ศิลปินทัศนศิลป์ สาขาจิตรกรรม

             ศิลปินทัศนศิลป์สาขาจิตรกรรมได้สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ดดยผ่านภาษาภาพที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา หรือเรียกว่า  ผลงานศิลปะแบบ 2 มิติ   โดยใช้องค์ประกอบต่างๆของทัศนธาตุ  พร้อมกับใช้เทคนิค  วิธีการ สร้างสรรค์ผลงานตามความถนัด  ความเชี่ยวชาญเฉพาะบุคคลผ่านวัสดุ  หรือสื่ออย่างหลากหลาย  ซึ่งเทคนิค วิธีการบางอย่างได้กลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ  เมื่อมองเห็นผลงานแล้วสามารถจะบอกได้ว่าเป็นผลงานของใคร  ดังจะขอยกตัวอย่างศิลปินบางท่านมาเป็นแนวทางในการศึกษา  ดังต่อไปนี้
        ฟินเชนต์  วิลเลียม ฟานก็อกฮ์  (Vincent  Willem Van Gogh)

   ฟินเชนต์  วิลเลียม ฟานก็อกฮ์ (ค.ศ.1853 - 1890) จิตรกรชาวดัตช์ผู้อาภัพ  มีชีวประวัติที่แปลกจนได้รับความสนใจจากบุุคคลทั่วไป  ผลงานที่ได้รับการยอมรับและมีชื่อเสียงของเขามีเป็นจำนวนมาก  เช่นภาพดอกทานตะวัน (Sunflowers) ภาพราตรีประดับดาว (The Starry Night)  ภาพคนกินมันฝรั่ง (The potato Eaters) เป็นต้น ซึ่งจะขอยกตัวอย่างบางภาพที่มีเทคนิค  วิธีการเฉพาะ ที่สะท้อนตัวตนของเขาได้เป็นอย่างดีมานำเสนอ



The potato Eaters  (ค.ศ.1885) เทคนิคภาพวาดสีน้ำมันบนผืนผ้าใบ
     The potato Eaters แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานของเขาชิ้นนี้ คือ ต้องการจะถ่ายทอดให้เห็นถึงสภาพความเป็นจริงของชีวิตผู้คนในชนชั้นหนึ่งของสังคม  เนื้อหาของภาพสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเหมือนถ่านหินผู้ยากไร้  ที่แสดงอากัปกิริยา  สีหน้า  และแววตาที่แฝงไว้ซึ่งความเศร้าสร้อย  ขณะแบ่งมันฝรั่งในแก่กันภายในกระท่อมที่ผุพัง

    เทคนิคและวิธีการในการสร้างสรรค์ผลงาน
       The potato Eaters  เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนผืนผ้าใบ  โดยสีที่เลือกใช้เป็นสีวรรณะเย็น  คือ สีเขียวและสีน้ำตาลอ่อนจนถึงเข้มคล้ายสีแบบเอกรงค์  ซึ่งเขาใช้วิธีการปาดและป้ายสีไปมาทับซ้อนกันด้วยเนื้อสีที่หนา  แต่ในบางพื้นที่ที่จงใจให้เห็นริ้วรอยของฝีแปรง  ซึ่งสะท้อนให้เห็นทิสทางการปาดและป้ายสีอย่างเด่นชัด  ช่วยทำให้ภาพเสมือนมีชีวิต  สามารถสื่อสารกับผู้ชมได้อย่างตรงไปตรงมา  เมื่อมองภาพจะรู้สึกราวกับว่าได้มีส่วนร่วมรับรู้ความทุกข์ยากที่เกิดขึ้น  จดจำแววตาที่หม่นหมองจนเกิดความสะเทือนอารมณ์



    พิต  มอนดรีอัน ( Piet  Mondrian)

