ทัศนธาตุ ม.4

ทัศนธาตุ (Visual Elements)
    หมายถึง ส่วนประกอบของการมองเห็นซึ่งประกอบไปด้วยจุด  เส้น  รูปร่าง  รูปทรง  น้ำหนักอ่อน - แก่  พื้นที่ว่าง  พื้นผิว และสี  ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์แขนงใดก็ตาม  ล้วนแต่ต้องใช้องค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าวของทัสนธาตุ นำมาออกแบบจัดวางให้ผสมผสานกันตามหลักการออกแบบด้วยกันทั้งสิ้น
   องค์ประกอบของทัศนธาตุ
   ทัศนธาตุ หรือองค์ประกอบศิลป์ที่เป็นพื้นฐานในการนำไปใช้  เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์  จะประกอบไปด้วย จุด  เส้น  รูปร่าง  รูปทรง  ลักษณะผิว พื้นที่ว่าง  น้ำหนักอ่อน - แก่ แสงเงา และสี ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
  1. จุด (Point , Dot) เป็นส่วนที่เล็กที่สุดในผลงาน เป็นต้นกำเนิดของเส้น  รูปร่าง  รูปทรง  แสงเงา และพื้นผิว  ถ้านำจุดมาวางเรียงต่อกัน  และทำซ้ำๆ จะเกิดเป็นเส้น หรือถ้านำจุดมาวางรวมกลุ่มกันให้เหมาะสม  จะเกิดเป็นรูปร่าง  รูปทรง  พื้นผิว  และแสงเงาได้

  2. เส้น (Line) มีผลต่อการรับรู้และช่วยกระตุ้นให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ  เส้นเป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ทุกแขนง  โดยเฉพาะใช้ในการร่างภาพ  เพื่อถ่ายทอดสิ่งที่มองเห็นหรือสิ่งที่จินตนาการสื่ออกมาเป็นภาพ 
   เส้นแบ่งตามลักษณะใหญ่ๆ ได้ 5 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดให้คุณค่าและความรู้สึกแตกต่างกัน ดังนี้
  

    3. รูปร่าง  รูปทรง เกิดจากการนำเอาเส้นในลักษณะต่างๆมาประกอบให้เป็นเรื่องราว  ทั้งนี้ รูปร่างจะเป็นเส้นโครงของวัตถุสิ่งของ มีลักษณะ 2 มิติ  คือ ความกว้างและความยาว  ส่วนรูปทรงเป็นเส้นโครงของวัตถุสิ่งของ มีลักษณะเป็น 3 มิติ  คือ ความกว้าง  ความยาว และความลึก
    3.1 รูปร่าง (Shape) หมายถึง เส้นที่เป็นโครงของวัตถุหรือสิ่งของที่ปรากฏให้เห็นเป็นลักษณะ 2 มิติ ถ้ากล่าวถึงรูปสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม  วงกลม  หรือรูปร่างอื่นๆ ก็คือรูปที่มีเพียงกว้างกับส่วนยาวเท่านั้น  จะไม่แสดงความหนาและสีผิวของวัตถุ  เช่น รูปร่างของคน หมายถึง เส้นรอบนอกของร่างกายที่แสดงเป็นเพียงส่วนโค้ง  ส่วนเว้า  ไม่เห็นส่วนนูนหนา หรือ สีผิว สังเกตง่ายๆ ก็คือ มองเห็นเป็นลักษณะแบนๆ เหมือนเงาของวัตถุ เป็นต้น 
   รูปร่างแบ่งออกเป็นลักษณะใหญ่ๆ ได้ 3 ลักษณะ คือ


       3.2 รูปทรง (Form) หมายถึง โครงสร้างทั้งหมดของวัตถุที่ปรากฏให้เห็นในลักษณะ 3 มิติ คือ มีทั้งส่วนกว้าง  ส่วนยาว  ส่วนลึก  หรือหนา  เช่น รูปทรงของคน จะแสดงให้เห็นโครงสร้างของร่างกายที่มีส่วนสูง  ส่วนโค้ง  ส่วนเว้า  ส่วนนูนหนา  และสีผิว เป็นต้น  หลักการสังเกตว่าเป็นรูปทรง 3 มิติ คือ เมื่องมองแล้วจะให้ความรู้สึกเป็นแท่ง เป็นก้อน  มีมวล มีเนื้อที่ภายใน มีปริมาตร หรือมีน้ำหนัก  
      รูปทรงแบ่งออกเป็นลักษณะใหญ่ๆ ได้ 3 ลักษณะ คือ

