หลักการออกแบบ (ทัศนศิลป์ ม.4)

       1. ความหมายและความสำคัญของการออกแบบ
   การออกแบบ  หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อประโยชน์และความงาม ด้วยการนำทัศนธาตุทางศิลปะและหลักการจัดส่วนประกอบของการออกแบบมาใช้  รวมถึงการปรับปรุงของเดิมที่มีอยู่แล้วมาดัดแปลงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
     กระบวนการที่สำคัญที่สุดในการสร้างสรรค์ประเภททัศนศิลป์นั้นจะดูดี สวยงาม แปลกใหม่ สื่อความหมายได้ชัดเจนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ การออกแบบอย่างมีคุณภาพในงาน ผู้ออกแบบจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนทักษะพื้นฐานในเรื่องของการใช้ทัศนธาตุและหลักการออกแฐทางศิลปะมาเป็นองค์ประกอบหลักในกระบวนการสร้างสรรค์งาน จึงจะก่อให้เกิดความงามในลักษณะต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ได้  ดังนั้น การสร้างสรรค์สิ่งใดก็ตาม สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การออกแบบ จากขั้นตอนแรกเป็นการออกแบบเป็นภาพจินตนาการในสมอง เป้นการออกแบบโดยการคิด จากนั้นก็ถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นรูปธรรมที่มองเห็นได้  อาจเป็นภาพหรือแบบจำลองที่มีรูปทรง  ขนาดสัดส่วน ให้สามารถมองเห็นผลงานที่จะสร้างขึ้นได้อย่างชัดเจน
         นอกจากการเรียนรู้ถึงความหมายและความสำคัญของการออกแบบแล้ว  สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ลักษณะสำคัญของการออกแบบ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
         1. ความสามารถในการปรับปรุงผลผลิต  หรือผลงานที่มีอยู่เดิมให้ดูแปลกใหม่มากขึ้น
         2. ผลงานที่ออกแบบต้องสอดคล้องกับประโยชน์และหน้าที่ใช้สอย
         3. ผลงานมีความกลมกลืน  มีสัดส่วนที่เหมาะสม  มีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
         4. มีการจัดองค์ประกอบที่งดงาม
         5. ผู้ออกแบบต้องมีความสามารถในการวางแผนดำเนินการให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้น  ตั้งแต่การเลือกวัสดุให้สอดคล้องกับรูปแบบตามที่คิดสร้างสรรค์ไว้

