การบูรณาการศิลปะแขนงอื่นๆ กับการแสดงนาฏศิลป์

         การแสดงนาฏศิลป์ไทย  นอกจากมีองค์ที่สำคัญที่เคยกล่าวมาแล้ว  การแสดงนาฏศิลป์ไทยยังสามารถบูรณาการกับศิลปะแขนงอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ด้านวิจิตรศิลป์  ประติมากรรม  จิตรกรรม สถาปัตยกรรม  ซึ่งนำมาบูรณาการในการแสดงเพื่อให้การแสดงมีความสวยงาม น่าสนใจ 

         การนำศิลปะแขนงอื่นๆ มาใช้กับการแสดงนาฏศิลป์ไทย มีดังนี้

    1. แสง สี เสียง 

          แสง สี ที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ไทย  ควรมีความสัมพันธ์กับเครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดงให้มีความเหมาะสมกลมกลืนกัน  ทำให้การแต่งกายมีความโดดเด่นสวยงาม  ผู้ชมได้รับสุนทรียรสอย่างเต็มที่  ในด้านเสียงที่ใช้จะต้องพอเหมาะไม่ดัง หรือ เบาจนเกินไป สามารถให้ผู้ชมที่ชมการแสดงได้ยินเสียงชัดเจน  เพื่อให้ผู้ชมซาบซึ้งและคล้อยตามไปกับการแสดง


 2. ฉาก
      ฉากเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้การแสดงสวยงาม  ผู้สร้างฉากจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างฉากและมีความรู้ทางด้านการออกแบบ ด้านทัศนศิลป์และสถาปัตยกรรม เพื่อให้การออกแบบฉากมีความสัมพันธ์กับชุการแสดง

3. เครื่องแต่งกาย
      เครื่องแต่งกายในการแสดงนาฏศิลป์เป็นสิ่งที่ทำให้การแสดงมีความสวยงาม และเป็นสิ่งบ่งบอกถึงลักษณะของตัวละคร  การสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายทางนาฏศิลป์จะผสมผสานกับศิลปะ ด้านจิตรกรรม  การออกแบบลวดลาย  และเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับชุดการแสดง


4. อุปกรณ์การแสดง
     การแสดงนาฏศิลป์ไทยบางการแสดงจะมีอุปกรณ์ประกอบการแสดง  เพื่อให้การแสดงมีความน่าสรใจ  และอุปกรณ์ที่ใช้ต้องมีความสัมพันธ์กับชุดการแสดง  การใช้อุปกรณ์การแสดงเป็นการนำเอาศิลปะด้านจิตรกรรมต่างๆ มาตกแต่ง ประดิษฐ์อุปกรณ์ให้มีความสวยงาม  เช่นพัดที่ใช้แสดงในการแสดงระบำพัด ร่มที่ใช้ในการฟ้อนร่ม













ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)