การขับร้องเพลงไทย

        การขับร้อง  เป็นการเปล่งเสียงร้องที่มีทำนอง  มีจังหวะแน่นอน  และมีบทร้องในการขับร้องโดยการขับร้องนั้นเมื่อแยกคำทั้ง ๒ ออกจากกัน  แต่ละคำก็จะมีความหมายในตัวเอง ดังนี้
        การขับ  หมายถึง การเปล่งเสียงสูง - ต่ำ เป็นทำนองดำเนินไปตามบทเพลงหรือบทกวีนิพนธ์เป็นการดำเนินอย่างลำนำ  คือ เปล่งเสียงร้องของบทเพลงให้เป็นทำนอง  ถือบทแห่งถ้อยคำเป็นสำคัญ ความสั้น - ยาวของเสียงและจังหวะจึงไม่กำหนดให้แน่นอน เช่น การแหล่ การขับกล่อม การขับเสภา  การขับลำ การขับซอ การแอ่ว  เป็นต้น
      การร้อง หมายถึง การเปล่งเสียงออกมาเป็นทำนองตามบทเพลง  มีจังหวะแน่นอน  ในวงการดนตรีไทยถือว่าส่วนสำคัญของการร้องเพลง คือ ทำนองในบทเพลงที่มีบทร้องที่เป็นถ้อยคำจึงต้องปรับเข้าหาทำนอง  ซึ่งจะเห็นตัวอย่างได้จากการขับร้องเพลงไทยประเภทต่างๆ

      ๑. ประเภทของการขับร้องเพลงไทย
      การขับร้องเพลงไทย สามารถจัดแบ่งได้หลายประเภทแตกต่างกันออกไป โดยจะขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง  สำหรับในที่นี้จะจัดแบ่งประเภทการขับร้องออกเป็น ๒ ประเภท คือ
      ๑) การขับร้องเดี่ยว  เป็นการขับร้องอิสระคนเดียว  มิได้หมายถึงการขับร้องหรือบรเลงเดี่ยว เพื่อ                แสดงความสามารถ หรือเทคนิคพิเศษแต่อย่างใด
      ๒) การขับร้องหมู่  เป็นการร้องเพลงหร้อมกันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป  ซึ่งมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ การร้อง                ทำนองเดียวกัน เป็นการขับร้องเพลงที่มีเนื้อร้องและทำนองเพลงเดียวกัน ดังนั้นผู้ขับร้องทุกคน              ต้องร้องให้มีระดับเสียงเท่ากัน เนื้อร้อง ทำนองเพลงจะต้องถูกต้องแม่นยำและพร้อมเพรียงกัน                ส่วน  การขับร้องหมู่อีกลักษณะหนึ่งคือ การร้องประสานเสียง เป็นการร้องเพลง เพลงเดียวกัน แต่            ร้องคนละแนว หรือคนละทำนองตามที่ได้เรียบเรียงเสียงประสานไว้ซึ่งการขับร้องหมู่นี้อาจจะมี                ดนตรีประกอบ หรือไม่มีดนตรีประกอบก็ได้

     ๒.หลักการขับร้องเพลงไทย
      ในการขับร้องเพลงไทยมีความแตกต่างจากการขับร้องเพลงสากลตรงที่การขับร้องเพลงไทยมีลักษณะเด่นอยู่ที่มีการเอื้อนจากทำนองสั้นๆ ง่ายๆ จนคล่องก่อน  แล้วจึงเริ่มต่อเพลงที่มีทำนองเอื้อนเล็กน้อย  จากนั้นจึงค่อยๆต่อเพลงที่มีทำนองเอื้อนยาวขึ้นตามลำดับ
      จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่า การขับร้องโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ การขับร้องเดี่ยวและการขับร้องหมู่ ดังนั้นจึงขอแยกอธิบายหลักการขับร้องเพลงไทยเป็น ๒ ประเภทตามประเภทของการขับร้อง ดังนี้
       ๑) หลักการขับร้องเดี่ยวเบื้องต้น   ผู้ขับร้องควรฝึกการออกเสียงให้เต็มเสียง  แบ่งระยะการหายใจ  ผู้ขับร้องสามารถกำหนดระดับเสียงได้ตามต้องการ  แต่ต้องรักษาระดับเสียงใ้หเป็นไปตามทำนองที่ถูกต้อง  ไม่ให้เพี้ยนสูงขึ้น หรือต่ำลง และต้องตรงตามจังหวะหน้าทับและจังหวะฉิ่ง  รักษาความยาว หรือสัดส่วนของจังหวะให้เท่าๆกัน ทั้งนี้  ผู้ที่จะขับร้องเพลงไทยได้ดีต้องระมัดระวังการออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี เช่น อักษรควบกล้ำ ตัว  ร,ล การแบ่งคำ  วรรคตอน  ตลอดจนตั้งใจ  ขยันหมั่นฝึกขับร้องซ้ำเพลงละหลายๆเที่ยว เพื่อให้เกิดความแม่นยำด้วย

