ประเภทของการออกแบบ (ทัศนศิลป์ ม.4)

     การออกแบบทางศิลปะแบ่งออกเป็น 2 สาขาใหญ่ๆ  คือ สาขาวิจิตรศิลป์ (Fine Art) และสาขาประยุกต์ศิลป์ (Applied Art)  ทั้ง 2 สาขานี้แตกต่างกันในด้านวัตถุประสงค์ของงานที่สร้างสรรค์  สาขาวิจิตรศิลป์เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อชื่นชมในคุณค่าของศิลปะโดยตรง มิได้มุ่งไปที่ประโยชน์อย่างอื่น  ส่วนสาขาประยุกต์ศิลป์นั้นมุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ  งานออกแบบทางศิลปะที่จัดเป็นประเภทประยุกต์ศิลป์ แบ่งออก้ป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

      1. การออกแบบตกแต่งในอาคารสถานที่
          การออกแบบตกแต่งภายใน หมายถึง การออกแบบและการจัดตกแต่งโดยนำเอาวัสดุเครื่องใช้  เครื่องเรือน มาจัดวางให้เป็นระเบียบแบบแผนตามหลักการจัดการทางศิลปะให้เกิดคุณค่าทางความงามควบคู่ไปกับประุโยชน์ใช้สอย
      ในบรรดาศิลปะการตกแต่งทั้งหลาย  การตกแต่งภายในอาคารถือได้ว่าเป็นศิลปะการตกแต่งหลักของอาคาร  เนื่องจากเป็นการจัดผัง  หรือจัดห้องให้เหมาะสมกับชีวิตความเป็นอยู่ของเราเอง  และแสดงให้เห็นในเรื่องการพัฒนารสนิยมด้านความเป็นอยู่ ศิลปะการออกแบบตกแต่งภายในยังแบ่งออกได้ดังนี้
     1.1 ศิลปะการตกแต่งภายในอาคารพักอาศัย   เช่น บ้าน  อพาร์ตเมนต์  หรือแฟลต ห้องแถว  หรือทาวน์เฮาส์ โรงแรม เป็นต้น  ซึ่งแต่ละชนิดก็มีหลักของศิลปะการตกแต่งใกล้เคียงกัน

   1.2 ศิลปะการตกแต่งภายในอาคารประเภทอื่น  ในปัจจุบันระบบวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมบังคับให้ต้องไปทำงานนอกบ้าน  ในวัยเยาว์ก็ไปโรงเรียนเพื่อการศึกษาเล่าเรียน อาคารสำหรับการประกอบอาชีพของมนุษย์  อาคารทางการศึกษาเล่าเรียนจึงเกิดขึ้นมากมาย  การตกแต่งภายในก็มักจะดูโอ่อ่ามั่นคง  หรือเป็นแบบเรียบง่าย  ออกแบบได้หลากหลายตามรสนิยมที่เหมาะสำหรับคนทั่วๆไป เช่น อาคารสำนักงาน  อาคารธุรกิจ  อาคารเรียน  อาคารห้องสมุด เป็นต้่น

     1.3 ศิลปะการตกแต่งภายในสำหรับการจัดงาน  มนุษย์ทุกหมู่เหล่าย่อมมีประเพณีวัฒนธรรมของสังคมและมักจะมีการร่วมกันจัดงานในโอกาสต่างๆ กัน เช่น งานเลี้ยงพิธีมงคลสมรส งานพิธีทางศาสนา งานแสดงผลงาน หรือนิทรรศการ เป็นต้น ซึ่งต้องมีการจัดเอเกสารมีการจัดตกแต่งสถานที่ให้เกิดความรู้สึกหรูหรา  หรือได้บรรยากาศที่เหมาะสมกับงานตลอดจนแตกแต่งเวทีสำหรับการแสดง หรือเพื่อดำเนินการตามพิธีต่างของงาน

       1.4 ศิลปะการตกแต่งสวนภายในบ้าน หรือภายในอาคาร   จากวัฒนธรรมของความเป็นอยู่และดินฟ้าอากาศที่มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์อย่างมาก  มนุษย์ทุกสังคมมีแนวคิดในศิลปะการตกแต่งภายในอาคารที่แตกต่างกัน  แต่มีสิ่งที่คล้ายคลึงกัน คือ ความต้องการใกล้ชิดธรรมชาติ  ในวิถีชีวิตขิงสังคมไทยแม้ว่าจะมีโอกาสใช้ชีวิตกลางแจ้งมาก แต่ก็ยังมีสังคมเฉพาะที่ดำเนินชีวิตท่ามกลางความแออัดยัดเยียดในเมืองใหญ่  เช่น กรุงเทพมหานคร   ที่พักอาศัยถูกจำกัดด้วยความคับแคบของบริเวณ  จึงมีความคิดในการดึงธรรมชาติเข้าไปในอาคารด้วยการใช้ศิลปะการตกแต่งภายในอาคารโดยการจัดสวนหย่อม สวนถาด หรือไม้ดัด ไม้กระถาง เป็นงานออกแบบที่มีส่วนช่วยให้เกิดความรู้สึกพักผ่อน  รื่นรมย์  สงบร่มเย็น  เป็นต้น



    2. การออกแบบผลิตภัณฑ์
        ผลิตภัณฑ์  หมายถึง การผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ  การออกแบบผลิตภัณฑ์จึงจำเป็น  การนำเอาหลักการออกแบบมาสร้างสรรค์  ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต่างๆ  หรือสินค้าให้เกิดลักษณะเด่น  สะดุดตา  ดึงดูดความสนใจ  ผู้บริโภคเห็นแล้วอยากจะซื้อ  จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันงานออกแบบจะมีควาสำคัญอย่างมากต่อการผลิตสินค้าในเชิงธุรกิจการค้า  จึงมีการพัฒนาการออกแบบให้ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง  เช่น นาฬิกา  โทรศัพท์มือถือ  รถยนต์  เป็นต้น ซึ่งล้วนรูปแบบใหม่ๆที่สะดุดตา
  


     3. การออกแบบสื่อสาร
         สื่อสาร  หมายถึง การส่งข่าวสาร ข้อมูลของฝ่ายหนึ่งไปสู่ยังอีกฝ่ายหนึ่ง การออกแบบสื่อสารเป็นการออกแบบที่มุ่งให้สื่อส่งไปนั้นเข้าใจง่าย  จดจำง่าย  ดึงดูดความสนใจด้วยวิธีการทำเป็นแผ่นป้ายภาพสัญลักษณ์  ป้ายโฆษณา  และการเผยแพร่ภาพทางโทรทัศน์

    4. การออกแบบสิ่งพิมพ์
        ศิลปะการพิมพ์  หรือสิ่งพิมพ์ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า  Graphic arts or  Graphics  กล่าวในด้านวิจิตรศิลป์ หมายถึง  กระบวนการสร้างสรรค์ที่ทำให้เกิดรูปถอดแบบจำนวนมากซึ่งเหมือนกับผลงานพิมพ์ต้นแบบ  ต้นแบบที่เกิดจ การวาด   การแกะสลักเป็นลายเส้นเป็นร่องแล้วใช้น้ำกรดกัดให้เกิดเป็นเส้น  หรือร่องบนพื้นผิวระนาบนั้น การพิมพ์ทางด้านวิจิตรศิลป์นี้ เป็นศิลปะภาพพิมพ์อันเป็นการพิมพ์ทางด้านทัศนศิลป์ที่แสดงออกถึงความงดงามเป็นสำคัญ
     ในด้านพาณิชยศิลป์แล้ว  คำว่า  ศิลปะการพิมพ์ หรือเรียกว่า ศิลปะทางสิ่งพิมพ์นั้นถูกใช้ในความหมายที่กว้างขวางกว่า  ซึ่งรวมกระบวนการพิมพ์ทุกแขนงทั้งที่เป็นการพิมพ์ของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ด้านการพาณิชย์ และยังรวมเอาการพิมพ์ที่นำไปใช้ผลิตหนังสือพิมพ์และผลงานศิลปะ
     อย่างไรก็ตาม กว่าจะได้ผลงานทางศิลปะเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ที่มีความสมบูรณ์ได้นั้นจะต้องเริ่มต้นด้วยรอยขีดพเขียนจนกลายเป็นลวดลาย  เป็นตัวอักษร  หรือรูปภาพต่างๆ  แล้วนำมาจัดวางตามหลักของการออกแบบทางศิลปะ  สิ่งที่ได้  คือ ความงามและประโยชน์ของการนำไปใช้ผลงานทางศิลปะเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์หลายๆชนิดนี้  รวมเรียกว่า  นิเทศศิลป์
   งานออกแบบนิเทศศิลป์  จึงเป็นการเรียนรู้ในสาขาที่มีความหลากหลายของชนิดสิ่งพิมพ์ที่นักเรียนควรเรียนรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของอาชีพและโดยเฉพาะการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา  ซึ่งมีสาขาการออกแบบนิเทศศิลป์เปิดทำการเรียนการสอนอย่างแพร่หลายในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง  เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดด้านธุรกิจในยุคอุตสาหกรรมและวิทยาการสมัยใหม่
     สำหรับคำว่า   การออกแบบสิ่งพิมพ์  หรือ Graphic  Design  จากทัศนะของนักการศึกษาทางด้านศิลปะและนักออกแบบได้ให้ความหมาย ดังนี้
     1) ผลงานการออกแบบลักษณะต่างๆ เพื่อให้ผู้คนได้อ่าน เช่น วารสาร  นิตยสาร  การโฆษณา  ภาพยนต์  โทรทัศน์  นิทรรศการ เป็นต้น
     2) ผลงานการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเครื่องหมาย  และการออกแบบเกี่ยวกับการพิมพ์ต่างๆ ที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรม
    3) ผลงานการออกแบบเพื่อเผยแพร่  มุ่งชักชวน  เรียกร้อง  หรือเผยแพร่ผลิตภัณฑ์  การบริการ  และเสนอความคิดต่างๆ  งานออกแบบบรรจุภัณฑ์  งานโฆษณา ซึ่งเป็นงานในลักษณะสิ่งพิมพ์
     จากความหมายของการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดังกล่าว  เราจะเห็นขอบข่ายงานที่กว้างขวาง  เป็นการออกแบบที่สัมพันธ์กับทัศนศิลป์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการออกแบบระนาบ 2 มิติ และมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการออกแบบนิเทศศิลป์ในอันที่จะต้องเตรียมการเพื่อนำเสนอข่าวสารต่อผู้ดู  ผู้อ่าน  ให้สามารถรับรู้ความหมายและแปลความได้ทางสายตาผ่านสื่อกลางต่างๆ เช่น ตัวอักษร  เครื่องหมาย  สัญลักษณ์   รูปภาพ  และรูปแบบอื่นๆ  เป็นต้น  ซึ่งต้องผ่านกรรมวิธีขีดเขียน  การพิมพ์   การบันทึกภาพ  รวมทั้งเทคนิคการสร้างภาพต่างๆ  โดยใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกล  ให้เกิดเป็นรูปร่างที่ประณีต  เรียบร้อย  สวยงาม  เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารและโน้มน้าวจิตใจของกลุ่มเป้าหมายตามที่ต้องการได้
      การออกแบบสิ่งพิมพ์มีความสัมพันธ์กันกับการออกแบบสื่อสาร  (Communication Design)  เพราะการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการออกแบบสื่อสาร  ได้แก่ ภาพถ่าย  ภาพยนต์  วีดิทัศน์  หรือการถ่ายภาพไปสู่จอโทรทัศน์  การออกแบบที่ต้องใช้สิ่งพิมพ์เข้ามาเกี่ยวข้องนั้นรวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์  บรรจุภัณฑ์  ซึ่งเป็นการสื่อสารไปถึงกลุ่มเป้าหมาย สิ่งที่ควรคำนึงอย่างมากก็คือ  ผู้ออกแบบจะต้องมีทักษะในการทำงาน  มีแนวคิดที่ก้าวหน้า ทันสมัยทั้งความรู้  ประสบการณ์  และเทคนิคต่างๆ
      1. ความสมสำคัญของการออกแบบสิ่งพิมพ์   การออกแบบสิ่งพิมพ์เกิดขึ้นมานานพร้อมกับวิวัฒนาการสื่อสารของมนุษย์  จากเพียงเพื่อสื่อความหมายให้เข้าใจก็พัฒนามารวมกับความงามของการออกแบบด้วย
      การสื่อความหมาย  การเผยแพร่ข่าวสาร  และความรู้สึกนึกคิดต่างๆ  ไปยังผู้รับสารในลักษณะของการสื่อสารด้วนลายเส้น  หรือการวาดภาพ  ซึ่งรูปแบบก็มีลักษณะแตกต่างกันไปตามความเจริญก้าวหน้าของสังคมในแต่ละยุค  ความนิยม  ตลอดจนทักษะความสามารถและภูมิปัญญาของนักออกแบบไปแต่ละช่วงเวลา  จึงนับว่าการออกแบบสิ่งพิมพ์มีส่วนช่วยพัฒนาสร้างสรรค์สังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์  ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้
        1.1) การออกแบบสิ่งพิมพ์มีส่วนสร้างสรรค์ข้อตกลงร่วมกันของคนในสังคม    ในสังคมมนุษย์  องค์ประกอบสำคัญแห่งการดำรงอยู่ของคนหมู่มาก คือ การมีความเคารพในระเบียบ  กฎเกณฑ์  ที่มีการยอมรับเป็นข้อตกลง  เป็นแนวประพฤติปฏิบัติร่วมกัน  อาจเป็นการตกลงด้วยวาจา  ด้วยตัวอักษร  หรือความเชื่อ  ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาไม่ว่าจะเป็นข้อตกลงร่วมกันประเภทใดก็ตาม  ข้อตกลงที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่สามารถรับรู้  เข้าใจ  จดจำ  และปฏิบัติได้ 
       ดังนั้น  การออกแบบสิ่งพิมพ์จึงได้เข้ามามีส่วนช่วยเสริมสร้างการรับรู้ทางการมองเห็น  เป็นสื่อกลางช่วยการรับรู้ในข้อตกลงต่างๆ  ให้มีประสิทธิภาพ  มีความชัดเจน  ซึ่งมีผลทางด้านจิตวิทยาที่ต้องจำไว้เป็นข้อเตือนใจและข้อควรระวังในระบอบระเบียบ  กฎเกณฑ์ที่จะปฏิบัติต่อกันและสืบไป  เพื่ีอความคงอยู่ของสังคมที่ร่มเย็นโดยปรากฏออกมาเป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์และข้อตกลงต่างๆ   เช่น เครื่องหมายบอกทิศทางคมนาคม เครื่องหมายจราจร  สัญลักษณ์สื่อความหมายต่างๆ คือ ห้ามใช้เสียง  ระวังของแตก  ห้ามเปียกน้ำ  เป็นต้น  ซึ่งเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ต่างๆ  เหล่านี้  จะต้องอาศัยการออกแบบให้มีขนาดรูปทรงและสีที่ชัดเจน  มีความประณีต  สวยงาม  เพื่อความเหมาะสมสำหรับการมองของมนุษย์




       1.2) การออกแบบสิ่งพิมพ์ มีส่วนเสริมสร้างข่าวสารให้สะดุดตา น่าสนใจ    ข่าวสารใดๆ  ก็ตามที่นำมาเสนอเพื่อให้ได้ผลถึงกลุ่มเป้าหมาย  ย่อมต้องการให้เป็นที่สนใจของผู้ชม  ผู้อ่าน  นักออกแบบจึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างความสนใจให้กับข่าวสารนั้นๆ  โดยการออกแบบและปรับปรุง  เพิ่มเติมเสริมแต่งด้วยความรู้ทางศิลปะและใช้หลักจิตวิทยาทางการรับรู้เข้าช่วยในด้านการจัดวางรูปแบบปรับเปลี่ยนข้อความรูปภาพที่เป็นข้อมูลเดิมให้เป็นการนำเสนอข้อความที่กระชับ  สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

      1.3) การออกแบบสิ่งพิมพ์ช่วยส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจการค้าและวงการอุตสาหกรรม    ปัจจุบันการออกแบบสิ่งพิมพ์นับว่ามีความสำคัญต่อวงการธุรกิจและวงการอุตสาหกรรมอย่างมาก  โดยเฉพาะวงการอุตสาหกรรมการพิมพ์ เพราะในยุคของการค้าเสรีที่มีการแข่งขันกันสูง ผู้บริโภคมีจำนวนมากขึ้น  ผู้ผลิตสินค้าทั้งหลายจึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงคุณภาพการผลิตสินค้า ปรับปรุงรูปแบบของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์  ตลอดจนต้องมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดธุรกิจโฆษณามากขึ้น  การออกแบบเพื่อการค้าก็เกิดตามมามากมายหลายรูปแบบตามลักษณะของการสื่อสาร  เช่น การออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์  การออกแบบโฆษณาทางโทรทัศน์  หนังสือพิมพ์  นิตยสาร  แผ่นโปสเตอร์  ตลอดจนสิ่งพิมพ์อื่นๆ  ที่ใช้ประกอบธุรกิจการค้า เป็นต้น

