แนวทางการประพันธ์เพลงอย่างง่าย

           การประพันธ์เลงสากลนั้น ควรเริ่มต้นจากการประพันธ์เเพลงอย่างง่ายจนเกิดชำนาญแล้วจึงค่อยๆพัฒนาไประดับที่ยากขึ้นต่อไป โดยเริ่มาการประพันธ์ทำนองก่อนบทร้อง  เมื่อชำนาญแล้วจึงจะสามารถแต่งพร้อมกันได้ ในช่วงเริ่มต้นของการฝึกหัดประพันธ์เพลงให้นักเรียนใอัตราจังหวะ 2 แบบง่ายๆ คือ สองสี่
  และ สี่สี่     เป็นเครื่องหมายประจำจังหวะก่อน เมื่อชำนาญแล้วจึงใช้อัตราจังหวะอื่นๆ ต่อไป 
        องค์ประกอบพื้นฐานเใช้ในการประพันธ์เพลงที่จะกล่าวในที่นี้มอยู่ 3 ประการด้วยกัน คือ การเลือกจังหวะ การประพันธ์ทำนอง    และการประพันธ์บทร้อง ซึ่งองค์ปะกอบพื้นฐานที่กล่าวมารายละเอียดพอสังเขป ดังต่อไปนี้   
        
      1.  จังหวะ   บทเพลงที่เราได้ยินได้ฟังทุกวันนี้ สามารถแบ่งตามลักษณะของจังหวะทางดนตรีสากลได้เป็น 3 ประเภท คือเพลงอัตสองจังหวะ เพลงอัตราสามจังหวะ และเพลงอราสี่จังหวะ  เพลงแต่ละประเภทดังกล่าวจะให้อารมณ์และความรู้สึกในการฟังที่แตกต่างกัน กล่าวคือ เพลงอัตราสองจังหวะและเพลงอตราสี่จังหวะ ทั้งเพลงเร็วและเพลงช้า เป็นเพลงที่มีความสมดุลในตัวเองเปรียบเสมือนธรรมชาติของคนเราที่มีเท้าซ้ายและเท้าขวาใช้สำหรเดินก้าวต่อเนื่องกันไปอย่างสม่ำเสมอ 
          เพลงอัตสองจังหวะและเพลงสี่จังหวะนิยมมากในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะใเเพลงลงกิจกรรมของเด็กๆเพื่อสร้างความสนุกสนาน ร่าเริง ในเพลงของวัยรุ่น เพลงรัก เพลงประกอบการเต้น เพลงสถาบัน เพลงปลุกใจต่างๆ หากต้องการแต่งเพลงที่ให้ความสนุกสนานจึงควรเลือกใช้วจังหวะของเพลงประเภทนี้
        สำหรับเพลงอัตราสามจังหวะ  เป็นเพลงที่มีจงหวะที่ไม่สมดุลในตัวเอง จังหวะต่อเนื่องของเพลงประเภทนี้ให้ความรู้สึกคล้ายกับเรือที่โคลงไปมา  เพลงประเภทนี้ถ้าเป็นเพลงช้าจะให้ความรู้สึกยือยาด เนิบนาบ หากเป็นเพลงวจะให้ความรู้สึกที่สดชื่น  ชวนฝัน     จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าการเลือกใช้จังหวะที่ถูกต้องกับอารมณ์ของบทเพลงที่ต้อารประพันธ์จึงเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่ง

ตัวอย่างเพลงอัตราสองจังหวะ

                    