       ๒) หลักการขับร้องหมู่เบื้องต้น  ที่ผู้เรียนควรฝึกปฏิบัติจะมีความคล้ายคลึงกับขับร้องเดี่ยว  แต่มีหลักการที่ควรเน้นย้ำ คือ ผู้ขับร้องควรฝึกออกเสียงให้เต็มเสียง  แต่มิใช่การตะโกนหรือออกเสียงดังเกินกว่าผู้อื่น  ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงความกลมกลืนของเสียงทั้งหมู่คณะและขับร้องให้มีระดับเสียงเดียวกัน  ไม่ว่าจะขึ้นสูง หรือลงต่ำ  ต้องขึ้น หรือลงให้เหมือนกัน
      ทั้งนี้ การฝึกหัดขับร้องหมู่  ผู้ขับร้องทุกคนต้องสามัคคีกัน  ไม่ชิงดีชิงเด่นกัน  ตั้งใจขยันหมั่นฝึกขับร้องซ้ำหลายๆเที่ยว  เพื่อความพร้อมเพรียงกัน

      ๓. เทคนิคในการขับร้องเพลงไทย
     การขับร้องเพลงไทยให้ไพเราะเพราะพริ้งนั้น  นอกจากการขับร้องให้ถูกต้องตามทำนอง  จังหวะและเนื้อร้องของเพลงแต่ละเพลงแล้ว  ผู้ขับร้องจำเป็นต้องใส่เทคนิคต่างๆ ในการขับร้องเพลงไทยลงไปด้วย เพื่อเพิ่มเสน่ห์และความน่าสนใจให้กับบทเพลง  ซึ่งเทคนิคสำคัญในการขับร้องเพลงไทยที่ผู้เรียนควรทราบ จะแบ่งตามประเภทของการขับร้องเพลงไทยได้ดังนี้
    ๑) เทคนิคในการขับร้องเดี่ยว  ผู้ขับร้องต้องคำนึงถึงหลักการขับร้องอย่างเคร่งครัดในตอนขึ้นต้นบทร้องต้องตั้งเสียงให้ถูกต้อง  มิฉะนั้นเมื่อร้องไปจนหมดท่อนเพลงแล้วดนตรีบรรเลงรับจะทำให้เสียงเพี้ยน  ไม่ไพเราะ  ทำให้เสียอรรถรสของทำนองเพลงไป  ควรร้องให้เต็มเสียงรู้จักตกแต่งทำให้ไพเราะขึ้น ตามความสามารถและน้ำเสียงของตนเอง

    ๒) เทคนิคในการขับร้องหมู่  จะเน้นความพร้อมเพรียง  ผู้ขับร้องไม่สามารถตกแต่งทำนอง หรือลีลาให้แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ได้  การหลบเสียงสูง - ต่ำ การเอื้อน รวมทั้งการแบ่งถ้อยคำ  วรรคตอน ต้องเหมือนกันทุกคนและต้องมีความแม่นยำในทำนองทางร้องเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ผู้ขับร้องทุกคนควรใส่อารมณ์ตามบทร้องนั้นๆ ให้คล้อยตามกันด้วย









ผลิตภัณฑ์ WINKWHITE
 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล