเลขบอกอัตราจังหวะมีเส้นกั้นห้องและสั ญลักษณ์อื่น ๆ เพื่อใช้บันทึกลักษณะของเสียงดนตรี ดังนี้
(ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535: 147)
ในศาสนา (Church Cantata) คีตกวีก็นิยมแต่งกันไว้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แมสใน บี ไมเนอร์”
ของ เจ.เอส. บาค และออราทอริโอ เรื่อง “The Messiah” ของเฮนเดล จัดได้ว่าเป็นดนตรีศาสนาที่เด่นที่สุดของสมัยนี้
ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งของดนตรีสมัยบาโรกคือ การทำให้เกิด “ความตัดกัน”
(Contrasting) เช่น ในด้าน ความเร็ว – ความช้า ความดัง – ความค่อย การบรรเลงเดี่ยว – การ
บรรเลงร่วมกัน วิธีเหล่านี้พบในงานประเภท ตริโอโซนาตา (Trio Sonata) คอนแชร์โต กรอซโซ
(Concerto Grosso) ซิมโฟเนีย (Simphonia) และคันตาตา (Cantata) ตลอดสมัยนี้คีตกวีมิได้
เขียนบทบรรเลงส่วนใหญ่ของเขาขึ้นอย่างครบบริบูรณ์ ทั้งนี้เพราะเขาต้องการให้ผู้บรรเลงมีโอกาสแสดงความสามารถการเล ่นโดยอาศัยคีตปฏิภาณหรือการด้นสด (Improvisation) และการประดิษฐ์เม็ดพราย (Ornamentation) ในแนวของตนเอง
ในสมัยบาโรกนี้การบันทึกตัวโน้ตได้รับการพัฒนามาจนเป็นลักษณะกา รบันทึกตัวโน้ตที่
ใช้ในปัจจุบัน คือการใช้บรรทัด 5 เส้น การใช้กุญแจซอล (G Clef) กุญแจฟา (F Clef) กุญแจอัลโต
และกุญแจเทเนอร์ (C Clef) มีการใช้สัญลักษณ์ตัวโน้ตและตัวหยุดแทนความยาวของจังหวะและตำแห น่งของตัวโน้ตบรรทัด 5 เส้น แทนระดับเสียงและยังมีตัวเลขบอกอัตราจังหวะมีเส้นกั้นห้องและสั ญลักษณ์อื่น ๆ เพื่อใช้บันทึกลักษณะของเสียงดนตรี ดังนี้
(ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535: 147)
ยุคคลาสสิก เริ่มประมาณ ค.ศ. 1750 – 1820 สมัยนี้ดนตรีได้เริ่มออกมาแพร่หลายถึงประชาชนมากยิ่งขึ้น สถาบันศาสนามิได้เป็นศูนย์กลางของดนตรีอีกต่อไป ดนตรีในยุคนี้ถือว่าเป็นดนตรีบริสุทธิ์ (Pure Music หรือ Absolute Music) เพลงต่างๆ นิยมแต่งขึ้นเพื่อการฟังโดยเฉพาะ มิใช่เพื่อประกอบพิธีศาสนาหรือพิธีอื่นๆ เป็นระยะเวลาแห่งดนตรีเพื่อดนตรี เพลงส่วนใหญ่เป็นเพลงบรรเลง เพื่อฟังความไพเราะของเสียงดนตรีอย่างแท้จริง เป็นลักษณะดนตรีที่ต้องใช้แสดงความสามารถในการบรรเลงมากขึ้น การประสานทำนองแบบโพลีโฟนีใช้น้อยลงไป การประสานทำนองแบบโฮโมโฟนีถูกนำมาใช้มากขึ้น มีการนำกฎเกณฑ์มาใช้ในการแต่งเพลงอย่างเคร่งครัด รวมทั้งนำเอาองค์ประกอบของดนตรีมาใช้อย่างครบถ้วน มีการกำหนดอัตราจังหวะ กำหนดให้จำนวนจังหวะสม่ำเสมอเท่ากันทุกห้อง การเขียนเพลงในยุคนี้สนใจความแตกต่าง (Contrast) การใช้จังหวะ มีทั้งจังหวะช้า และเร็ว สลับกันไปตามจำนวนของท่อนเพลงการเขียนทำนองเพลง มีการพัฒนาให้มีหลักเกณฑ์และมีความสมดุล