        2. ประโยชน์ของการออกแบบสิ่งพิมพ์ที่มีต่อธุรกิจการค้า   ได้แก่
        2.1) ช่วยสร้างเอกลักษณ์   เป็นการออกแบบเครื่องหมายการค้าของบริษัทและตราสัญลักษณ์ของสินค้า  เพื่อใช้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน  จะช่วยสร้างการจดจำให้กับผู้บริโภค สร้างความน่าเชื่อถือในคุณภาพสินค้า
       2.2) สร้างภาพที่ดีให้กับสินค้า   การออกแบบจะช่วยสื่อให้เห็นรูปร่างสินค้าภายนอกที่สวยงาม โดยมีข้อความ  ภาพประกอบ  การจัดวาง  และออกแบบสีสันที่เด่นสะดุดตา เหมาะสมกับประเภทสินค้า  เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็น  ช่วยให้เกอดความไว้วางใจ น่าเชื่อถือ  เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์และคุณภาพสินค้าที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์อีกด้วย
     2.3) ช่วยในการจำแนกสินค้า    การออกแบบช่วยให้เห็นความแตกต่างของประเภทสินค้า  เป็นการช่วยจำแนกประเภทสินค้าด้วยการออกแบบสื่อให้ผู้บริโภคจำชนิด หรือ ประเภทและคุณสมบัติของสินค้าได้อย่างดีและกว้า่งขวางมากขึ้น
   2.4) ช่วยให้เกิดการพัฒนาระบบธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม   ทำให้เกิดการพัฒนาเครื่องมือ  เครื่องใช้ วัสดุ อุปกรณ์  ตลอดจนเทคโนโลยีต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ เพราะนักออกแบบจะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและทักษะปฏิบัติ จำเป็นจะต้องเรียนรู้  คิดค้น ทำความเข้าใจกับวิยาการใหม่ๆ ซึ่งจะต้องนำมาบูรณาการกับความรู้ ความสารถจากศาสตร์หลายสาขาเพื่อออกแบบสื่อความหมาย  พัฒนากระบวนการผลิตและจำหน่ายอย่างมีประสิทธิภาพ  การแข่งขันทางธุรกิจการค้าเท่ากับเป็นช่องทางให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีการออกแบบ  อันจะเป็นผลแห่งความเจริญก้าวหน้าทั้งทางการค้าและการพัฒนาสังคมในที่สุด

      3. หลักการดำเนินงานออกแบบสิ่งพิมพ์    ผู้ออกแบควรมีหลักการและข้อควรคำนึงก่อนเริ่มทำงานเพื่อการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง  มีการวางแผนดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  ตลอดจนสามารถดำเนินการตามกระบวนการโดยไม่ต้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ซึ่งส่อถึงการทำงานที่ขาดระบบที่ดี  นอกจากนี้อาจทำให้เกิดการสูญเสียและสิ้นเปลืองปัจจัยต่างๆดดยใช่เหตุ   เมื่อมีการเริ่มต้นที่  แผนงานการออกแบบก็ย่อมมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
    สำหรับหลักการดำเนินงานและการวางแผนขั้นตอนของการออกแบบสิ่งพิมพ์ที่ดีจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ 

