นาฏศิลป์ไทย

นาฎศิลป์ คือ การร่ายรำที่มนุษย์ได้ปรุงแต่งจากลีลาตามธรรมชาติให้สวยสดงดงาม โดยมีดนตรีเป็นองค์ประกอบในการร่ายรำ

         ประเภทของนาฏศิลป์ไทย
1.รำ หมายถึง ศิลปะแห่งการรายรำที่มีผู้แสดง ตั้งแต่ 1-2 คน เช่น การรำเดี่ยว การรำคู่ การรำอาวุธ เป็นต้น มีลักษณะการแต่งการตามรูปแบบของการแสดง ไม่เล่นเป็นเรื่องราวอาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้ากับทำนองเพลงดนตรี มีกระบวนท่ารำ โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้น ๆ เช่น รำเพลงช้าเพลงเร็ว รำแม่บท รำเมขลา –รามสูร เป็นต้น

2. ระบำ หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้เล่นตังแต่ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะการแต่งการคล้ายคลึงกัน กระบวนท่ารายรำคล้าคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งการนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระนาง-หรือแต่งแบบนางในราชสำนัก เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤดาภินิหาร ระบำฉิ่งเป็นต้น

3. ฟ้อน  หมายถึง การแสดงพื้นบ้านประจำท้องถินของภาคเหนือ เช่น การฟ้อนเล็บ   ฟ้อนเทียน  ฟ้อนสาวไหม  และเป็นการแสดงพื้นบ้านประจำท้องถิ่นของภาคอีสาน เช่น ฟ้อนผูเไท  ฟ้อนลำเพลิน  ฟ้อนตังหวาย

4. ละคร  เป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่ารำ เข้าบทร้อง ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ มีแบบแผนการเล่นที่เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า ละครโนราชาตรี ละครนอก ละครใน เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ พระสุธน สังข์ทอง คาวี อิเหนา อุณรุท นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า การแต่งการแบบยืนเครื่อง นิยมเล่นในงานพิธีสำคัญและงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์
     ซึ่งการละคร แบ่งเป็นประเภท คือ ละครรำและละครที่ไม่ใช่ละครรำ
     ละครรำ แบ่งเป็น 2 แบบคือ แบบดั้งเดิมและแบบปรับปรุงขึ้นใหม่
     แบบดั้งเดิม ได้แก่ 
       - ละครชาตรี เป็นละครที่เก่าแก่ที่สุด เป็นละครรำที่มีที่จากภาคใต้ เดิมเรียก ละครโนรา
       - ละครนอก  เป็นละครที่ชาวบ้านเล่นเพื่อความสนุกสนาน การดำเนินเรื่องค่อยข้างเร็ว เดิมมีตัวละคร คือ พระ นาง  และ ตัวตลก
      - ละครใน เป็นละครที่เล่นในเขตพระราชฐานเน้นความถูกต้องตามแบบแผน ประเพณี เดิมให้เฉพาะผู้หญิงแสดง เนื่องจากกลัวว่าจะมีไส้ศึกปลอมตัวเข้าไปปลงพระชนย์ 
   แบบปรับปรุงใหม่  ได้แก่
      - ละครดึกดำบรรพ์ เป็นละครที่ได้รูปแบบมาจากละครโอเปราของตะวันตก และตั้งชื่อตาม โรงละครที่แสดงเป็นครั้งแรก  คือ โรงละครดึกดำบรรพ์
     - ละครพันทาง เป็นละครที่มีตัวละครหลากหลายเชื้อชาติ เช่น พม่า  จีน มอญ ลาว เป็นต้น เรื่องที่นิยมแสดงคือ ราชาธิราช   สามก๊ก  เป็นต้น
     - ละครเสภา คือละครที่ดำเนินเรื่องด้วยขับเสภา และมีเครื่องกำกับจังหวะ คือ กรับเสภา

    ละครที่ไม่ใช่ละครรำ   ได้แก่
    - ละครพูด
    - ละครร้อง
    - ละครเพลง
    - ละครเวที
   - ละครวิทยุ
   - ละครโทรทัศน์

องค์ประกอบของละคร  ได้แก่
  1. เรื่อง
  2. เนื้อเรื่องโดยสรุป
  3. ลักษณะนิสัยของตัวละคร
  4. บรรยากาศ

5. โขน เป็นการแสดงนาฎศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์ คือ ผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่เรียกว่า หัวโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์ การเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ เรื่องที่นิยมนำมาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ แต่งการเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่าการแต่งกายแบบ “ยื่นเครื่อง” มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะพิธีสำคัญได้แก่ งานพระราชพิธีต่าง ๆ




WINKWHITE

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)