       4. พื้นผิว (Texture)  พื้นผิวของวัตถุต่างๆ  ที่เกิดจากธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น  พื้นผิวของวัตถุที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน  ย่อมให้อารมณ์และความรู้สึกที่ได้จากการมองเห็นมีความแตกต่างกันออกไปด้วย
      ลักษณะพื้นผิวโดยทั่วไปถือว่าเป็นทัศนธาตุที่ไม่ใช่เป็นหลักในการสร้างรูปทรง ส่วนใหญ่จะใช้เป็นส่วนของพื้นภาพ  มีศิลปินหลายคนใช้ลักษณะของพื้นผิวเป็นทัศนธาตุที่สำคัญในการสร้างสรรค์งาน  ด้วยการใช้พื้นผิวลักษณะต่างๆ มาประกอบเป็นรูปทรงที่สมบูรณ์ได้ พื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกันย่อมให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันด้วย  เช่น พื้นผิวเรียบ โค้งเว้าของโซฟา  ย่อมทำให้เกิดความรู้สบายผ่อนคลายนอารมณ์  อยากสัมผัส  ส่วนพื้นผิวที่ดูหยาบขรุขระจะให้ความรู้สึกที่แข็งกระด้าง เป็นต้น
ผลงานของเฮนรี มัวร์ ซึ่งแสดงลักษณะพื้นผิวที่เรียบเนียน 
   
       5. พื้นที่ว่าง (Space)   บริเวณที่เป็นความว่าง  ไม่ใช่ส่วนที่เป็นรูปทรง หรือเนื้อหา  การกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมจะช่วยทำให้ผลงานดูแล้วสบายตา  ไม่อึดอัด  หรืออ้างว้างโดดเดี่ยว
    
       6.น้ำหนักอ่อน - แก่  (Value)  จำความเข้ม - ความอ่อนของสีและแสงเงาตามที่ประสาทตารับรู้เมื่อเทียบกับน้ำหนักของสีขาว - สีดำ เมื่อใช้น้ำหนักที่ต่างกันของสีและแสงเงา  จะทำให้เกิดรูปลักษณะต่างๆ
       ในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
      6.1 น้ำหนักอ่อน - แก่ของสี ในการใช้น้ำหนักอ่อน - ก่ ของสีนี้จะเ้ป็นลักษณะ 2 มิติ ได้แก่ ภาพเขียนต่างๆ ภาพพิมพ์  เมื่อมองด้วยสายตาจะเห็นระยะใกล้ไกล มีความลึก  นอกจากนี้ น้ำหนักอ่อน - แก่ของการใช้สียังแบ่งได้อีกหลายลักษณะ เช่น ใช้สีเดียว  หรือ หลายสีก็ได้  โดยวิธีการไล่น้ำหนักของสีจากสีเข้มไปจนถึงสีอ่อนสุด  หากใช้สีดำก็จะไล่น้ำหนักจากดำและให้จางลงไปจนถึงระยะขาว
     6.2 น้ำหนักอ่อน - แก่ี ของแสง - เงา  หมายถึง แสงสว่างและเงามืด  ซึ่งจะทำให้เกิดการมองเห็นสิ่งต่างๆ  เป้นลักษณะ 3 มิติ เช่น ทรงกลม  ทรงเหลี่ยม  เป็นต้น  มองเห็นความโค้ง  ความเบี้ยว  ความเว้า  เมื่อแสงสาดกระทบวัตถุที่มีสี  ส่วนที่ถูกแสงสว่างจะเป็นสีอ่อน ส่วนมืดจะอยู่ตรงกันข้ามกับด้านแสงส่องสว่างมากระทบ  ดังนั้น แสงและเงาจึงมีคุณค่าอ่อน - แก่ ปรากฏอยู่ร่วมกันบนวตถุตั้งแต่ส่วนที่สว่างจนถึงมืดดำ  น้ำหนักที่อ่อน กลาง  แก่  จะใช้ในการจัดองค์ประกอบศิลป์ด้วย

