ละครกับชีวิต

         ละครส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวที่สะท้อนมาจากวิถีชีวิตของคนในสังคม  ซึ่งผู้ชมสามารถเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ง่าย และนำข้อคิดที่ได้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน  เพราะละครส่วนใหญ่จะสอดแทรกเรื่องราว ด้านจริยธรรม  ศีลธรรม
         ละครเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อผู้ชมละคร  เพราะสามารถเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงบุคลิกภาพด้านมารยาทสังคม ท่าทาง การพูด รวมถึงคุณธรรม  จริยธรรม ที่ละครได้สอดแทรกไว้ในเนื้อเรื่่องอีกทั้งผู้เขียนบทละครจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆต่อไปนี้

         1.คุณค่าด้านสติปัญญา (Intellectual Value)
         คือ มีปรัชญาอะไรที่แฝงอยู่ในละครในแง่ใดบ้าง เช่น ในแง่จิตวิทยา ได้แก่ ปัญหาเด็กวัยรุ่น  และความไม่เข้าใจ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างหนุ่มสาวกับวัยผู้ใหญ่ สร้างปัญหาความไม่รับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และประเทศชาติ

        2. คุณค่าทางอารมณ์ (Emotional Value)
        ในสภาพการณ์ปัจจุบันนี้  มีปัญหาหลายอย่างที่ทำให้คนในสังคมเกิดความเครียด ฉะนั้น ละครหรือภาพยนตร์จึงเป็นสิ่งมีค่าที่มนุษย์พยายามสรรหามาเพื่อแลกกับอารมณ์และสภาพแวดล้อมที่ทางสังคมหยิบยื่นให้ เพื่อต้องการชีวิตที่ดีกว่ามีความผ่อนคลายจากความเครียด และสามารถมีความสุขพอใจ แม้ว่าจะเป็นช่วงสั้นเพียงละครแสดงก็ตาม

          3. คุณค่าทางนามธรรมหรือนิรรูป  (Abstract  Value)
       ได้แก่ คุณค่าที่ได้สัมผัสทางหู ทางตา สิ่งเหล่านี้เป็นคุณค่าที่ก่อให้เกิดความซาบซึ้งในด้านสุนทรียะ

ตัวอย่างละครสะท้อนสังคม
 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)