การอ่านโน้ต

     การฝึกเรียนดนตรีพื้นบ้านอีสาน  นอกจากการฟังแล้ว ผู้ฝึกจำเป็นต้องศึกาาโน้ตดนตรีพื้นบ้าน เพื่อง่ายต่อการฝึกหัดเบื้องต้นและการบรรเลงเพลงในกรณีที่จำเพลงนั้นไม่ได้  เพราะปัจจุบันมีเพลงจำนวนมาก  สำหรับการอ่านโน้ตดนตรีพื้นบ้านใช้หลักการอ่านแบบโน้ตเพลงไทยเดิม หรือโน้ตไทย ซึ่งมีโครงสร้างดังนี้
     1.ห้องเพลง
     2.จังหวะ
     3.ตัวโน้ต 
ห้องเพลง
ใน 1 บรรทัด กำหนดให้มี 8 ห้องเพลง  คือ


จังหวะ
ในแต่ละห้องเพลงจะมีจังหวะคงที่ 4 จังหวะ
จังหวะเคาะ เครื่อง V  คือ เคาะจังหวะที่ 4 (จังหวะตก) ใช้เครื่องหมาย - แทน 1 จังหวะ
 * V  หมายถึง การเคาะเท้า หนึ่งครั้ง หรือ การปรบมือหนึ่งครั้ง เท่ากับ 1 จังหวะ


ตัวโน้ต
    โน้ตเพลงไทยมี 7 เสียง คือ โด   เร   มี   ฟา   ซอล    ลา  ที
     อักษรย่อภาษาอังกฤษ         C   D   E    F      G        A    B
     ใช้อักษรย่อแทนชื่อตัวโน้ต   ด   ร    ม    ฟ     ซ        ล    ท

สัญลักษณ์ทางดนตรี
 1. เครื่องหมายระดับเสียง  ํ เช่น  มํ หมายถึง เสียง มี สูง  ถ้า ฺ  อยู่ล่างตัวโน้ต เช่น  มฺ หมายถึง เสียง มี ต่ำ
 2. เครื่องหมายย้อนกลับ (:      :)  หมายถึง บรรเลงซ้ำ 1 รอบ
 3. เครื่องหมาย -   ใช้แทนจังหวะในห้องเพลงที่ไม่มีตัวโน้ต  หมายถึง เว้นไว้ ไม่ต้องบรรเลง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)