     7. สี (Colors) ปรากฏการณ์ของแสงที่ตกกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่ตาของมนุษย์  จึงทำให้มองเห็นเป็นสีต่างๆ ซึ่งสีจะปรากฏอยู่ในทุกสรรพสิ่ง  มีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์ ทั้งยังเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ส่งผลให้ผลงานมีความงดงามอีกด้วย
        7.1 หน้าที่ของสี  สีทำหน้าที่เช่นเดียวกับน้ำหนักใทุกประการ แต่เพิ่มหน้าที่พิเศษที่สำคัญที่สุดขึ้นอีกประการหนึ่ง นั่นคือ อิทธิพลของสีที่มีต่ออารมณ์  ความรู้สึกของการรับรู้  สีให้ความรู้สึกต่างๆ ดังนี้

           7.2 แม่สีและหลักการผสมสี   การที่เรามองเห็นวัตถุมีสีต่างๆ ได้นั้น เนื่องจากในแสงมีสีต่างๆรวมกันอยู่แล้วทุกสี  แต่ได้ผสมกันอย่างสมดุลจนกลายเป็นสีขาวใส เมื่อแสงกระทบวัตถุที่มีสี  วัตถุนั้นจะดูดสีทั้งหมดของแสงไว้แล้วสะท้อนสีที่เหมือนกับตัววัตถุออกมา  เราจึงมองเห็นสีของวัตถุนั้น เช่น แสงส่องมาถูกลูกโป่งสีแดง  สีแดงของลูกโป่งจะจับกับสีแดงในแสงแล้วสะท้อนสีแดงนั้นเข้าสู่ตาของเรา เราจึงมองเห็นลูกโป่งสีแดง
        นอกจากสีที่เกิดผลจากแสงแล้วยังมีสีที่ได้จากสารเคมีและจากวัตถุธรรมชาติมาสังเคราะห์เกิดเป็นสีต่างๆ  มากมาย เราเรียกว่า สีจากวัตถุธาตุ  ซึ่งหมายถึง วัตถุที่เป็นเนื้อสีอยู่ในตัวเอง  เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี  เป็นสีที่ช่างเขียนใช้ในการเขียนภาพ  รวมทั้งสีประเภททาอาคาร  บ้านเรือน  สีของเครื่องใช้ต่างๆ สีวัตถุธาตุสามารถนำมาผสมกันเป็นขั้นๆได้ดังนี้
        1) แม่มี หรือ สีขั้นต้น (Primary Colors) เป็นแม่สีของวัตถุธาตุ เป็นสีที่มีเนื้อแท้อยู่ในตัว  มีอยู่ 3 สีที่เราไม่อาจผสมกันได้คือ สีเหลือง  สีแดง และสีนำ้เงิน
        2) สีขั้นที่ 2 (Secondary Colors) เกิดจากการนำแม่สีทั้ง 3 มาผสมกันเข้าทีละคู่ ด้วยอัตราส่วนเท่ากัน จะได้สีขั้นที่ 2 หรือลูกสีเพิ่มขึ้นอีก 3 สี คือ สีส้ม  สีเขียว สีม่วง
สีขั้นที่ 2

      3) สีขั้นที่ 3 (Tertiara  Colors) เกิดจากการนำสีขั้นที่ 2 ผสมกับแม่สีทีละคู่ จะได้สีเพิ่มขึ้นอีก 6 สี คือ สีส้มเหลือง  สีส้มแดง  สีเขียวเหลือง  สีเขียวน้ำเงิน  สีม่วงแดง และสีม่วงน้ำเงิน
สีขั้นที่ 3
    
    สีขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 ทั้ง 12 สี รวมกันเป็นวงสีธรรมชาติ  ซึ่งถ้านำสีทุกสีมาผสมกัน จะได้สีเทาแก่ๆ เกือบดำ เรียกว่า สีกลาง  (Neutral Colors) หรือถ้านำแม่สี 3 สี มาผสมรวมกันเข้าก็ได้สีกลางเช่นเดียวกัน
     7.3 การนำสีไปใช้  ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ  สีเป็นทัศนธาตุหนึ่งที่สำคัญกว่ารูปทรงซึ่งถือว่าเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น  อย่างไรก็ตามการใช้สีมีทั้งยึดกฎเกณฑ์ หรือทฤษฎี และปราศจากกฎเกณฑ์ใดๆ การนำสีไปใช้เพื่อให้เกิดความงามทางศิลปะจึงจำเป็นต้องศึกษาเรื่องสีให้เข้าใจในประการสำคัญๆ เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
      1) วรรณะสี (Tone)  จากวงสีธรรมชาติ ในทางศิลปะได้มีการแบ่งวรรณะของสีออกเป็น 2 วรรณะ คือ สีวรรณะอุ่น (Warm Tone) ได้แก่ สีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น  หรือร้อน และสีวรรณะเย็น (Cool Tone) ได้แก่ สีที่ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบาย

          2) ค่าของสี (Value) หมายถึง สีใดสีหนึ่งที่เราทำให้ค่อยๆ จางลงจนขาว หรือดูสว่าง และทำให้ค่อยๆ เข้มขึ้นจนมืด ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 7 - 9 ระยะ ประโยชน์ในค่าของสีที่ใช้เพื่อการสร้างสรรค์งานก็คือ  ทำให้ได้ภาพที่เกิดระยะใกล้ไกลเหมือนจริงในธรรมชาติ  และเป็นลวดลายแสดงน้ำหนักอ่อน - แก่ที่งดงาม

           3) ความเด่นชัดของสี  (Intensity) หมายถึง สีที่ปรากฏเด่นในการเขียนภาพ ดดยการใช้สีสดใสให้ปรากฏเด่นขึ้นมาบนโครงสีส่วนรวมที่เป็นสีกลาง  หรือสีอ่อนจาง  ซึ่งจะช่วยให้ภาพสวยงาม  มีความน่าดูยิ่งขึ้น  เช่น ภาพธรรมชาติตอนพระอาทิตย์ใกล้จะตกดิน  ท้องฟ้าจะค่อยๆมืดลง สภาพสีส่วนรวมจะเป็นสีหม่นค่อนข้างไปทางมืด แต่ดวงอาทิตย์และบริเวณที่ดวงอาทิตย์กำลังจะลับขอบฟ้าจะมีแสงสดใสสาดส่องกระทบกับก้อนเมฆ เป็นภาพที่สวยงามมาก

      4) สีเอกรงค์ (Monochrome) หมายถึง สีที่แสดงความเด่นชัดออกมาเพียงสีเดียว หรือใช้เพียงสีเดียวในการเขียนภาพ โดยให้มีค่าอ่อน กลาง แก่ ลักษณะคล้ายกับภาพถ่ายสีเดียว ขาวดำ หรือจะใช้สีอื่นเป็นหลักแล้วไล่น้ำหนักเพิ่มลดความเข้มตามที่ต้องการในภาพ สีเอกรงค์ที่นิยมใช้ ได้แก่ สีน้ำตาล  ดำ น้ำเงิน แม้เป็นเพียงการใช้สีเพียงสีเดียว แต่ก็ให้ความงดงามและคุณค่าเช่นเดียวกันกับภาพที่ใช้หลายสี

        
       5) สีคู่ตรงข้าม ( Complementary  Colors) หมายถึง สีที่อยู่ตรงกันข้ามกันในวงสีธรรมชาติ  เป็นคู่สีกัน คือ สีคู่ที่ตัดกัน หรือเรียกว่า สีตรงกันข้ามหรือสีตัดกัน (Contrast) ถ้านำมาใช้คู่กันจะทำให้เกิดความรู้สึกตัดกันอย่างรุนแรง  คู่สีนี้ถ้านำมาผสมกันจะได้เป็นสีกลาง แต่ถ้านำสีหนึ่งเจือลงไปในสีคู่ของมันเล็กน้อย จะทำให้สีนั้นหม่นๆลง ถ้าเจือมากจะหม่นมาก จิตรกรบางกลุ่มใช้สีคู่ตรงข้ามนี้แทนสีดำในการทำให้อีกสีหนึ่งหม่นลง










ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)