การศึกษาค้นคว้า IS

              การศึกษาค้นคว้า  หมายถึง  การหาข้อมูลความรู้เพิ่มเติมเพื่อหาคำตอบจากปัญหาใดปัญหาหนึ่ง  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้รับความรู้ในเรื่องนั้นๆ  การศึกษาค้นคว้าจึงเป็นการเเสวงหาความรู้เพื่อให้ได้รับคำตอบ  หรือเพื่อนำความรู้นั้นไปใช้ในการเเก้ไขปัญหาหรือประกอบการตัดสินใจการศึกษาค้นคว้าจึงมีความสำคัญที่ช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องที่เรียนมากขึ้นเเละชัดเจนขึ้นจากการบันทึกเเละเผยเเพร่ไว้ในสื่อต่างๆ  เช่น  สื่อสิ่งพิมพ์สื่อโสตทัศนูปกรณ์  เเละสื่ออิเล็กทรอนิกส์  โดยใช้วิธีค้นหาในรูปแบบต่างๆ  ดังนี้

            1.การอ่าน เป็นวิธีการศึกษาค้นคว้าที่ใช้กันมากที่สุด  เพราะสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีหนังสือหรือเคื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเคลือค่ายอินเทอร์เน็ตนักอ่านที่ดีจะต้องเข้าใจเนื้อหาได้มากที่สุดโดนใช้เวลาในการอ่านน้อยที่สุด
            2.การฟัง  เป็นทักษะสำคัญในการศึกษาเล่าเรียนของนักเรียนเเละนักศึกษา  รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่สนใจหาความรู้จากการฟัง  เช่น  การฟังคำบรรยายในชั้นเรียน  การฟังวิทยุเพื่อการศึกษา  การฟังการสัมมนา  การฟังเทศน์เเละการบรรยานธรรมมะ  เป็นต้น
            3.การดู  เป็นการศึกษาเรียนรู้อีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ผู้ดูมีความรู้ในเรื่องที่ชอบเเละสนใจซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  เช่น  การดูวิธีการปลูกต้นไม้  การดูสื่อวีดีทัศน์เกี่ยวกับการศึกษา
            4.การสอบถาม  เป็นการศึกษาเรียนรู้ด้วยการสอบถามจากผู้รู้  เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ชาญฉลาดเพราะการสอบถามจากผู้รู้โดยตรงจะช่วยให้เข้าใจสิ่งที่อยากรู้ได้เเจ่มเเจ้งเเละชัดเจน
            5.การลงมือปฏิบัติจริง  เป็นการศึกษาเพื่อเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง  เช่น  การปลูกพืช  การเลี้ยงสัตว์  การจัดสวน  การซ่อมเเซมของใช้ในบ้าน  การจำหน่ายสินค้า

              กระบวนการศึกษาค้นคว้า
           การเรียนรู้หรือกระบวนการศึกษาค้นคว้า เริ่มจากการศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ตนสนใจ เพื่อให้ได้รับข้อมูล สารสนเทศและความรู้  เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ การรู้วิธีค้นหาสารสนเทศ และความรู้จึงมีความสำคัญที่ช่วยให้เรามีความรู้กว้างขวางขึ้น ดังนั้นความรู้จึงมี   2 ลักษณะ  คือ  ความรู้ในเนื้อหาวิชานั้น ๆ กับความรู้ว่าจะค้นหาความรู้ได้จากที่ใด 
         ขั้นตอนการศึกษาค้นคว้า
           ในการศึกษาค้นคว้า มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
     1.เลือกเรื่อง หรือหัวข้อที่จะศึกษา
     2.สำรวจแหล่งสารสนเทศ  ค้นหาสารสนเทศ อ่านและบันทึกอย่างสังเขป
     3.วางโครงเรื่องขั้นตอน
     4. คัดเลือกแหล่งสารสนเทศ
     5. อ่านและจดบันทึก
     6. วางโครงเรื่องขั้นสุดท้าย
     7. เรียบเรียง
     8. จัดทำบรรณานุกรม
     9. จัดทำส่วนอื่นๆ
     10. ตรวจสอบความถูกต้อง
        

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)