การประดิษฐ์ท่ารำและท่าทางประกอบการแสดง

             1. ความหมายและความเป็นมาของการประดิษฐ์ท่ารำ

             นาฏศิลป์ไทย  เป็นการแสดงที่เกิดจากการเคลื่อนไหวท่าทางต่างๆ ให้มีความสวยงาม เพื่อสื่อความหมายในการแสดงให้ผู้ชมได้เข้าใจ ซึ่งท่าทางต่างๆในการแสดง  จะเป็นท่าทางที่เกิดขึ้นจากการเลียนแบบกิริยา  อาการธรรมชาติของมนุษย์  สัตว์  สิ่งของ แล้วนำมาประดิษฐ์เป็นท่าทางต่างๆ เพื่อใช้ในการแสดง  โดยมีจุดประสงค์เพื่อสื่อความหมายดดยใช้ท่าทางแทนคำพูด เช่น 

ท่ารัก 


 
ท่าดีใจ





2. หลักการในการประดิษฐ์ท่ารำ
    การศึกษาทางด้านนาฏศิลป์มีความเจริญก้าวหน้าพัฒนามาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน  มีการจดบันทึกท่ารำเป็นแบบแผนต่อเนื่องมา  มีครูอาจารย์ได้ถ่ายทอดความรู้ทางนาฏศิลป์ให้กับลูกศิษย์  โดยยึดถือแนวทางของครูรุ่นก่อน  การประดิษฐ์ท่ารำแต่ละท่าจะแสดงออกจะแสดงออกจากอวัยวะภายนอกของร่างกายให้มีลีลาที่งดงาม
     ในการประดิษฐ์ท่ารำ  ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำต้องมีความสามารถในการตีความหมายของบทร้อง บทประพันธ์ต่างๆ  เพื่อให้สามารถประดิษฐ์ท่ารำได้สัมพันธ์กับบทร้อง  ขั้นตอนที่ใช้ประดิษฐ์เริ่มจาก 
    1.ศึกษาบทที่แสดง  โดยการอ่านบทละคร  พิจารณาเรื่องราวและบทบาทของตัวละคร  ความรู้สึก อารมณ์ แล้วนำมาประดิษฐ์เป็นท่ารำ
   2. การเลือกใช้ท่ารำสอดคล้องกับความหมาย  เป็นการเลือกใช้ท่ารำในแม่บทมาประดิษฐ์เป้นท่ารำ เพื่อสื่อความหมายตามบทร้องให้เป็นแบบแผนทางนาฏศิลป์  ในการเลือกใช้ท่ารำ  มีรูปแบบดังนนี้
      2.1 ท่ารำตามแม่บท เป็นการนำท่ารำในแม่บทมาประดิษฐ์ท่ารำเพื่อสื่อความหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง  อุดมสมบูรณ์  ท่าเฉิดฉิน สื่อความหมายถึงความงาม
       ตัวอย่าง   ท่ารำในเพลงแม่ศรีไตรสิกขา   (การแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ที่บูรณาการหลักของะรรมทางพระพุทธศาสนากับนาฏศิลป์ไทย)


      2.2 ท่ารำตามความหมายของบทร้อง  เป็นการประดิษฐ์ท่ารำให้มีความหมายสัมพันธ์กับบทร้อง  เพื่อแสดงออกถึงเนื้อเนื้อหาในบทร้องให้ผู้ชมได้เข้าใจ  และประดิษฐ์ท่ารำให้เหมาะสมกับลักษณะของตัวละคร
      ตัวอย่าง   ท่ารำในเพลงฟ้อนมาลัย   เป็นการแสดงประกอบการแสดงละคร เรื่อง พญาผานอง  กรมศิลปากร  จัดแสดงเมื่อ พ.ศ.2500  ประดิษฐ์ท่ารำโดย นางละมุล  ยมะคุปต์  ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย   วิทยาลัยนาฏศิลป์  


       2.3  ท่ารำตามจินตนาการ  เป็นท่าทางที่ใช้ประกวดเพลงประเภทจินตลีลาหรือการสร้างสรรค์ ชุดการแสดงใหม่ๆ  ที่ผสมผสานท่ารำกับดนตรีสมัยใหม่ 


   นอกจากผู้ประดิษฐ์ท่ารำจะต้องมีหลักในการประดิษฐ์ท่ารำแล้ว  ยังต้องคำนึงรูปแบบของการแสดงอีกด้วย  และท่าทางที่ใช้ในรูปแบบการแสดง  เช่น  การแปรแถวของการแสดงระบำ มีหลักการดังนี้
        
    1. การเคลื่อนแถว เพื่อไม่ให้ผู้แสดงอยุ่กับที่นานจนเกินไป
    2. รายการเคลื่อนไหวต้องสัมพันธ์กับบทเพลง
    3. คำนึงรูปร่างของผู้แสดง
    4. คำนึงสีของเครื่องแต่งกายในการแสดงว่าจะใช้สีลักษณะใด
    5. ไม่แปรแถวแบบเดียวซ้ำหลายๆครั้ง
    6. การแปรแถวควรมีความเหมาะสมกลมกลืนกัน
    7. ระยะห่างของผู้แสดงต้องเท่ากัน
    8. คำนึงถึงสัดส่วนของเวทีไม่ให้แถวเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)