มาตราเสียงของดนตรีไทย

  มาตราเสียงของดนตรีไทย
   ระดับเสียงหลักของดนตรีไทยมีทั้งหมด 7 เสียง คือ โด เร มี ฟา ซอล  ลา ที เช่นเดียวกับดนตรีสากล ทุกระดับเสียงมีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็มเท่าๆกันทุกเสียงต่างจากดนตรีสากลคือ ไม่มีระยะครึ่งเสียง ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบดังต่อไปนี้
ระดับเสียงดนตรีสากล
      #           #                   #             #          # 
ด  ด     ร     ร     ม    ฟ    ฟ    ซ     ซ    ล    ล    ท       ด

ระดับเสียงดนตรีไทย

ด     ร     ม     ฟ      ซ      ล      ท      ด

ทำนองเพลงของดนตรีไทย
   ทำนอง   หมายถึง  เสียงระดับต่างๆ มีทั้งสูง    ต่ำ  สั้น  ยาว ที่ผู้ประพันธ์ได้นำมาเรียบเรียงให้สอดประสานกันอย่างกลมกลืน ไพเราะ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ทำนองบรรเลง และ ทำนองร้อง

 1. ทำนองบรรเลง (ทางเครื่อง)  หมายถึง ทำนองที่ผู้ประพันธ์ ประพันธ์ขึ้นสำหรับให้เครื่องดนตรีต่างๆบรรเลง โดยผู้ประพันธ์จะประพันธ์ทำนองหลัก (ทางฆ้อง) ขึ้นก่อน จากนั้น ผู้บรรเลงเครื่องดนตรีอื่นๆ จะพลิกแพลงหรือแปรทำนองให้เหมาะสมกับเครื่องดนตรีแต่ละชนิด

2. ทำนองร้อง (ทางร้อง) หมายถึง ทำนองที่ประพันธ์ขึ้นสำหรับให้ผู้ขับร้อง ร้องให้กับดนตรีรับ ประกอบด้วยทำนองที่ผู้ประพันธ์ ประพันธ์ขึ้น โดยปกติทำนองร้องและทำนองบรรเลงจะมีความยาวเท่ากัน ยกเว้นเพลงทยอยหรือเพลงที่มีลูกโยนทำนองร้องจะสั้นกว่าทำนองรับ 
   เนื่องด้วยคำในภาษาไทยมีการใช้เสียงวรรณยุกต์ ทำให้ความหมายของคำแตกต่างกันออกไป เช่น คำว่า ม้า ถ้าร้องโดยคำนึงว่าให้ตรงเสียงหลักของเพลง อาจจะออกมาเป็น  มา หรือ หมา  ได้  ทำให้ความหมายเปลี่ยนไป ดังนั้นทำนองร้องจึงจำเป็นต้องคำนึงเสียงหลักและความหมายไปพร้อมๆกัน

จังหวะของดนตรีไทย
 จังหวะ หมายถึง การแบ่งช่วงระยะความสั้น  ยาวของทำนองเพลงให้มีสัดส่วนเท่าๆกัน โดยใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่  ฉิ่ง  ฉาบ กรับ  โหม่ง  และกลองต่างๆเป็นเครื่องวัด แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 3 ประเภท คือ
     1. จังหวะสามัญ  หมายถึง จังหวะที่ใช้ยึดเป็นหลักในการขับร้องหรือบรรเลงซึ่งกำหนดเป็นช้าหรือ เร็ว ของจังหวะ
     2. จังหวะฉิ่ง  หมายถึง จังหวะความสั้น ยาว เร็ว  ช้า ที่กำหนดโดยฉิ่ง จังหวะฉิ่ง ที่ใช้ในการบรรเลงแบ่งเป็น 3 อัตราจังหวะ ได้แก่ สามชั้น (ช้า)    สองชั้น (ปานกลาง)  และชั้นเดียว (เร็ว)


      3. จังหวะหน้าทับ หมายถึง จังหวะความสั้น  ยาว  เร็ว หรือช้า ที่กำหนดโดยเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง เช่น โทน  รำมะนา  กลองแขก  ตะโพน   กลองทัด เป็นต้น    จังหวะะหน้าทับสิ่งที่บ่งบอกความสั้น   ยาว   อารมณ์ และรูปแบบของเพลง  จังหวะหน้าทับหลักที่นิยมใช้กับเพลงไทยมี 2 ประเภท  คือ หน้าทับปรบไก่ และหน้าทับสองไม้
          นอกจากนี้ยังมีหน้าทับพิเศษที่ใช้สำหรับประกอบเพลงที่มีลักษณะพิเศษซึ่งไม่สามารถใช้หน้าทับปรบไก่หรือ สองไม้ได้ เป็นเพลงที่มีจังหวะผสม เช่น เพลงชมตลาด เพลงฉิ่ง เพลงเชิด เพลงสำเนียงภาษาต่างๆ 



WINKWHITE

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)