    พิต  มอนดรีอัน  (ค.ศ.1872- 1944) ศิลปินชาวดัตช์  ผู้นำการวาดภาพแบบนามธรรม  โดยใช้รูปทรงเรขาคณิต การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ของตนเอง  ซึ่งผลงานในระยะแรกมีลักษณะเป็นธรรมชาตินิยม  (Naturalim) เช่นเดียวกับศิลปินร่วมสมัยคนอื่นๆ ต่อมาเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นจึงได้พัฒนารูปแบบและคลี่คลายมาเป็นศิลปะแบบนามธรรม (Abstract) ซึ่งเขาเรียกแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานตนเองว่า  ลัทธินีโอพลาสติซิสม์  (Neo Plasticism )  หรือเป็น ผลงานนามธรรมที่ใช้รุปทรงเรขาคณิตเป็นหลัก  ซึ่งผลงานของเขามีทั้งแบบที่ยังแสดงให้เห็นร่องรอยของรูปทรงตามธรรมชาติ เช่น ภาพโรงนาใกล้เมืองดูเวนเดรคต์ (Farm near Duivendrecht) เป็นต้น  และแบบนามธรรมอย่างสมบูรณ์
Farm near Duivendrecht  (ค.ศ.1916 ) เทคนิคภาพวาดสีน้ำมันบนผืนผ้าใบ  
      Farm near Duivendrecht    แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานของเขาชิ้นนี้ คือ ต้องการถ่ายทอดสภาพความเป็นตริงของธรรมชาติตามที่ตนได้เห็นและสัมผัสผลงานเป็นรูปแบบเสมือนจริง  เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการมองเห็น  ทั้งรูปทรง  สีสัน และบรรยากาศ  เนื้อหาของภาพและสะท้อนให้เห็นโรงนาที่ตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางทิวทัศน์  ท้องฟ้ายามเย็นที่ดวงอาทิตย์เพิ่งตกลับขอบฟ้าไป มีแสงสีส้มอมเทาสาดส่องเงาโรงนาที่ทาบทับลงบนท้องน้ำที่สงบนิ่ง  สะท้อนเงาภาพอีกมิติหนึ่งในหน้ำ  ยิ่งทำให้บรรยากาศโดยรอบมีแต่ความเวิ้งว้าง  ดูแล้วทำให้เกิดอารมณ์  ความรู้สึกเหมือนมีความอ้างว้างเดียวดาย

     เทคนิคและวิธีการในการสร้างสรรค์ผลงาน
      Farm near Duivendrecht   เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนผืนผ้าใบ เขาได้ระบายสีให้เป็นแผ่นๆในแนวนอนและแนวตั้งสลับกันไปมาด้วยฝีแปรงที่มีความมั่นใจ  ไม่มีรายละเอียดมากนัก  แต่รูปร่าง  รูปทรงของสิ่งต่างๆ สามารถมองเห็นได้เด่นชัด  ส่งเสริมให้ผลงานมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น  เขาเลือกใช้สีที่ทำให้ภาพมีความสดใส แต่บรรยากาศของภาพจะทำให้ผู้ชมมีอารมณ์ตรงกันข้ามกับสีที่ปาดป้ายไว้

   
     ประเทือง  เอมเจริญ
      ประเทือง  เอมเจริญ  (พ.ศ.2478 - ปัจจุบัน)  ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์  (จิตรกรรม)  ประจำปีพุทธศุกราช  2548 ผู้มีชีวประวัติบนเส้นทางศิลปะที่ได้รับการยอมรับและยกย่องอย่างมากคนหนึ่งของไทย  ศิลปินผู้ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจและเป็นแบบอย่างในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมรุ่นน้อง ท่านได้ศึกษาหาความรู้ทางด้านศิลปะด้วยตนเองอย่างหนัก รวมทั้งศึกษาถึงความเป็นจริงของธรรมชาติอย่างล่มลึกและจริงจริง จนเกิดมุมมองในการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นลักษณะเฉพาะตนเอง  ซึ่งแรงบันดาลใจพื้นฐานสำคัญที่ท่านนำมาใช้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน  คือ ดวงอาทิตย์ที่เป็นต้นกำเนิดของพลังแสงสว่าง

