การวิเคราะห์ทัศนธาตุและการออกแบบในสิ่งแวดล้อม

       การวิเคราะห์ทัศนธาตุในสิ่งแวดล้อม  หมายถึง การพิจารณาแยกแยะลักษณะต่างๆ ที่พบเห็นในสิ่งแวดล้อมว่า ส่วนใดเป็นจุด  เป็นเส้น พื้นผิวเป็นเงามัน  ขรุขระ  หรือเป็นรูปทรง  สีสัน  มีน้ำหนักอ่อน - แก่อย่างไร รวมทั้งการปล่อยพื้นที่ว่างในผลงานมีมากน้อยเพียงใด  ซึ่งความสามารถในการจำแนกแยกแยะและการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้นั้น จำเป็นต้องให้ความรู้เรื่องทัศนธาตุซึ่งเป็นความรู้เฉพาะทางด้านทัศนศิลป์เป็นหลักในการอธิบาย  รวมไปถึงลักษณะในการออกแบบว่ามีความเป็นเอกภาพ  ความกลมกลืน  และความสมดุลมากน้อยเพียงใด  ซึ่งสามารถแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
    1. ทัศนธาตุและการออกแบบในสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ   เป็สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นท้องฟ้า  ดอกไม้  ผีเสื้อ รุ้ง  น้ำตก  ดวงดาว  ทะเล  ป่าไม้  ภูเขา  และอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนมีความงดงามผสมผสานอยู่ ซึ่งสามารถคัดเลืออกมาวิเคราะห์เพื่อให้เห็นถึงทัศนธาตุและหลักการออกแบบได้
   
สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

      2. ทัศนธาตุและการออกแบบในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น   โดยมนุษย์ได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นมา  เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกายและจิตใจ  ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานที่ สวนดอกไม้  สะพาน บ้านเมือง  สนามเด็กเล่น สถานีรถไฟ และอื่นๆ ซึ่งถ้าวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นมานั้น จะเห็นถึงการนำเอาทัศนธาตุต่างๆ  มาออกแบบให้มีความสอดคล้องกับหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์
สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น

ตัวอย่าง การวิเคราะห์ทัศนธาตุและการออกแบบในสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ : ก้อนหินกำมะหยี่

        ภาพถ่ายนี้เป้นการเลือกบางมุมของธรรมชาติมาทำการวิเคราะห์ เพื่อสื่อให้เห็นว่า ธรรมชาติทุกแห่งมีแง่มุมที่เป็นความงามซ่อนอยู่มากมาย  พื้นที่บางแห่งแม้ไม่มีสรรพสิ่งปรากฏอยู่มาก ไม่มีสีสันสะดุดตา แต่ถ้าเลือกมุมมองให้ดีก็จะเห็นความงามที่ซ่อนอยู่ โดยเฉพาะความงามที่เป็นศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นก้อนหิน  สายน้ำ  ฯลฯ ขณะเดียวกันมุมมองนั้นก็สามารถบ่งบอกเนื้อหาสาระบางประการได้เช่นเดียวกัน
      การวิเคราะห์    จากภาพตัวอย่าง จะเห็นภาพรวมเป็นรูปทรง  สี แสงเงา ที่ปรากฏอย่างเด่นชัด  สังเกตภาพธรรมชาติในภาพนี้แล้วมีความดดเด่นที่รูปร่าง รูปทรงก้อนหินที่เป็นรูปทรงตามธรรมชาติ  แสงที่ตกกระทบทำให้เกิดเงา ช่วยเพิ่มมิติให้กับก้อนหิน  ดูเป็นก้อน  มีมวล  และขนาด มีความลึก ตื้น  แตกต่างกันออกไป แสงส่องสว่างลงมาจากด้านบน พื้นผิวของก้อนหินที่ขรุขระเมื่อมีต้นหญ้า  มอสส์ ตะไคร่น้ำ และพืชชนิดอื่นๆ ที่มีสีเขียวผสมผสานกับสีเหลืองขึ้นปกคลุม ความหยาบและความขรุขระของก้อนหินได้ถูกแปรเปลี่ยนเป็นความรู้สึกอ่อนนุ่มดุจมีผ้ากำมะหยี่ สีเขียววางคลุมไว้ น้ำหนักอ่อน - แก่ของสีช่วยให้เกิดความรู้สึกนุ่มนวลและมีระยะใกล้ - ไกล ขณะเดียวกันเส้นสายของน้ำตกสีขาวก้นำสายตา  มีทิศทางจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง  สีของน้ำตัดกับพื้นผิวของก้อนหินที่ปกคลุมด้วยสีเขียว  สีภาพนี้เป้นสีวรรณะเย็น  เมื่อมองดูแล้วจะให้ความรู้สึกสดชื่น  เยือกเย็น สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์และความชุ่มชื้นของธรรมชาติได้อย่างชัดเจน


