สังคีตกวีไทย

  บทเพพลงที่เราได้ยินได้ฟังในทุกวันนี้มีอยู่มากมาย  ล้วนแล้วแต่เป็นผลงานอันทรงคุณค่าที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของนักดนตรีไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนักดนตรีแต่ละท่านมีลักษณะการประพันธ์เพลงที่แตกต่างกันออกไป  ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะขอนำเสนอประวัติและผลงานของสังคีตกกวีไทยบางท่านโดยสังเขป  ดังไปนี้

  1. ครูจำเนียร  ศรีไทยพันธุ์   


  เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) พ.ศ. 2536 ท่านเกิดวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2463 ที่ตำบลบางกระทึก  อำเภอสามพราน  จังหวัดนครปฐม  บิดาชื่อ นายนาค  มารดาชื่อ นางเปลี่ยน ท่านมีชื่อเดิมว่า "ผลัด" เมื่ออายุ 9 ปี ท่านได้เริ่มเรียนฆ้องวงใหญ่กับครูสุ่ม พลูโคกหวาย  เรียนปี่ในและปี่ชวากับครูจันทร์  บางขุนเทียน  และเรียนดนตรีเพิ่มเติมกับครูดนตรีอีกหลายท่าน เช่น หลวงบำรุงจิตเจริญ (ธูป สาตรวิสัย) ครูสอน  วงฆ้อง  ครูทองดี เดชชาวนา  ครูเทียบ  คงลายทอง  ครูโชติ ดุริยประณีต  เป็นต้น
        ท่านเป็นศิลปินที่มีความรู้  ความเชี่ยวชาญ ทั้งทางด้านดนตรีไทยและดนตรีสากล  โดยเฉพาะ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า เช่น ปี่  ขลุ่ย  คลาริเน็ต (Clarinet)  ทรัมเป็ต  (Trumpet) ฟลูต (Flute)  เป็นต้น  ท่านเข้ารับราชการที่กรมประชาสัมพพันธ์  โดยทำหน้าที่เป็นนักดนตรีไทยของวงดนตรีไทย  กรมประชาสัมพันธ์  นอกจากปฏิบัติราชการแล้ว  ท่านยังสอนดนตรีไทยให้แก่นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆอีกด้วย  ท่านได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2540 รวมอายุ 77 ปี
        ผลงานด้านดนตรี  ครูจำเนียร ศรีไทยพันธุ์  มีผลงานการประพันธืเพลงเป็นจำนวนมาก เช่นเพลงโหมโรงกังสดาลสามชั้น  เพลงจีนเก็บบปผาเถา  เพลงเทพสร้อยสนเถา เพลงนำ้ลอดใต้ทราย  เพลงทยอยญวณเถา เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังมีผลงานมนด้านการเดี่ยวขลุ่ยเพลงต่างๆอีกด้วย เช่น เพลงกล่อมนารี เพลงจีนขิมใหญ่ เพลงนกขมิ้น  เพลงสุดสงวน เป็นต้น ส่วนผลงานวิชาการดนตรี  ท่านได้เขียนโน้ตเพลงขลุ่ย ซึ่งเป็นผลงานที่แสดงถึงทางเพลงของท่านให้นักเรียน นักศึกษาและนักดนตรีไทยได้ใช้ฝึกหัดจนเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง



  
                            2. คุณหญิงไพฑูรย์  กิตติวรรณ

 ศิลปินแห่งชาติ  สาขา ศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) พ.ศ.2529  เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2454 เป็นบุตรของจางวางทั่ว  พาทยโกศล (ศิลปินดนตรีแห่งสำนักดนตรีบ้านพาทยโกศล) มารดาชื่อ นางปลั่ง พาทยโกศล โดยท่านเป็นน้องสาวของนายประสิทธิ์  พาทยโกศล ซึ่งเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงของวงการดนตรีไทย
         ท่านมีความสารถในการบรรเลงเครื่องดนตรีไทยเกือบทุกชนิด   ท่านได้รับการจับมือหัดจะเข้จากครูช่อ สุนทรวาทิน  ขณะเดียวกันก็ได้รับการต่อเพลงเดี่ยวจะเข้จากบิดา   และได้รับการถ่ายทอดวิชาการขับร้องเพลงไทยจากครูเจริญ  พาทยโกศล  จนมีความชำนาญและมีชื่อเสียงทั้งทางด้านการบรรเลงดนตรีด้วยจะเข้และการขับร้องเพลงไทย ท่านได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2538 รวมอายุ 84 ปี                                                         
ผลงานด้านดนตรี  ได้ประพันธ์ทางร้องเพลงวาขึ้น เมื่อ พ.ศ.2514 และได้ทำหน้าที่เผยแพร่ดนตรีไทยอย่างต่อเนื่อง  จนได้รับพระราชทานโล่เกียรติคุณ  สาขาดนตรีไทยในงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทานประจำปี พ.ศ.2524 จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ในด้านวิชาการดนตรีท่านได้มีโอกาสถวายความรู้ด้านดนตรีไทย คือ ซอด้วงและซออู้แด่สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี และยังมีโอกาสสอนดนตรีให้แก่นักดนตรี ทั้งที่บ้านพาทยโกศลและตามสถาบันการศึกษาต่างๆ 
    ท่านเป็นนักดนตรีที่สืบทอดวิทยาการความรู้จากแหล่งดนตรีสำคัญของไทย  เป็นผู้ถือกำเนิดมาท่ามกลางสายตระกูลดนตรี  จึงนับว่าท่านเป็นปูชณียบุคคลทางดนตรีไทยที่ควรศึกษาเป็นอย่างยิ่ง





                 3. ครูท้วม  ประสิทธิกุล 
           ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง  (ดนตรีไทย) พ.ศ. 2529 ท่านเป็นนักร้องเพลงไทยที่มีชื่อเสียงของกรมศิลปากรและเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการดนตรีไทย  ท่านเกิดเมื่อเดือน มิถุนายน พ.ศ.2439   ที่จังหวัดนนทบุรี  บิดาชื่อ นายสุทธิ์  มารดาชื่อนางเทียบ  บิดาของท่านเป็นนักดนตรี  นักร้อง และเจ้าของวงดนตรีที่มีชื่อเสียงในสมัยพระบาทพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านเรียนขับร้องเพลงไทย ขับเสภา  และเรียนวิธีการขยับกรับเสภากับบิดาของท่าน และเพิ่มเติมความรู้กับหมื่นคำหวาน  (เจิม  นาคมาลัย)  และศิลปินดนตรีอีกหลายท่าน  เช่น พระยาเสนาะดุริยางค์  (แช่ม  สุนทรวาทิน) หม่อมส้มจีน  บุนนาค  หลวงเสียงเสนาะกรรณ  (พัน มุกตวาภัย) เป็นต้น
           ท่านได้ทำหน้าที่เป็นนักร้องประจำวงดนตรีวังสวนกุหลาบและวงดนตรีวังเพชรบูรณ์  และเข้ารับราชการเป็นนักร้องที่กรมปี่พาทย์และโขนหลวง เป็นนักเรียนประจำวงมดหรีหญิงในพระบาทสมพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งกรมศิลปากร  ท่านจึงโอนย้ายมาสังกัดกรมศิลปากร ทำหน้าที่เป็นครูสอนขับร้องที่วิทยาลัยนาฏศิลป์  วิทยาลัยบพิตรพิมุข  และวิทยาลัยเพาะช่าง  ท่านมีวิธีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ โดยการประมวลหลักวิชาและแบบแผนในการเรียนดดยเฉพาะด้านทักษะปฏิบัติ ดังนั้น เมื่อท่านได้รับมอบหมายให้จัดทำหลักสูตรการขับร้องของวิทยาลัยนาฏศิลป์ ท่านจึงวางระบบและกฎเกณฑ์ พร้อมทั้งริเริ่มทฤษฎีการขับร้องและวิธีการสอน  จนกลายเป็นแบบแผนให้ศิษย์ของท่านได้ศึกษาและนำไปถ่ายทอดในสถาบันการศึกษาต่างๆต่อไป  ดดยท่านได้ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.2534 รวมอายุ 95 ปี
              ผลงานด้านดนตรี ได้ประพันธ์ทางร้องเพลงนกจากเถาไว้ เมื่อ พ.ศ.2595 และร่วมขับร้องบันทึกเพลงไทยให้เป็นสมบัติของชาติ จำนวนมาก ทั้งเพลงเถา  เพลงตับ และเพลงเกร็ด  ในด้านวิชาการดนตรีท่านได้เขียนบทความวิชาการด้านดนตรีเกี่ยวกับการขับร้องเพลงไทย หลักการสอนขับร้อง วิธีการขับร้องเพลงไทยให้ไพเราะ และการขับเสภา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)