เช่น ทำนองประโยคหนึ่งจะแบ่งเป็น 2 วรรค คือ วรรคถาม และวรรคตอบ ให้มีความยาวเท่าๆ กัน ด้านเสียงประสานนั้นก็ได้พัฒนาก้าวหน้าต่อไปอีก นำการเปลี่ยนบันไดเสียงในระหว่างบทเพลงมาใช้แล้วจึงกลับมาหาบัน ไดเสียงเดิมในตอนจบเพลง ในด้านน้ำเสียงนั้นยุคนี้ให้ความสนใจเป็นพิเศษ การจัดวงออร์เคสตรา ใช้เครื่องดนตรีครบทุกประเภท ได้มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีใหม่ๆ ที่ได้ใช้กันมาจนถึงปัจจุบันหลายเครื่องที่สำคัญที่สุด คือ เปียโน (Piano)เพลงที่นิยมแต่งก็พัฒนามาจากสมัยบาโรค แต่ได้มีการปรับปรุงให้ยิ่งใหญ่ขึ้น รวมทั้งเพลงประเภทอุปรากร โอราทอริโอ คอนแชร์โต โซนาตา และเพลงซิมโฟนี ซึ่งต่อมานิยมแต่งมากที่สุด คือเพลงซิมโฟนี
ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 มาจนถึงช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนส่วนใหญ่ในยุโรปมีความตื่นตัวในเรื่องประชาธิปไตยเหตุการณ์ที่ได้กระตุ้นเรื่องนี้เป็นอย่างมา กก็คือการปฏิวัติครั้งใหญ่ในฝรั่งเศสซึ่งเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1879 การรบครั้งสำคัญในสมัยนี้คือ สงครามเจ็ดปี (ค.ศ.1756-1763) สงครามฝรั่งเศสและอินเดีย
ในอเมริกาเกิดสงครามระหว่างอังกฤษและอาณานิคมอเมริกัน ซึ่งนำไปสู่การประกาศอิสรภาพ ของอเมริกันในปี 1776 และสงครามนโปเลียนใน ยุโรป ซึ่งเป็นผลให้เกิดคองเกรสแห่งเวียนนาขึ้นในปี ค.ศ. 1814 สมัยนี้ในทางปรัชญาเรียนกว่า “ยุคแห่งเหตุผล” Age of Reason (ไขแสง ศุขวัฒนะ,2535:102) หลังการตายของ เจ.เอส.บาค (J. S. Bach) ในปี 1750 ก็ไม่มีผู้ประสบความสำเร็จในรูปแบบของดนตรีแบบบาโรก (Baroque style) อีก มีการเริ่มของ The (high) Classical era ในปี 1780 เราเรียกช่วงเวลาหลังจากการตายของ เจ.เอส.บาค (J. S. Bach1730-1780) ว่า The early classical period ดนตรีในสมัยบาโรกนั้นมีรูปพรรณ (Texture) ที่ยุ่งยากซับซ้อนส่วนดนตรีในสมัย คลาสสิกมีลักษณะเฉพาะคือมี โครงสร้าง (Structure) ที่ชัดเจนขึ้น การค้นหาความอิสระในด้าน วิชาการ เป็นหลักสำคัญที่ทำให้เกิดสมัยใหม่นี้ ลักษณะของดนตรีในสมัยคลาสสิกที่เปลี่ยนไปจากสมัยบาโรกที่เห็นได ้ชัด คือ การไม่นิยมการสอดประสานของทำนองที่เรียกว่าเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) หันมานิยมการเน้นทำนอง หลักเพียงทำนองเดียวโดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะขึ้น คือการใส่เสียงประสาน ลักษณะของบาสโซ คอนตินูโอเลิกใช้ไปพร้อม ๆ กับการสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น (Improvisation) ผู้ประพันธ์นิยมเขียนโน้ตทุกแนวไว้ ไม่มีการปล่อยว่างให้ผู้บรรเลงแต่งเติมเอง ลักษณะของบทเพลงก็เปลี่ยนไปเช่นกัน