รุ้งแม่โพสพ  หมายเลข 2 (พ.ศ. 2538) เทคนิคภาพสีน้ำมันบนผืนผ้าใบ
      รุ้งแม่โพสพ  หมายเลข 2  แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานของท่านในผลงานชิ้นนี้ คือ การถ่ายทอดให้เห็นความสำคัญของแสงที่ส่องกระทบฺวโลก ว่ามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของพืช  สัตว์ และมนุษย์ เนื้อหาของงภาพสะท้อนให้เห็นถึงท้องทุ่งนาที่เต็มไปด้วยรวงข้าวอันเขียวขจี  เบื้องบนคือดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงลงมากระทบรวงข้าว  (คนไทยเชื่อว่าแม่โพสพสถิตอยู่) และผิวน้ำเบื้องล่าง  ก่อให้เกิดเป็นแสงรุ้งอันงดงาม
          เทคนิคและวิธีการในการสร้างสรรค์ผลงาน 
         รุ้งแม่โพสพ  หมายเลข 2  เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนผืนผ้าใบ โดยเน้นที่องค์ประกอบของทัศนธาตุที่เป็นสี  ซึ่งสีที่ปรากฏในภาพเป็นสีวรรณะอุ่นและสีวรรณะเย็น   แต่มีความกลมกลืนเป็นเอกภาพ  สื่ออารมณ์  ความรู้สึกที่สดใส  ร่าเริง  และแสดงสภาวะของการเจริญเติบโต  ท่านใช้วิธีการสร้างสรรค์ผลงานโดยเริ่มจากการเขียนขึ้นรูปโดยรวมก่อน  จากนั้นจึงระบายสีด้วยทีแปรงเล็กและทีแปรงใหญ่ซ้อนทับกัน โดยเน้นรายละเอียดของรูปทรง  คือรวงข้าวที่เขียวชอุ่มให้เด่นชัด  โดยการลงสีอ่อน  เช่น สีเหลือง  สีส้ม  เป็นต้น  แล้วจึงทับด้วยสีเข้มลงไปตามลำดับสลับกับการซ้อนทับด้วยสีอ่อนในบางส่วน  เพื่อให้ภาพมีความหมายและโดดเด่นชัดเจนมากยิ่งขึ้น


           พิชัย  นิรันต์
      พิชัย  นิรันต์ (พ.ศ.2479 - ปัจจุบัน)  ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช 2546 ผู้สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์จากพื้นบานความรู้ทางด้านศิลปะที่สั่งสมประสบการณ์จากการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษาและลงมือปฏิบัติจริง ผลงานของท่านส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา  ดดยอาศัยรูปสัญลักษณ์ได้แก่ รอยพระพุทธบาท  ดอกบัว  ธรรมจักร  และพระพุทธรูป เป็นตัวกลางในการสื่อความหมายไปยังผู้ชม  นอกจจากนี้ ยังมีวิธีการจัดวางภาพสัญลักษณ์ไว้บริเวณกึ่งกลางของภาพ  เพื่อความโดดเด่นอีกด้วย

วัฏฏะจักรแห่งชีวิต  (ไม่ปรากฏปีที่สร้างสรรค์ผลงาน) เทคนิคภาพวาดสีน้ำมัน
และติดทองคำเปลวลงบนผืนผ้าใบ
          วัฏฏะจักรแห่งชีวิต  แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานของท่านชิ้นนี้ คือถ่ายทอดให้เห็นถึงสัจธรรมของชีวิต  สรรพสัตว์ล้วนต้องอยู่ในสังสารวัฏ หรือ การ้วียนว่ายตายเกิด  โดยเลือกใช้ดอกบัว หยดน้ำและแสง เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย  เนื้อหาของภาพแสดงให้เห็นสภาวะของดอกบัว  เมื่อเมล็ดได้รับหยดน้ำและแสงจึงมีการเจริญเติบโตเป็นดอกตูม  เบ่งบาน  ร่วงโรย และกลับกลายเป็นเมล็ดพันธุ์อีกครั้งหนึ่ง  วนเวียนเป็นวัฏจักร  หรือ วงกลมเช่นนี้ตลอดไป
      เทคนิคและวิธีการในการสร้างสรรค์ผลงาน
     วัฏฏะจักรแห่งชีวิต  เป็นภาพวาดสีน้ำมันและติดทองคำเปลวประกอบลงไปบนผืนผ้าใบ ท่านใช้วิธีการระบายสีลงไปแบบเรียบๆ  บางส่วนสร้างสรรค์เป็นเส้นนูนบริเวณดอกบัวและส่วนอื่นๆ จากนั้นจึงติดทองคำเปลวลงไปนับว่าเป็นเทคนิคพิเศษ  เพื่อทำให้ภาพมีความหมายและมีคุณค่า  การจัดองคืประกอบของภาพใช้สัญลักษณ์รูปดอกบัวสัขาวตรึงเนื้อเรื่องหรือรูปทรงหลักไว้ที่กึ่งกลางภาพ  เพื่อสื่อถึงพระพุทธศาสนา
     

ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ24 กรกฎาคม 2566 เวลา 00:28

    ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ24 กรกฎาคม 2566 เวลา 00:29

    ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ24 กรกฎาคม 2566 เวลา 00:30

      ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

      ลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ24 กรกฎาคม 2566 เวลา 00:30

    ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ24 กรกฎาคม 2566 เวลา 00:30

    ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ24 กรกฎาคม 2566 เวลา 00:33

    ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ24 กรกฎาคม 2566 เวลา 00:35

      ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

      ลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)