         4.ส่วนประกอบในงานออกแบบสิ่งพิมพ์   ส่วนประกอบในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ที่สำคัญ  คือ ตัวอักษรและภาพประกอบ ทั้งตัวอักษรและภาพประกอบมีความสำคัญไม่แพ้กันและมีความสัมพันธ์กันอย่างมากในการทำให้งานสิ่งพิมพ์นั้นสมบูรณ์ในเนื้อหา  ทำให้ผู้รับข่าวสารรับได้ชัดเจน  ไม่เกิดความสงสัยหรือเข้าใจคลุมเครือต่อเรื่องราวที่นำเสนอตัวอักษรมีบทบาทในการอธิบายเนื้อหาที่ต้องการสื่อความหมาย  ในขณะที่ภาพประกอบจะช่วยเสริมความหมายให้เด่นชัด  เข้าใจง่ายขึ้น
            4.1) ตัวอักษร    จัดเป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอันดับแรกของการออกแบบ ซึ่งนักออกแบบจำเป็นต้องมีการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดและการผลิตตัวอักษร  เป็นต้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจและนำตัวอักษรมาใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม  จึงต้องมีความรู้ในเรื่องการนำไปใช้  ซึ่งงานออกแบบด้านตัวอักษรที่มีการนำไปใช้  แบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้
              (1) ใช้ตัวอักษรเพื่อดึงดูดสายตา   การออกแบบตัวอักษรลักษณะนี้ใช้เพื่อการตกแต่ง  หรือการเน้นข้อความข่าวสารให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน  ตัวอักษรควรมีขนาดใหญ่  มีความเด่นเป็นพิเศษ  ข้อความไม่ยาว  เช่น การพาดหัวเรื่อง  คำประกาศ   คำเตือน  คำรณรงค์ต่อต้าน  ส่วนประกอบที่เป็นภาพจะเป็นผู้อธิบายเนื้อหาเรื่องราว เป็นต้น
             (2) ใช้ตัวอักษรเพื่อบรรยาย  หรืออธิบายเนื้อหา  การออกแบบตัวอักษรลักษณะนี้จะใช้ตัวอักษรที่มีขนาดเล็ก  เพื่อให้สอดคล้องกับข้อความที่ค่อนข้างยาว  เพื่อการบรรยาย  หรืออธิบายเนื้อหาปลีกย่อยของข่าวสารที่ต้องการเผยแพร่
           4.2) ภาพประกอบ  ภาพประกอบที่นำมาใช้ในงานออกแบบประเภทต่างๆ นั้น มีหลายลักษณะ  หลายรูปแบบของการสร้างสรรค์ โดยวัตถุประสงค์ของการมีภาพประกอบในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ ได้แก่

        
        3.5  การออกแบบสัญลักษณ์
               สัญลักษณ์  หมายถึง  สิ่งที่ใช้แทนการอธิบายด้วยคำพูดหรือการเขียนข้อความในการส่งข่าวสารข้อมูลจากฝ่ายหนึ่งไปสู่อีกฝ่ายหนึ่ง  เพื่อความสะดวก  รวดเร็ว  และขจัดปัญหาความไม่เข้าใจ  หรือไม่คุ้นเคยทางภาษา  สัญลักษณ์บางอย่างสามารถเข้าใจร่วมกันและเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วไป  เช่น สัญลักษณ์ทางการจราจร สัญลักษณ์ของห้องสุขา  สำหรับสัญลักษณ์ทางการค้า ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของสถานประกอบการธุรกิจต่างๆ  เป็นสัญลักษณ์ที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ซื้อจดจำตัวสินค้าแต่ละชนิดได้  เป็นต้น
          1) ลักษณะของการออกกแแบบสัญลักษณ์    มีดังนี้
              1.การออกแแบบโดยใช้ตวอักษรย่อ  หหรรือใช้คำเต็มสำหรับข้อความสั้้นๆ 
              2.กการออกแบบโดยใช้้ภาพแสดดงความหหมายของสิ่งนั้นๆ หรรือกหนดให้ภภาพเเป็นสัญลักษณ์หหรรือเครื่องหมายการค้า
             3.การออกแบโดยรววมเอาตัวอักษรกับภาพเข้าด้วยกั
             4.การออกแบจากอุดมกรณ์เป็นสัญลักาณ์แบบนนามธรรม  ดดยใช้รูปทรงเรขาคณิต หรรือรูปทรงอิสระ
       2) หลักเกรฑ์พื้นฐานของกากรออกแแบบสัญลักษณ์   การออกแบบสัญลักษณ์ที่ดีจะต้องมีหหลลักเกกณฑ์พื้นฐาาน ดังนี้
             1.มีความประณีต  เรียบร้อย  ตัดทอนรายละเอียดออก
             2.ดูเข้าใจง่าายและจำได้ง่าย
             3.ดึงดูดคววามสนใจได้ดี  สะดุดตา
             4.ไม่ล้าสมัย
      ผลงานการออกแบบสัญลักษณ์นั้น  เมื่อออกแบบเสร็จเรียบร้อยเป็นต้นฉบับแล้วและจะเผยแพร่ทางสิ่งพิมพ์  ก็ต้องผ่าานกระบวนการพิมพ์  แต่หากประสงค์จะทำเป็นสัยลักษณ์ที่ติดตั้งเป็นป้ายแสดง  ก็ต้องจัดทำด้วยวัสดุต่างๆ  เป็นรูปลักษณ์ หรืออาจเป็นวัสดุชนิดต่างๆ จัดวางร่วมกันกับส่วนที่เป็นสิ่งพิมพ์ ซึ่งขึ้นอยู่กับแบบที่สร้างสรรค์ไว้






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)