ศูนย์กลางของสมัยคลาสสิกตอนต้นคือเมืองแมนฮีมและกรุงเวียนนาโรง เรียนแมนฮีมจัดตั้ง
ขึ้นโดย Johann Stamitz ซึ่งเป็นนักไวโอลิน และเป็นผู้ควบคุม Concert ของ The Mannheim
orchestra เขาเป็นผู้พัฒนาสไตล์ใหม่ของการประพันธ์ดนตรี (Composition) และ การเรียบเรียงสำหรับวงออร์เคสตรา (Orchestration) และยังพัฒนา The sonata principle in 1st movement of symphonies, second theme of Stamitz ตรงกันข้ามกับ 1st theme ซึ่ง Dramatic, striking หรือ Incisive (เชือดเฉือน) เขามักเพิ่มการแสดงออกที่เป็นท่วงทำนองเพลงนำไปสู่บทเพลงใน ซิมโฟนี การเปลี่ยนความดัง - ค่อย (Dynamic) อย่างฉับพลันในช่วงสั้น ๆ ได้รับการแสดงครั้งแรกโดย Manheim orchestra เขายังขยาย Movement scheme of symphony จากเร็ว-ช้า-เร็ว เป็น เร็ว – ช้า – minuet – เร็ว (minuet คือดนตรีบรรเลงเพื่อการเต้นรำคู่ในจังหวะช้า 3 จังหวะ )
ใช้ครั้งแรกโดย GM Monn แบบแผนนี้กลายเป็นมาตรฐานในซิมโฟนีและ สตริงควอเตท (String quartet )
สมัยคลาสสิกนี้จัดได้ว่าเป็นสมัยที่มีการสร้างกฎเกณฑ์รูปแบบในท ุก ๆ อย่างเกี่ยวกับการ
ประพันธ์เพลงซึ่งในสมัยต่อ ๆ มาได้นำรูปแบบในสมัยนี้มาใช้และพัฒนาให้ลึกซึ้งหรือแปรเปลี่ยนไ ป
เพลงในสมัยนี้เป็นดนตรีบริสุทธิ์ส่วนใหญ่ กล่าวคือ เพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเป็นเพลงซึ่งแสดงออกถึงลักษณะของดนตรีแท้ ๆ มิได้มีลักษณะเป็นเพลงเพื่อบรรยายถึงเหตุการณ์หรือเรื่องราวใด ๆ ซึ่งเป็นลักษณะที่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีการใส่หรือแสดงอารมณ์ของ ผู้ประพันธ์ลงในบทเพลงมากนัก ลักษณะของเสียงที่ดัง - ค่อย ค่อย ๆ ดัง และค่อย ๆ เบาลง ดนตรีสไตล์เบา ๆ และสง่างามของโรโคโค (Rococo Period ) ซึ่งตรงข้ามกับสไตล์ที่เคร่งเครียดในสมัยบาโรก โดยปกติมันเป็น Lightly accompanied pleasing music ด้วย Phrasing ที่สมดุลย์กัน (JC Bach, Sammartini, Hasse, Pergolesi ) Galant เหมือนกับ โรโคโค (Rococo Period ) ในแนวคิดของ Heavy ornamentation แต่ต่างกันตรงที่ลักษณะดนตรีมีโครงสร้างและประโยคเพลงที่มีแบบแ ผนและรูปแบบที่มีความอ่อนไหวง่าย พยายามแสดงออกถึงความรู้สึกที่แท้จริงและเป็นธรรมชาติ แทรกความโรแมนติกของศตวรรษที่ 19 เข้าไป จุดหมายเพื่อแสดงความเป็นตัวของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีของ CPE Bach และ WF Bach ด้วย
ความหมายของคำว่า "คลาสสิกซิสซึ่ม" (Classicism)
