องค์ประกอบนาฏศิลป์

       การแสดงงนาฏศิลป์ไไทย เป็นการแสดงที่่มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ซึ่งการแสดงที่มีคววามสมบูรณ์  สวยงาม  จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบขอองนาฏศิลป์ ดังนี้

      1. จังหวะ ทำนอง

        จังหวะเป็นสิ่งสำคัญในการแสดงนาฏศิลป์ ถือเป็นพื้นฐานของการแสดง เพราะผู้แสดงจะต้องทำความเข้าใจจังหวะ รวมวถึงทำนองของบทเพลงอยู่เสมอ  เพื่อให้แสดงได้ถูุกต้องตรงตามจังหวะและทำนองเพลง ทำให้การแสดงมีความสวยงาม  และหากเป็นการแสดงหมู่จะทำให้กากรแสดดงมีความพร้อมเพรียง อีกทั้งจังหวะยังมีส่วนสำคัญในการแปรแถวในการแสดงมีคววามสวยงาม

     2. การเคลื่อนไหว

       การเคลื่อนไหวในการแสดงนาสิลป์ เป้นการเคลื่อนไหวท่าทางการร่ายรำให้เหมาะสมกับการแสดง โดยมีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องและบทขับร้อง

       กากรเคลื่อนไหวในการแสดงเป็นสิ่งที่ทำให้การแสดงมีความสมบูรณ์  สวยงาม  และน่าสนใจ อีกทั้งยังทำให้กาแสดงมีเอกลักษณ์  เช่น กรแสดงระบำตารีกีปัส จะมีการเคลื่อนไหวในการแสดง โดยเปลี่ยนรูปแถว ท่่ารำในการแสดดง ทำให้การแสดงน่าสนใจมากขึ้น


       3.อารมณ์และความรู้สึก
          การแสดงนาฏศิลป์ไทยเป็นการแสดงที่ต้องถ่ายทอดอารมณ์แลดะความรู้สึกในการแสดง โดยใช้ท่ารำต่างๆ เพื่อสื่อความหมายให้ผู้ชมได้เข้้าใจอารมณ์และความรู้สึกของการแสดง เช่น ผู้แสดง แสดงท่าทางสะอื้นและนำมือมาแตะที่ตา  แสดงว่าตัวละครนั้นกำลังถ่ายทอดอารมณ์เศร้า  เสียใจ หรือผู้แสดงยิ้มและนำมือมาจีบที่ระดับปาาก แสดงว่าตัวละครนั้นถ่ายทอดอารมณืดีใจ มีความสุข


     4. ภาษาท่า นาฏยศัพท์
         ภาษาท่าและะนาฏยศัพท์ เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการแสดงนานฏศิลป์ไทย  ทำให้ผ้แสดง แสดงได้ถูกต้อง และผู้ชมเข้าใจการแสดงได้มากขึ้น ซึ่งภาษาท่าและนาฏยศัพท์เป็นสิ่งท่นำมาใช้ประกอบเข้ากันเป็นท่ารำ ทำให้ท่ารำมีคววามสวยงาม   สมบูรณ์ และมีเอกลักษณ์ และมีเอกลักษร์ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ใช้สื่อความหมายต่างๆ ในการแสดง 
     ภาษาท่า  เช่น ท่ารัก ท่ามอง  ท่าปฏิเสธ
ท่ารัก


ท่ามอง

ท่าปฏิเสธ

        นาฏยศัพท์   เช่น กล่อมไหล่  จีบปรก  กระดกเท้า
ท่ากล่อมไหล่

ท่าจีบปรก

ท่ากระดกเท้า

      5. รูปแบบของการแสดง
          การแสดงนาฏศิลป์ไทยมีรูปแบบการแสดงที่แตกต่างกันไป ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษร์ของการแสดง  การแสดงนาฏศิลป์ไทยแต่ละประเภทมีรูปแบบการแสดง ดังนี้
          5.1 โขน
             การแสดงโขน เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์  ที่แสดงเป็นเรื่องราว มีการผสมผสานกันระหว่่าง ศิลปะแขนงต่างๆ ทั้งท่าร้อง รำ และเต้น ซึ่งการแสดงโขนจะมีเอกลักษณ์สำคัญ  คือ ผู้แสดงจะต้องสวมศรีษะโขน  และแสดงท่าทางตามบทพากย์และการเจรจาของผู้พากย์  การแต่งกายจะแต่งแบบยืนเครื่อง  เรื่องที่นิยมแสดง คือ รามเกียรติ์


       5.2 ละคร
          การแสดงละคร  เป็นศิลปะการร่ายรำที่แสดงเป็นเรื่องราว  พัฒนามาจากการเล่านิทาน ดำเนินเรื่องด้วยการร่ายรำเข้ากับบทร้อง  ทำนองเพลง  และเพลงหน้าพาทย์  วงดนตรีที่บรรเลงประกอบการแสดงจะใช้วงปี่พาาทย์  ซึ่งละครมีหลายประเภท แต่ละประเภทจะมีลักษณะการแสดงที่แตกต่างกันไป เช่น ละครนอก จะมีลักษณะการแสดงที่รวดเร็ว  ำม่เน้นท่ารำ สอดแทรกตลกขบขัน ละครในเป็นการแสดงที่เน้นกระบวนท่ารำ ไม่สอดแทรกตลก เน้นความสวยงาม


