ดนตรีกับอาชีพทางด้านดนตรี

นักเรียนรู้จักบุคคลเหล่านี้หรือไม่ ?




















1. นักดนตรี
เป็นอาชีพที่แสดงความสามารถทางด้านทักษะดนตรีที่ดีเยี่ยมของศิลปิน มีความชำนาญในการบรรเลงดนตรี สามารถอ่านโน้ตเพลงได้อย่างคล่องแคล่ว เพื่อสื่อความไพเราะของบทเพลงตามที่นักประพันธ์เพลงได้สร้างสรรค์ไว้ ซึ่งนักดนตรีแต่ละคนอาจต้องผ่านการฝึกฝนที่แตกต่างกัน โดยบางรายฝึกจากครูหรือนักดนตรีที่มีประสบการณ์ บางรายเรียนดนตรีจากสถาบันการศึกษาดนตรีเอกชนทั่วไป บางรายเรียนดนตรีตามระบบในสถานศึกษา
นักดนตรีอาชีพจำนวนมากประสบความสำเร็จและมีรายได้ตอบแทนค่อนข้างสูง 






2. นักร้อง

เป็นอาชีพทางด้านดนตรีที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ศิลปินอย่างมาก ในบางรายเมื่อมีชื่อเสียงทางด้านการขับร้องแล้วยังมีโอกาสเข้าวงการละครและภาพยนตร์ด้วย ซึ่งช่วยเสริมให้ศิลปินเหล่านี้มีรายได้จากการนำเสนอผลงานการขับร้องมากยิ่งขึ้น บางรายกลายเป็นขวัญใจของประชาชน






3. นักเรียบเรียงเพลง และ นักเรียบเรียงเสียงประสาน
เป็นอาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญในวงการดนตรีโดยเฉพาะทางด้านดนตรีแนวตะวันตก นอกจากจะเป็นนักดนตรีแล้ว ยังต้องมีความรอบรู้ทางด้านทฤษฎีดนตรีด้วย โดยจะต้องมีความสามารถในการแยกแนวดนตรีแต่ละประเภท ทำสกอร์ (Score) เพลงได้อย่างชำนาญ
หน้าที่หลัก คือ การนำเพลงมาเรียบเรียงตามองค์ประกอบของดนตรีให้เหมาะสมกับการบรรเลงของวงดนตรีลักษณะต่างๆ 
















4.นักประพันธ์เพลง
¢เป็นอาชีพของนักดนตรีที่ต้องใช้จินตนาการและการสร้างสรรค์
¢ทำหน้าที่ ประพันธ์เพลงต่างๆ เช่น เพลงลูกกรุง เพลงไทยสากล เพลงลูกทุ่ง

¢คุณสมบัติของคนที่จะเป็นนักประพันธ์เพลงที่ดีต้องมีความสามารถในการเล่นดนตรีเป็นอย่างดี  มีความรอบรู้ในทฤษฎีดนตรี รู้และชำนาญโครงสร้างทางดนตรี สามารถบันทึกโน้ตและอ่านโน้ตดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว มีความสามารถในการประพันธ์คำร้อง เป็นผู้ที่ใช้ภาษาได้ดี มีความสามารถทางวรรณศิลป์















5.นักอำนวยเพลง

¢นักอำนวยเพลง หรือวาทยกร (Conductor) เป็นอาชีพทางด้านดนตรีอีกอาชีพหนึ่งที่เป็นที่รู้จักและประสบความสำเร็จ ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก  คนไทยที่ประสบความสำเร็จในฐานะนักอำนวยเพลงหรือวาทยกร เช่น พลเรือตรีวีระพันธ์   วอกลาง , บัณฑิต อึ้งรังสี
¢ก่อนจะก้าวสู่อาชีพนี้ได้ต้องผ่านการฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรี เรียนรู้ทำนองเพลง  อารมณ์เพลง รวมทั้งศึกษาวัตถุประสงค์ของนักประพันธ์เพลง
¢บทบาท คือ กำกับและควบคุมวงดนตรีขนาดใหญ่ให้ดำเนินการบรรเลงได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ 


6.ครูดนตรี
¢เป็นอาชีพที่มีความสำคัญมากของวงการดนตรี เพราะครูดนตรีทำหน้าที่ที่ถ่ายทอดความรู้และทักษะกระบวนการทางดนตรีให้กับผู้เรียนดนตรีเป็นจำนวนมาก
¢ครูดนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ในสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
¢ครูดนตรีเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติเครื่องดนตรี หลักวิชาดนตรี มีความชำนาญในการสอน สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรีให้แก่ศิษย์ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

7.นักวิชาการดนตรี
¢มีความหมายครอบคลุมถึงวิจัยดนตรี  นักวิชาการดนตรีมีบทบาทอย่างมากในการศึกษาความรู้เกี่ยวกับดนตรี เพื่อเสนอองค์ความรู้ ให้ข้อมูลทางด้านดนตรีและส่วนต่างๆที่อยู่รายรอบแก่ระบบการศึกษาวิชาดนตรีหรือหน่วยงานที่นำดนตรีไปประกอบกิจการในด้านต่างๆ นักวิชาการส่วนใหญ่จะอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่จัดการเรียนการสอน  บางส่วนเป็นนักวิจัยของสำนักวิจัย



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)