หลักและวิธีการวิเคราะห์ วิจารณ์การแสดงนาฏสิลป์

               การวิจารณ์และการวิเคราะห์การแสดง เป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการแสดงให้ดีขึ้น  ในการวิเคราะห์  วิจารณ์การแสดงนั้น ผู้ที่วิเคราะห์ วิจารณ์งานศิลปะจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์  มีความคิด มีเหตุผลที่ดีในการวิเคราะห์ วิจารณ์การแสดง

             หลักและวิธีการวิเคราะห์ วิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์ มีดังนี้

     ๑. ผู้วิจารณ์ควรมีพื้นฐานทางนาฏศิลป์

         ผู้วิจารณ์สามารถพิจารณาได้ว่า การแสดงมีความถูกต้องหรือไม่ เช่น เรื่องของท่ารำที่ใช้สื่อความหมายว่าสอดคล้องกับบทร้องและทำนองเพลงหรือไม่


     ๒. ผู้วิจารณ์มีความสามารถด้านการแต่งกาย

       ผู้วิจารณ์ต้องมีความรู้เรื่องการแต่งกายประกอบการแสดงสามารถวิเคราะห์ได้ว่าผู้แสดงแต่งกายได้ถูกต้องและเหมาะสมกับการแสดงหรือไม่


    ๓. ผู้วิจารณ์มีความสามารถทางด้านดนตรีประกอบการแสดง

       ผู้วิจารณ์ต้องมีความรู้เกี่ยวกับดนตรี บทเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง สามารถวิเคราะห์และวิจารณ์ได้ว่าดนตรีหรือบทเพลงมีความถูกต้อง  เหมาะสมกับการแสดงหรือไม่


    ๔. ผู้วิจารณ์ทราบเนื้อเรื่องที่ใช้แสดงเป็นอย่างดี

       ผู้วิจารณ์ควรศึกษาเนื้อเรื่องโดยสังเขปก่อนชมการแสดงเพื่อที่จะทำให้เข้าใจการแสดงและสามารถวิเคราะห์ และวิจารณ์ได้ถูกต้อง


       นอกจากหลักและวิธีการวิเคราะห์ วิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์ดังกล่าวแล้ว  ผู้วิจารณ์ควรคำนึงสถานที่ ที่ใช้ในการประกอบการแสดงว่าเหมาะสมหรือไม่ และที่สำคัญผู้วิจารณ์ควรมีความเป็นธรรมในการวิจารณ์ไม่ลำเอียงหรือวิจารณ์ด้วยเหตุผลส่วนตัว  หรือฟังจากบุคคลต่างๆ เพราะจะทำให้การวิจารณ์ไม่เที่ยงตรง


คำถามท้าทาย 

 การวิจารณ์การแสดงโดยใช้ถ้อยคำรุนแรง จะส่งผลต่อการแสดงอย่างไร

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)