การวิเคราะห์ทัศนธาตุและการออกแบบในงานทัศนศิลป์

      ทัศนศิลป์  (Visual  Art) หมายถึง ผลงานศิลปะที่เกิดจากการแสดงออกทางการสร้างสรรค์ของมนุษย์เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ   ซึ่งสามารถจำแนกผลงานตามรูปแบบได้เป็น 4 ประเภท  ได้แก่ งานจิตรกรรม  (Painting) งานประติมากรรม (Sculpture) งานสถาปัตยกรรม (Architecture)  และงานพิมพ์ (Printing) โดยผู้สร้างสรรค์หรือศิลปินแต่ละท่านจะเป็นผู้นำเอาองคืประกอบต่างๆ ทางทัศนธาตุมาออกแบบตามหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ให้เกิดเป็นผลงานทัศนศิลป์ขึ้นมาตามแนวคิด  หรือจินตนาการของตน  ซึ่งการเลือกใช้ทัศนธาตุอาจเกิดจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจ    ดังนั้น ในผลงานทัศนศิลป์ทุกชิ้นจึงมีทัศนธาตุปรากฏอยู่ ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการวิเคราะห์ทัศนธาตุและหลักการออกแบบในงานทัศนศิลป์มาเป็นกรณีศึกษา 2 ผลงาน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 1 รูปทรงของแสงบนพื้นที่ของเงา
รูปทรงของแสงบนพื้นที่ของเงา (พ.ศ.2521) ผลงานของปรีชา  เถาทอง
เทคนิคภาพวาดสีอะคริลิกและสีน้ำมันบนผืนผ้า
    ผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานจิตรกรรมของอาจารย์ปรีชา  เถาทอง  ศิลปินแห่งชาติ  สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช 2552  มีชื่อว่า รูปทรงของแสงบนพื้นที่ของเงา   วาดโดยใช้สีอะคริลิกและสีน้ำมันบนผืน้าใบ ขนาด 172 *142.5 เซนติเมตร  วาดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2521 ซึ่งศิลปินมีผลงานหลายชิ้นที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับผลของแสงที่ตกกระทบกับรูปทรงต่างๆ  นำไปเป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ขึ้นมา
   การวิเคราะห์   องค์ประกอบของทัศนธาตุที่ศิลปินนำมาใช้ คือ เส้น  ซึ่งจะประกอบไปด้วยเส้นตรงแนวดิ่ง  เส้นตรงแนวนอนและเส้นหยัก  ด้านล่างของภาพเป็นเส้นโค้งแบบไทยประเพณีที่แสดงลวดลายต่างๆและใช้ผนังของพระอุโบสถมานำเสนอ  ดดยให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องแสงที่มีต่อบรรยากาศทั้งหมดของภาพ  จึงจำกัดขอบเขตของแสงดดยเน้นให้แสงส่องตกกระทบผนังพระอุโบสถเฉพาะเป็นทางบริเวณ  ทำให้เกิดรูปทรงเรขาคณิตระหว่างรูปทรงของแสงและพื้นที่ของเงา โดยส่วนที่เป็นแสงจะเป็นรูปทรงที่มีสัดส่วนน้อยกว่าส่วนที่เป็นพื้นที่ของเงา  ส่วนที่มืดดูลึกลงไปเป็นการแสดงระยะใกล้ - ไกล การใช้สีวรรณะเย็นที่มีลักษณะอ่อนใสตัดกับสีพื้นเข้ม  ช่วยทำให้การมองเห็นรายละเอียดของภาพได้อย่างชัดเจน สร้างความรู้สึก ร่มเย็น  และศรัทธา
     ผลงานจิตรกรรมชิ้นนี้มีการจัดวางภาพที่มีชีวิตชีวา  แม้ว่าส่วนที่เป็นรูปส่วนใหญ่จะวางอยู่ด้านซ้าย  แต่มีการถ่วงน้ำหนักด้วยส่วนที่มืดอยู่ทางด้านขวา  ทำให้ภาพมีความสมดุล  ลวดลายบริเวณผังที่ต่อเนื่องเต็มทั้งภาพ  กำหนดเป็นจังหวะได้อย่างงดงามลงตัว  ช่วยลดพื้นที่ว่ง  รูปทรงของแสงและลวดลายบนผนังพระอุโบสถในเงามืดมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องเป็นเนื้อหาเดียวกัน  ไม่แตกกระจาย  แสดงถึงความเป็นเอกภาพของรูปทรงที่กลมกลืนกันไปทั้งสีและแสงที่ตกกระทบเป็นรูปทรงเรขาคณิต  รวมทั้งสัดส่วนของสิ่งต่างๆ  ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงและจัดวางได้อย่างลงตัว  ทำให้ผลงานมีความงดงามมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างที่ 2 ทัชมาฮาล 
 