        2. พัฒนาการของการออกแบบ 
        ในอดีตกาล มนุษย์มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ มีวิถีชีวิตที่กลมกลืนกับธณมชาติมีการดำเนินชีวิตอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามกาลเวลา  ไม่มีการแข่งขันทางการค้าใดๆ ต่อมามนุษย์เริ่มรู้จักแก้ปัญหาต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นการแก้ปัญหา  หรือคิดหาสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น รู้จักหาสิ่งมาปกปิดร่างกาย สร้างที่พักอาศัย  ทำเครื่องมือ เครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ เป็นต้น การที่มนุษย์พยายามสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และมีความคิดในการปรับปรุงตนเอง รวมทั้งสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ  ถือได้ว่าเป้นการออกแบบเพราะรู้จักคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆขึ้นมา รู้จักแก้ปัญหาโดยอาศัยสิ่งที่มีอยู่ในะณมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีพทั้งของตนเองและสังคม  ซึ่งกล่าวได้ว่ามนุษย์มีการออกแบบตั้งแต่ยุคโบราณ  แต่เป็นการออกแฐเพื่อการดำรงชีวิตซึ่งยังไม่มีรูปแบบขั้นตอน หรือรูปลักษณ์ของงานออกแบบเช่นปัจจุบัน
             การออกแบบมีพัฒนาการตามยุคสมัยต่อๆมา จากยุคสังคมเกษตรกรรม สุ่ยุคสังคมอุตสาหกรรม  ในยุคสังคมอุตสาหกรรมได้มีความชัดเจนมากขึ้นในรูปลักษณ์ของงานออกแบบ สร้างสรรค์  เพราะเป็นระยะเวลาที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ โดยการเฉพาะสาขาฟิสิกส์ในเรื่องแรงโน้มถ่วง  พลังงานไฟฟ้า แสง เสียง คุณสมบัติจากวิทยาการสาขาต่างๆ ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชนืทางการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักรกลเพื่อการผลิต  ผลงานการออกแบบจึงเป็นลักษณะของช่างฝีมือ  หรืองานฝีมือมากกว่าการให้ความสำคัยทางศิลปะ  ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะงานออกแบบและวิธีการทำงานของศิลปิน
              การออกแบบทางเครื่องจักรทำให้ได้ผลงานที่มีรูปลักษณะและรูปแบบที่มีกระแสต่อต้านว่าไร้รสนิยม  อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าจึงต้องเร่งระดมบรรดาศิลปิน  ช่างฝีมือ และผู้ผลิตประสานกัน  เพื่อการพัฒนารูปแบบที่ผลิตด้วยเครื่องจักรกล  ให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบของงานศิลปะสร้างสรรค์นอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยหลัก
      กระแสการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงของศิลปะการออกแบบจึงก้าวหน้าเข้ายุคของการแข่งขันระหว่างคู่แข่งในตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ภายหลังได้พัฒนาการออกแบบมาเป็นเจาะจงเฉพาะประเภท เช่น ออกแบบรูปลักษณ์ของภาพยนตร์ อาคารบ้านเรือน   เป็นต้น  ด้วยเหตุนี้ นักออกแบบสมัยใหม่จึงต้องมีความรอบรู้ทางวิทยาการในแต่ละศาสตร์  และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ควบคู่กันไป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา  งานออกแบบถือได้ว่าเป็นอาชีพหนึ่งที่จะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ และเป็นอาชีพที่มีรายได้สูงไม่แพ้อาชีพสำคัญอื่นๆ

       3. แนวคิดในการออกแบบ  
           การสร้างสรรค์ผลงานของมนุษย์นั้นมีสิ่งต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดแนวคิดในการออกแบบ ซึ่งประกอบด้วยเรื่องดังต่อไปนี้
      3.1) แนวคิดจากธรรมชาติ    ธณมชาตินั้นนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อการออกแบบ เพราะสิ่งต่างๆในธรรมชาติประกอบไปด้วยรูปทรงที่มีรูปลักษณะสมบูรณ์ลงตัวและรูปทรงที่มีรายละเอียดสลับซับซ้อนทั้งลีลา  จังหวะ และสีสันสวยงาม เป็นสิ่งที่่มีอยู่ในธรรมชาติทั้งประเภทไม่มีชีวิตและประเภทมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช ก้อนหิน ภูเขา ลำธาร ผิวน้ำที่พริ้วไหว เป็นต้น ซึ่งนับเป็นแนวคิดที่ได้จากธรรมชาติ
     แม้ว่าความวิจิตรงดงามที่เกิดจากธรรมชาติเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่ได้สามารถจะสร้างสรรค์ให้เหมือนได้  แต่มนุษย์ก็ได้อาศัยข้อมูลต่างๆ จากธรรมชาติมาใช้ในงานออกแบบ ซึ่งจะมีกระบวนการกลั่นกรอง  ขัดเกลา ปรับเปลี่ยน ดัดปลงให้เหมาะสม  กลมกลืนตรงตามวัตถุประสงค์ของงานออกแบบ