คำว่า “คลาสสิก” (Classical) ในทางดนตรีนั้น มีความหมายไปในทางเดียวกันกับความหมายของอุดมคติของลัทธิ Apollonian ในสมัยของกรีกโบราณ โดยจะมีความหมายที่มีแนวคิดเป็นไปในลักษณะของความนึกถึงแต่สิ่ง ที่เป็นภายนอกกาย สภาพการเหนี่ยวรั้งทางอารมณ์ ความแจ่มแจ้งในเรื่องของรูปแบบ และการผูกติดอยู่กับหลักทางโครงสร้างอย่างใดอย่างหนึ่ง อุดมคติทางคลาสสิกในทางดนตรีนั้นมิได้จำกัดอยู่แต่ในช่วงตอนปลา ยของศตวรรษที่ 18 เท่านั้น อุดมคติ
ทางคลาสสิกดังกล่าว ยังเคยมีปรากฏมาก่อนในช่วงสมัยอาร์สอันติควา (Ars Antiqua) และมีเกิดขึ้นให้พบเห็นอีกในบางส่วนของงานประพันธ์การดนตรีในศต วรรษที่ 20
พวกคลาสสิกนิยม (Classicism) ก็มีในดนตรีในช่วงตอนปลาย ๆ ของสมัยบาโรก ซึ่งเป็นดนตรีสไตล์ของบาค (J.S. Bach) และของฮัลเดล (Handel) เช่นกัน ในช่วงของความเป็นคลาสสิกนิยมนั้นมี 2 ช่วง คือ ในตอนต้นและใช้ช่วงตอนปลายของศตวรรษที่ 18 และในช่วงตอนปลายของศตวรรษที่ 18 มักจะเรียกกันโดยทั่ว ๆ ไปว่า เป็นสมัยเวียนนิสคลาสสิก (Viennese Classical Period) เพื่อให้ง่ายต่อการระบุความแตกต่างระหว่างคลาสสิกตอนต้นและตอนป ลายนั้นเอง และที่เรียกว่าเป็นสมัยเวียนนิสคลาสสิก ก็เพราะเหตุว่าช่วงเวลานั้นกรุงเวียนนาของออสเตรียถูกถือว่าเป็ นเมืองศูนย์กลางหลักของการดนตรีในสมัยนั้น
ลักษณะทั่วๆไปของการดนตรีในสมัยคลาสสิก
โดยทั่วไปแล้วดนตรีคลาสสิกสามารถตีความหมายออกมาได้ คือ มองออกจากตัว(Objective) แสดงถึงการเหนี่ยวรั้งจิตใจทางอารมณ์ สละสลวย การขัดเกลาให้งดงามไพเราะ และสัมผัสที่ไม่ต้องการความลึกล้ำนัก นอกจากความหมายดังกล่าวแล้วคลาสสิกยังมีความหมาย ที่อาจกล่าวไปในเรื่องของประมวลผลงานก็ได้ กล่าวคือ ผลงานทางดนตรี บทบรรเลงที่เห็นได้ชัดว่ามีมากขึ้นกว่าผลงานทางการประพันธ์โอเป ร่าและฟอร์มอื่น ๆ
สรุปลักษณะสำคัญของดนตรีสมัยคลาสสิก (ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535 :105)
1. ฟอร์ม หรือคีตลักษณ์ (Forms) มีโครงสร้างที่ชัดเจนแน่นอน และยึดถือปฏิบัติมาเป็นธรรมเนียมนิยมอย่างเคร่งครัดเห็นได้จากฟ อร์มโซนาตาที่เกิดขึ้นในสมัยคลาสสิก
2. สไตล์ทำนอง (Melodic Style) ได้มีการพัฒนาทำนองชนิดใหม่ขึ้นมีลักษณะที่เป็นตัวของตัวเองและ รัดกุมกะทัดรัดมากขึ้น มีความแจ่มแจ้งและความเรียบง่ายซึ่งมักจะทำตามกันมา สไตล์ทำนองลักษณะนี้ได้เข้ามาแทนที่ทำนองที่มีลักษณะยาว ซึ่งมีสไตล์ใช้กลุ่มจังหวะตัวโน้ตในการสร้างทำนอง (Figuration Style) ซึ่งนิยมกันมาก่อนในสมัยบาโรก ในดนตรีแบบ Polyphony
3. สไตล์แบบโฮโมโฟนิค (Homophonic Style) ความสำคัญอันใหม่ที่เกิดขึ้นแนวทำนองพิเศษในการประกอบทำนองหลัก (Theme) ก็คือลักษณะพื้นผิวที่ได้รับความนิยมมากกว่าสไตล์พื้นผิวแบบโพล ี่โฟนีเดิม สิ่งพิเศษของลักษณะดังกล่าวนั่นก็คือ Alberti bass ซึ่งก็คือลักษณะการบรรเลงคลอประกอบแบบ Broken Chord ชนิดพิเศษ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น