         5.3 รำและระบำ
               การแสดงรำและระบำ เป็นการแสดงท่าทางการร่ายรำประกอบเพลง  ดนตรี  และบทขับร้อง ไม่เล่นเป็นเรื่องราว ซึ่งมีลักษณะการแสดงดังนี้

           1) รำ เป็นการร่ายรำที่ใช้ผู้แสดง 1 - 2 คน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องหรือไม่มีบทขับร้องประกอบการรำเข้ากับทำนองเพลงดนตรี มีกระบวนท่ารำที่มีความเชื่อมโยงกัน และเป็นท่ารำเฉพาะสำหรับการแสดงนั้น เช่น รจนาเสี่ยงพวงมาลัย รำหนุมานจับนางเบญกาย





              2) ระบำ เป็นการแสดงที่มีผู้แสดงตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีกกระบวนท่ารำที่คล้ายคลึงกันไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทร้องประกอบการร่ายรำ แต่งการยืนเครื่อง เช่น ระบำเทพบันเทิง ระบำพรหมมาสตร์




          5.3  การแสดงพื้นเมือง
               การแสดงพื้นเมือง มีรูปแบบและลักษณะการแสดงที่แตกต่างกันไป ตามวิถีชีวิตของแต่ละท้องถิ่น  รูปแบบการแสดงพื้นเมืองมีทั้งการแสดงเป็นเรื่องราว การแสดงด้วยการร่ายรำ การแสดงเป็นขบวนแห่  ส่วนลักษณะของการแสดงจะมีทั้งรำเดี่ยว   รำคู่ และรำหมู่ มีลักษณะเป็นการร้องรำทำเพลงล้อมวงเป็นหมู่หลังจากเลิกงาน ชาย - หญิง จะร้องเพลงโต้ตอบ เกี้ยวพาราสีกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งการแสดงพื้นเมืองในแต่ละภูมิภาคของไทยมีจุดมุ่งหมาายที่คล้าายคลึงกันดังนี้
     1) แสดงเพื่อเซ่นสรววงหรือบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
     2) แสดงเพื่อความสนุกสนาน
     3) แสดงเพื่อความเป็นสิริมงคล
     4) แสดงเพื่อสื่อถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่น





      6. การแต่งกาย
          การแต่งกายในการแสดงนาฏศิลป์  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้การแสดงสวยงามและมีเอกลักษณ์ ซึ่งการแวดงในแต่ละชุดการแสดงจะมีการแต่งกกายที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของการแสดงนั้น เช่น การแสดงโขน มีการแต่งกายตามลักษณะของตัวละคร พระรามจะแต่งยืนเครื่องพระ ชุดสีเขียว ทศกัณฐ์จะแตงยืนเครื่อง ชุสีเขยวมรกต สวมศรีษะโขนหน้ายักษ์ 3 ชั้น ทำให้ผู้ชมการแสดงเข้าใจบุคลิกลักษณะของตัวละคร
พระราม

ทศกัณฐ์

  ตาราง   เปรียบเทียบองค์ประกอบของนาฏศิลป์ระหว่างการแสดงชุดหนุมานจับนางเบญกกายกับการแสดงรำกลองยาว

องค์ประกอบของนาฏศิลป์

การแสดงชุด

หนุมานจับนางเบญกาย

การแสดงชุด

การแสดงรำกลองยาว

 

1. จังหวะ ทำนอง

ช้า สลับเร็ว  เร็ว

เร็ว  สนุกสนาน

2. การเคลื่อนไหว

มีลีลาของการติดต่อ  ค้นหา หลบหนี มีทั้งช้าและเร็วท่ารำสวยงาม

ตามจังหวะกลอง คล่องแคล่ว ว่องไว อ่อนช้อย สวยงาม

3.อารมณ์ความรู้สึก

ตื่นเต้น หวาดกลัว หยอกล้อ มีความสุข

สนุกสนาน  รื่นเริง

4.ภาษาท่า นาฏยศัพท์

สื่อความหมายถึงความรัก ความกลัว การแอบซ่อน การไล่จับ การหลบหนี

ใช้ท่าทางธรรมชาติประกอบกิริยาเกี้ยวพาราสี

5.รูปแบบของการแสดง

การแสดงเป็นชุดเป็นตอน นำมาจากการแสดงโขน

การแสดงพื้นฐานภาคกลาง

6. การแต่งกาย

แต่งกายตามลักษณะของตัวละคร คือ ตัวหนุมาน และเนางเบญกาย ตัวนางแต่งกายยื่นเครื่อง

แต่งกายแบบพื้นบ้านภาคกลาง
























     





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)