             3.2 แนวคิดจากประสบการณ์   ประสบการณ์จากการศึกษาค้นคว้า สะสมความรุ็เกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ หรืองานออกแบบต่างๆ ที่รอบนั้นเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่ของตน  สิ่งต่างๆ ที่เราได้พบเห็นและเรียนรู้มาล้วนได้ผ่านการออกแบบแล้วทั้งสิ้น  ซึ่งนักออกแบบจะได้รับประสบการณ์ในการออกแบบสะสมกันเรื่อยมา บางอย่างก็เป็นประสบการณ์ ที่เคยเป็นผลงานในอดีตแล้วนำมาปรับปรุงใหม่ เช่น หม้อดินเผา  รูปร่างลักษณะของหม้อดิน ในปัจจุบันกับอดีตอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่โครงสร้างใหญ่ๆ ก็ยังคงคล้ายคลึงกับหม้อดินเผาในสมัยก่อนประวัติศาสตร์  เป็นต้น
            3.3 แนวคิกจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี      ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว โดยเฉพาะการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการออกแบบ ทำให้เกิดความสะดวก สบายและมีความแม่นยำสูงในการคิดคำนวณ เช่น การออกแบบสิ่งก่อสร้าง  ผู้ออกแบบสามารถคิดคำนวณการรับน้ำหนักจากการใช้ความโค้งที่ก่อสร้างขึ้นจากการเรียงอิฐก้อนเล็กๆ ต่อกัน และยังคำนวณการถ่ายแรงจากหลังคาไปตามส่วนโค้งลงสู่เสา หรือกำแพงได้   ซึ่งแตกต่างจากอดีตที่ต้องอาศัยประสบการณ์เฉพาะตนของผู้ออกแบบ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เป็นต้น
            ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถประสานกลมกลืนได้กับจินตนาการทางศิลปะในการออกแบบเพื่อประดิษฐ์ หรือสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ประโยชน์ที่แลเห็นได้อย่างชัดเจนในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบก็คือ ความรวดเร็วของการออกแบบและการปรับแก้ไขแบบ แม่นยำ ดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น

        4. หลักในการออกแบบ 
         หลักที่จะเป็นแนวทางสหรับการออกแฐ เพื่อให้มีคุณค่าทางความงาม จะต้องพิจารณาถึงประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
         4.1 โครงสร้างทั้งหมด  โครงสร้าง หมายถึง ตัววัสดุ ระนาบที่รองรับ รวมทั้งความคิดที่นำมาใช้ในการออกแบบ เช่น การถ่ายทอดรูปแบบ  เรื่องราว การใช้วัสดุ  คุณสมบัติ ของวัสดุและสื่่่อที่ใช้ เป็นต้น
          โครงสร้างนับเป็นส่วนสำคัญทั้งหมดของงาน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ช่วยเน้นให้เห็นความเด่นความสำคัญของส่วนประธาน  การเน้นของส่วนรองอาจมีลักษณะขัดแย้งกับส่วนประธานก็ได้ แต่ทั้งสองส่วนจะต้องช่วยเสริมและสัมพันธ์กันเพื่อทำให้งานดูสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
        4.2 ความเป็นเอกภาพ (Unity)  การออกแบบที่มีเอกภาพ เป็นการนำเอาทัศนธาตุทางศิลปะ  เช่น เส้น   แสงเงา  สี ลักษณะพื้นผิว เป็นต้น   มาประกอบกันให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อมองดูแล้วจะทำให้เกิดความรู้สึกเป็นกลุ่มก้อน ไม่แตกแยกกระจัดกระจายจึงเป็นจะเป็นการจัดองค์ประกอบที่ดี
        4.3 ความสมดุล (Balance) หมายถึง การจัดส่วนประกอบให้ซ้าย ขวาเท่ากันหรืือรู้สึกเท่ากัน สามารถแบ่งลักษณะสมดุลออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
           4.3.1 สมดุลโดยเหมือนกันทั้ง 2 ด้าน (Symmetrical Balance) สมดุลแบบนี้จะเห็นได้ชัดจากสิ่งมีชีวิตเป็นส่วนมาก เช่น โครงสร้างของมนุษย์และสัตว์ เป็นต้น และสถาปัตยกรรมหลายแห่ง  เป็นการออกแบบที่ไม่ยุ่งยาก ดูง่าย เพราะเมื่อลานเส้นดิ่งตรงกึ่งกลางภาพ  จะเห็นว่าส่วนของภาพที่ถูกแบ่งทั้ง 2 ข้างเหมือนกัน สมดุลแบบนี้ให้ความรู้สึกมั่นคง  แข็งแรง ตรงไปตรงมา