ตัวอย่าง การวิเคราะห์ทัศนธาตุและการออกแบบในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น : เมืองจำลองมาดูโรดัม

       เมืองจำลองห่งนี้มีชื่อว่า มาดูโรดัม (Madurodam) ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์  เปิดให้เข้าชมตั้งแต่ ค.ศ.1952 โดยจำลองสภาพบ้านเมือง  สถานที่สำคัญ สิ่งที่น่าสนใจต่างๆ ตลอดจนวิถีชีวิตของผู้คนในประเทศเนเธอร์แลนด์  นำมารวมไว้อยู่ภายในพื้นที่เดียวกัน  โดยสิ่งที่นำมาจำลองไว้จะมีลักษณะเหมือน หรือคล้ายคลึงกับของจริง ดดยย่อลงมาในสัดส่วน 1 : 25 บางคนเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า  เมืองตุ๊กตา ซึ่งเห้นการนำหลักการสร้างสรรค์ ผลงานทัศนศิลป์ในสาขาต่างๆ มาออกแบบเป็นเมืองที่มีบรรยายการศและความสวยงามอย่างลงตัว
      การวิเคราะห์   จุดเด่นของสถานที่แหห่งนี้ คือ การจำลองของจริง   ให้มาอยู่ภายในพื้นที่เดียวกันและมีขนาดเล็กกว่าผู้คน  ทำให้สามารถมองดูได้อย่างทั่วถึง  ทัศนธาตุที่ปรากฏในสถานที่นี้มีอยู่มากมาย  ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะเน้นพิจารณาในบริเวณใดเป็นหลัก  ไม่ว่าจะเป็นเส้นโค้งที่มีลักษณะสลับไปมาของหลังคาสีขาวที่ดูเหมือนลูกคลื่น  หรือเส้นตรงแนวตั้งของสถาปัตยกรรมที่อยู่ด้านหน้า  แต่ที่เห็นได้เด่นชัด คือ รูปร่าง  รูปทรง  สีสัน  และพื้นผิวของสิ่งต่างๆ ที่เหมือนกับได้ชมของจริง  การเว้นพื้นที่ว่างและเปิดโล่งจะช่วยทำให้ผู้คนเดินเข้าไปชมได้อย่างใกล้ชิดตลอดจนการเพิ่มสีสันของต้นไม้และดอกไม้ที่มีขนาดเล็กเข้าไป  ช่วยทำให้ดูสบายตามากขึ้นยิ่งขึ้น  สร้างความรู้สึกเหมือนได้เข้าไปอยู่ในเมืองตุ๊กตา
     การจัดสถานที่ให้ความสำคัญในเรื่องของสัดส่วนเป็นอย่างมาก  การย่อขนาดลงมาได้อย่างถูกต้อง  ช่วยสร้างความรู้สึกเหมือได้ชมของจริง จังหวะและจุดสนใจต้องมองแบบองค์รวมจะเห็นถึงความโดเด่น  ทั้งนี้ การอออกแบบที่เปิดให้มีพื้นที่โล่งกว้างทำให้ผลงานดูแล้วไม่เกิดความอึดอัด  การจัดองค์ประกอบต่างๆ  มีความเป็นเอกภาพสอดคล้องกันทั้งหมดตั้งแต่เส้นทางเดิน  ต้นไม้  ดอกไม้  ล้วนได้มีมีการออกแบบให้มีความกลมกลืนเข้ากันได้ดีกับสิ่งของจำลองที่นำมาจัดแสดงและการจัดวางสิ่งจำลองต่างๆ  กระจายครอบคลุมทั่วพื้นที่ จึงทำให้เกิดความสมดุลในผลงาน


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)