การแสดงนาฏศิลป์

           การแสดงนาฏศิลป์  ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษามีดังต่อไปนี้

         1. การแสดงหมู่

         2. การแสดงเดี่ยว

         3. การแสดงละคร

        4. การแสดงเป็นชุดเป็นตอน


    1. การแสดงหมู่   

        การแสดงเป็นหมู่ คือการแสดงที่มีผู้แสดงตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป  ใช้เพลงบรรเลง  ประกอบการแสดงทั้งมีเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้อง  เน้นความความพร้อมเพรียง   ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการแสดง เซิ้งโปงลาง

      เซิ้งโปงลาง

                 เซิ้งโปงลาง เป็นการแสดงของชาวไทยภาคอีสาน นิยมเล่นกันมากใน จังหวัดกาฬสินธุ์ การแสดงจะมีทั้งหญิงและชาย ใช้ท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นตามทำนองเพลง อันเกิดจากความบันดาลใจ ด้วยลีลาแคล่วคล่องว่องไว ใช้ดนตรีโปงลางซึ่งเป็นเครื่องดนตรีทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ร้อยต่อกันเหมือนระนาดแต่ใหญ่กว่า ใช้ผู้ตีสองคน คนตีคลอเสียงประสาน เรียกว่า ตีลูกเสิฟ และอีกคนตีเป็นทำนอง เรียกว่า ตีลูกเสพ มีจังหวะที่เร้าใจและสนุกสนาน เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของ เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง โปงลาง, แคน, พิณ, ซอ, ฉาบ, ฉิ่ง, กลอ




       2. การแสดงเดี่ยว
           การแสดงเดี่ยว  คือ การแสดงที่มีผู้แสดงเพียงคนเดียว  มุ่งเน้นความสวยงามของการเคลื่อนไหวไหวร่างกาย  เป็นการแสดงฝีมือของผู้แสดงที่ร่ายรำถูกต้องตามท่วงทำนอง จังหวะเพลง และงดงามตามแบบแผน  ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง รำมโนราห์บูชายัญ
           
            รำมโนราห์บูชายัญ
            เป็นการแสดงที่นำมาจากละครเรื่องพระสุธน-มโนราห์ ตอนมโนราห์บูชายัญ ได้จัดแสดงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยกรมศิลปากร ใช้เพลงแขกบูชายัญ โดยอาจารย์มนตรี ตราโมท ได้นำเพลงเร็วของคุณครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ มาบรรเลงร่วมกับโทนและกลองชาตรี ไม่มีเนื้อร้อง ผู้แสดงจะร่ายรำตามจังหวะเครื่องดนตรี




       3. การแสดงละคร 
            เป็นการแสดงที่เป็นเรื่องราว  เป็นศิลปะการแสดง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต  วัฒนธรรมประเพณีของคนในชาติ  สร้างความบันเทิงให้กับผู้ชม  ช่วยให้มนุษย์เข้าใจชีวิตและสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  
       ประเภทของละครไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท  ดังนี้
       1. ละครรำ  แบ่งเป็น
           1.1 ละครรำแบบดั้งเดิม  ได้แก่ ละครชาตรี    ละครนอก  ละครใน
           1.2 ละครรำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่  ได้แก่ ละครพันทาง   ละครดึกดำบรรพ์    และละครเสภา
       2. ละครที่ไม่ใช่ละครรำ ได้แก่ ละครร้อง  ละครสังคีต  ละครพูดสลับรำ  ละครพูด   
           

      
    4. การแสดงเป็นชุดเป็นตอน
         เป็นการที่ตัดตอนมาจากบทละคร  เช่น การแสดงชุด รจนาเสี่ยงพวงมาลัย  มาจากเรื่อง สังข์ทอง  การแสดงชุดพระลอตามไก่ มาจากละครเรื่อง พระลอ  การแสดงฉุยฉายวันทอง  เป็นการแสดงที่นำมาจากบทละครพันทางเรื่อง ขุนช้างขุนแผน








     

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)