             4.3.2 สมดุลโดยทั้ง 2 ด้านไม่เหมือนกัน (Asymmetrical  Balance)  สมดุลแบบนี้เป็นการจัดภาพให้ทั้ง 2 ด้านไม่เหมือนกัน เมื่อแบ่งเส้นแกนดิ่งกึ่งกลาง  แต่ความสมดุลเกิดขึ้นได้ด้วยความรู้สึกตามที่ตาเห็น เป็นการจัดภาพที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในการใช้ทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์อย่างมาก  เช่นการถ่วงน้ำหนักด้วยรูปทรง  สี  เส้น  หรือความเด่นของลักษณะพื้นผิว  เป็นต้น

        4.4 ความกลมกลืน (Harmony)   คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในด้านการประสานสัมพันธ์ที่เข้ากันได้ของส่วนประกอบ  หรือทัศนธาตุต่างๆ  เมื่อมองดูแล้วจะทำให้ความรู้สึกที่ไม่ขัดแย้ง  จึงเกิดความรู้สึกที่ดีต่องานนั้นๆ ลักษณะของความกลมกลืนมีหลายชนิด เช่น ความกลมกลืนด้วยเส้น   รูปร่าง  รูปทรง  ขนาด  สี  ทิศทาง  ลักษณะพื้นผิว   เป็นต้น
       4.5  การเน้น (Emphasis)   หมายถึง การจัดส่วนประกอบให้น่าสนใจ   มีจุดสนใจ เด่นชัด  จะทำให้งานออกแบบมีความงามสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  สำหรับส่วนประกอบที่นำมาจัดด้วยวิธีการต่างๆ มีดังนี้
           4.5.1  การเน้นด้วยเส้น  รูปร่าง  รูปทรง  และขนาด   เป็นการเน้นด้วยลักษณะของความแตกต่างและความกลมกลืนของส่วนประกอบต่างๆ  ในการออกแบบ เช่น อาจเน้นเส้น  รูปร่าง  รูปทรงที่ออกแบบให้เป็นส่วนสำคัญ  มีความเด่นด้วยขนาดที่แตกต่าง  หรือใหญ่เป็นพิเศษกว่าส่วนอื่น  จะทำให้น่าสนใจ เป็นต้น
ภาพ Mona Lisa ผลงานของเลโอนาโด ดาวินชี
เน้นด้วยเส้น รูปร่าง รูปทรง และขนาด

            4.5.2 การเน้นด้วยพื้นผิว    ในการใช้ลักษณะพื้นผิวที่มีความขัดแย้ง หรือใช้ลักษณะตัดกัน  เช่น  พื้นผิวที่หยาบกับละเอียด   ความขรุขระกับความเรียบ  ความมันแวววาวกับความด้านหรือใช้ลักษณะพื้นผิวลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่มีปริมาณมากกว่าลักษณะอื่น  ซึ่งจัดวางอยู่ในตำแหน่งที่น่าสนใจ  เป็นต้น
ภาพ The  Thinker (นักคิด) ผลงานของ
โอกุสต์  โรแดง   ที่เน้นด้วยพื้นผิว  

             4.5.3 การเน้นด้วยสี  ในการจัดภาพทางศิลปะ จำเป็นต้องนำเอาทฤษฎีมาใช้เพื่อให้งดงาม  สีเป็นทัศธาุที่สำคัญที่นำมาใช้ควบคู่กันไปกับการเน้นรูปร่าง  รูปทรง  ขนาด  และื้นผิว  เช่น ใช้ความเข้มของสี  การใช้สีคู่ตรงข้าม  การใช้สีวรรณะเย็นหรือสีวรรณะอุ่น เป็นต้น
มาริสา แอสีขาว: ชื่อศิลปิน พรทิพย์ หวั่งหลี 
เป้นภาพที่เน้นด้วยสี