     ทัชมาฮาล  (Taj mahal) ตั้งอยู่เมืองอัคระ  ประเทศอินเดีย  เป็นผลงานทัสนศิลป์ประเภทสถาปัตยกรรม   สร้างขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากหินอ่อนสีขาวนวล  โดยกษัตริย์ชาห์ญะฮาน สร้างไว้เป็นอนุสรณ์แห่งความรักของพระองค์ที่มีต่อพระนางมุมตัช  มาฮาล  พระมเหสีที่สินพระชนม์  รูปแบบของงานสถาปัตยกรรมเป็นรูปโดมแบบเปอร์เซีย  ซึ่งได้รับการยกย่องว่า  เป็นสิ่งก่อสร้างด้านความรักที่สวยงามที่สุดของโลก
      การวิเคราะห์   ทัศนธาตุที่ปรากฏอยู่ในผลงานสถาปัตยกรรมชิ้นนี้จะประกอบไปด้วยลักษณะของเส้นตรงแนวราบของสระน้ำที่เป็นจุดนำสายตามุ่งไปสู่ตัวอาคาร  เสาทั้ง 2 ด้านเป็นเส้นตรงแนวตั้งที่ให้ความรู้มั่นคง  แข็งแรง  และสง่างาม กำแพงปรากฏทัศนธาตุที่เป็นเส้นตรงแนวนอน  หรือเส้นระดับ  ให้ความรู้สึกราบเรียบ ปลอดภัย  ตัวอาคารจะประกอบไปด้วยรูปทรงสี่เหลี่ยมและรูปโดมทรงกลม  มีการนำลักษณะเส้นแบบต่างๆ ทั้งเส้นตรง  แนวตั้ง  เส้นตรงแนวนอน  และเส้นโค้งมาใช้ในการออกแบบส่วนต่างๆ ส่งผลให้ตัวสถาปัตยกรรมมีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่สวยงาม
        พื้นผิวแม้ว่าจะเป็นหินอ่อนแต่ก็ให้ความรู้สึกถึงความราบเรียบ  การให้พื้นที่โดยรอบตัวสถาปัตยกรรมเป็นพื้นที่ว่างและเมื่อมีฉากหลังเป็นพื้นที่สีเข้มของท้องฟ้า ก็ยิ่งเสริมให้สีขาวของตัวอาคารมีความโดเด่นตระหง่านอยู่ในความเวิ้งว้างของบรรยากาศ  สื่อถึงความยิ่งใหญ่  รวมทั้งเงาสะท้อนบนพื้นผิวน้ำก็ช่วยทำให้เกิดมิติที่สวยงามมากยิ่งขึ้น
      ผลงานสถาปัตยกรรมชิ้นเอกนี้  จะเห็นได้อย่างชัดถึงการนำองค์ประกอบศิลป์มาใช้ในการออกแบบได้อย่างยอดเยี่ยม  เมื่อผู้ชมมองไปที่ด้านหน้า  จะเห็นอาคารสีขาวสะดุดตาขนาดใหญ่  เห็นได้ตั้งแต่ในระยะไกล  ซึ่งมีเอกลักษณ์เป็นรูปโดมแบบเปอร์เซียที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนะรรมอาหรับ  ส่วนประกอบต่างๆของตัวอาคารถูกออกแบบและนำมาจัดวางอย่าลงตัวได้สัดส่วน  มีจังหวะ  ตลอดจนเสริมความโดดเด่นให้แก่กันและกัน  ไม่มีส่วนใดที่ดูแล้วรู้สึกว่าเป็นส่วนเกิน  หรือขัดแย้งแปลกแยกไปจากกลุ่ม แม้แต่สระน้ำ  ก็ช่วยเพิ่มความงามให้แก่ทัชมาฮาล ทั้งในด้านสะท้อนภาพ  เป็รพื้นที่โล่งไม่บดบัง  หรือดึึงความสนใจออกไปจากตัวสถาปัตยกรรม
     ในการออกแบบ  สถาปนิกตั้งใจให้สถาปัตยกรรมมีลักษณะ 2 ด้านที่เหมือนกัน  หรือมีความสมดุลเท่ากัน ขณะเดียวกันจากมุมสายตา  สมมติว่ามีการลากเส้นตรงไปยังจุดกึ่งกลางอาคาร  พื้นที่ระหว่างทางเดินทั้ง 2 ด้านของสระน้ำ รวมทั้งแนวพุ่มไม้ 2 ข้างทางและหอคอยขนาบข้าง  ก็จัดวางตำแหน่งเป็นคู่ขนานในระดับเสมอกันเป็นจังหวะที่ลงตัว  ที่จะช่วยนำสายตามุ่งสู่โดมใหญ่  ทั้งนี้ การที่ทัชมาฮาลสร้างด้วยหินอ่อน  ใช้เส้นโค้งพร้อมลวดลายในช่องกรอบและส่วนอื่นๆ  ที่เห็นได้อย่างชัดเจน  จึงทำให้ผลงานกุแล้วไม่แข็ง  แต่กลับทำให้รู้สึกอ่อนช้อย นุ่มนวล  
      สถาปัตยกรรมแห่งนี้เมื่อดูโดยรวมแล้ว  จะเห้นว่าทุกส่วนประกอบสะท้อนถึงความเป็นเอกภาพและความกลมกลืนเป็นอันหึ่งอันเดียวกัน  ทำให้ผลงานมีความสวยงามยิ่งขึ้น




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)