ตัวอย่างเพลงอัตราสามจังหวะ


ตัวอย่างเพลงอัตราสี่จังหวะ



         
        2. การประพันธ์ทำนองเพลง    นอกจากอัตราจังหวะจะมีส่วนในการกำหนดอารมณ์เพลงที่ต้องการแล้ว การประพันธ์ทำนองเพลงก็มีส่วนสำคัญใเรื่องของความไพเราะไม่น้อย  ในทางดนตรีสากลทำนองเพลงเกิดจากขั้นเสียงต่างๆ ที่อยู่ในบันไดเสียงใดบันไดเสียงหนึ่ง เสียงดังกล่าวเป็นกลุ่มเสียงที่จัดเรียงตัวกันอย่างเป็นระบบ ใช้ในการแต่งเป็นทำนองเพลงและทำเสียงประสาน
          ตัวอย่างทำนองเพลงในบันไดเสียงซี เมเจอร์  ในการเรียบเรียงทำนองเพลงโดยเริ่มเสียงแรกของเพลงด้วยเสียงขั้นที่ 1 คือเสียงโด หรือเสียงขั้นที่ 3 คือเสียงมี หรือขั้นที่ 5 คือเสียงซอล  ก็ได้ จบเสียงเพลงด้วยเสียงขั้นที่ 1 หรือเสียงขั้นที่ 8  เสียงโด

       เสียงขั้นต่างๆ จากบันไดเสียงเมเจอร์  ที่เรานำมาใช้ในการประพันธ์เพลงจะให้ทำนองเพลงที่สนุกสนาน ร่าเริง  หากต้องการประพันธ์เพลงที่ได้อารมณ์เศร้า  เหงา นักเรียนควรเลือกใช้บันไดเสียงอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า บันไดเสียงไมเนอร์  ซึ่งมีโครงสร้างแตกต่างไปจากบันไดเสียงเมเจอร์
         




                    เทคนิคพื้นฐานในการประพันธ์ทำนองเพลง มีดังต่อไปนี้
       1. เลือกใช้มาตราเสียง หรือบันเสียงที่เหมาะสมกับอารมณ์เพลงที่ต้องการ
       2. เลือกใช้ทิศทางดำเนินทำนองให้เหมาะสมกอารมณ์เพลง
       3. เลือกใช้ลักษณะการเคลื่อนที่ของขั้นคู่เสียงให้เหมาะสมกับอารมณ์เพลงและความสมดุลของทำนอง ซึ่งการเคลื่อนที่ของขั้นคู่เสียงจะหมายถึงการดำเนินทำนองจากตัวโน้ตหนึ่งไปยังตัวโน้ตหนึ่งที่อยู่ถัดไปตามลำดับทุกคู่เสียงในประโยคเดียวกัน


          3. การประพันธ์บทร้อง    คือ การร้อยเรียงถ้อยคำเป็น  ประโยคภาษา   บรรลุลงไปใน ประโยคเพลง  ให้จำนวนคำในประโยคภาษาเท่ากับจำนวนตัวโน้ตในประโยคเพลง ประโยคต่อประโยค
           การประพันธ์บทร้องต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
            1) การกำหนดสาระสำคัญของบทร้อง ก่อนการประพันธ์  ผู้ประพันธ์บทร้องต้องกำหนดสาระสำคัญก่อนว่าจะสื่อสารกับผู้ฟังในเรื่องใด เช่น เพลงบทนั้นเป็นเพลงรัก เพลงเศร้า เพลงร่าเริง เพลงวิชาการ เพลงปลุกใจ เป็นต้น
           2) สาระสำคัญของบทร้องต้องสอดคล้องกับบันไดเสีงและหมวดเสีงที่ใช้ประพันธ์ทำนอง เช่น หากทำนองเพลงใช้มาตราเสียงไดอะทอนิก หมวดเมเจอร์ สาระสำคัญของบทร้องควรเป็นเพลงที่ให้อารมณ์ร่าเริง  หากทำนองเพลงใช้มาตราเสียงไดอะทอนิก หมวดไมเนอร์ สาระสำคัญของบทร้องควรเป็นเพลงที่ให้อารมณ์เศร้า เป็นต้น
           3) บทร้องควรเป็นบทร้อยกรองที่เรียกว่า กลอนลำนำ มีจำนวน 4 วรรคเท่ากับจำนวนประโยคในท่อนหนึ่งๆของทำนองเพลงพอดี
           4) การเลือกถ้อยคำมาประพันธ์เป็นกลอนลำนำบรรจุลงในทำนองเพลงต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างแนวดำเนินทำนองกับเสียงวรรณยุกต์สามัญ เอก โท  ตรี หรือจัตวาและคำเป็น หรือคำตายด้วย

























































ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)