        4.6 ความขัดแยิ้งกัน (Contrast)   หมายถึง ลักษณะที่ตรงงกันข้าม  ขัดกัน  เพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่มีลักษณะซ้ำๆ ไม่น่าสนใจ  แต่ทำให้มีส่วนที่ขัดแย้งกันตามความเหมาะสม  จึงทำให้กลับมาน่าสนใจ  อาจแสดงออกโดยใช้ความขัดแย้งด้วยเส้น  รูปร่าง  รูปทรง   ขนาด   สี  และทิศทางของ
ทัศนธาตุก็ได้
        4.7 การซ้ำ (Repentition)   หมายถึง  การจัดทัศนธาตุที่ต้องการให้มีช่องไฟ  หรือจังหวะเท่าๆกัน  ถ้าหากการซ้ำมีจำนวนมากก็ควรใช้ความขัดแย้งกันเข้ามาช่วย เพื่อไม่ให้ผลงานเกิดความซ้ำซากจนทำให้ดูน่าเบื่อหน่าย
        4.8 จังหวะ (Rhythm)  ในทางศิลปะ  หมายถึง ความสัมพันของทัศนธาตุ  เช่น เส้น สี รูปร่าง  รูปทรง   น้ำหนัก  เป็นต้น ในลักษณะของการซ้ำกันสลับไปมา  หรือลักษณะลื่นไหล  เคลื่อนไหวไม่ขาดระยะ  จังหวะที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันจะช่วยเน้นให้เกิดความเด่น  อธิบายให้เข้าใจโดยง่ายก็คือ  การจัดวางทัศนธาตุไว้เป็นช่วงห่างเท่าๆกัน  หรือ มีระยะของการวางรูปแบบ  ลวดลาย  มีลักษณะเป็นแนวที่ต้องการความเป็นระเบียบสวยงาม จังหวะอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างแต่ต้องให้สัมพันธ์กัน
          จังหวะมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ  การเต้นของหัวใจ  การเกกิด  การเติบโต   การดับไปของชีวิตก้เป็นจังหวะ  จังหวะในงานศิลปะเป็นการซ้ำอย่างมีเอกภาพและความหมาย  เป็นกฎข้อหนึ่งของเอกภาพที่เกิดจากการซ้ำของรูปทรง
           การซ้ำกับจังหวะล้วนมีความสัมพันธ์กัน  เมื่อมีการซ้ำของทัศนธาตุพร้อมกับการจัดจังหวะช่องไฟไปด้วย  เป็นวิธีการที่เกี่ยวข้องกับหลักทางด้านองค์ประกอบศิลป์
      4.9 สัดส่วน (Proportion) หมายถึง การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ขนาดของรูปร่าง รูปทรงต่างๆ ที่ใช้ในการออกแบบ  โดยให้มีความสัมพันธ์กับงานและการใช้สอย  เช่น การหาสัดส่วนที่เหมาะสมสวยงามของรูปสี่เหลี่ยม  หมายถึง ความสัมพันธ์ที่สวยงามของด้านกว้างและด้านยาว  หรือการเปรียบเทียบส่วนของการใช้ขนาดของรูปทรงที่นำมาใช้ในการจัดภาพ  หรือในการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้  ก็จำเป็นต้องคำนึงถึงขนาดที่สัมพันธ์กับการใช้งานจริง  ถ้ามีความสัมพันธ์เหมาะสมกันดี  ก็หมายความถึงการมีสัดส่วนที่ดี  เป็นต้น
       หลักการต่างๆ ที่ใช้ในการออกแบบเพื่อการสร้างคุณค่าทางความงามจึงมีส่วนช่วยให้งานมีความน่าสนใจ  น่าสัมผัส  การที่จะออกแบบให้มีความงามไได้นั้นจจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และและรูรู้จักสังเกตพิจารณางงานต่างงๆ เหหล่านั้นวว่ามีความงงามในลักษณะใใดบบ้าง การสร้างสรรค์งานให้ห้มีความงามจะต้องเข้าใจเรื่องทัศนธาตุทางศิลปะและองค์ปรประกอบศิลป์เป็นอย่างดี  นนอกจากจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางการใช้สอยแล้วยังช่วยให้สามารถใช้วัสดุได้อย่างคุ้มค่าประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ความงามของสิ่งที่สร้างสรรค์อาจเกิดจาจากการประดับตกแต่งอย่างพิถีพิถัน หรืออออกแบบอย่างเรียบง่ายก็ได้ เพียงแต่ผู้สร้างสรรค์รู้จักใช้องค์ปรประกอบให้เป็นไปตามหลหลักการเท่านั้น ก็ทำให้เกิดความงามไได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)