ระบำเทพบันเทิง

  การแสดงนาฏศิลป์

     ในเรื่องการแสดงนาฏศิลป์ เนื้อหาที่นักเรียนจะได้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นี้ จะประกอบไปด้วย

     1.นาศิลป์ = ระบำเทพบันเทิง

     2. นาฏศิลป์พื้นเมือง  = รำเถิดเทิง

     3. รำวงมาตรฐาน = เพลงบูชานักรบ


      ระบำเทพบันเทิง

         ระบำเทพบันเทิง เป็นระบำที่ประกอบการแสดงละครในเรื่อง อิเหนา ตอน ลมหอบ ซึ่งกรมศิลปากรปรับปรุงขึ้นเพื่อแสดงที่โรงละครศิลปากร (เก่า) เมื่อ ปี พ.ศ. 2499 ให้ประชาชนได้ชมกัน เป็นระบำที่กล่าวถึงเทพบุตร เทพธิดา ร่ายรำถวายองค์ปะตาระกาหลา ตามบทขับร้องที่นายมนตรี  ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติเป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องและปรับปรุงทำนองเพลง  โดยใช้เพลงแขกเชิญเจ้าและเพลงยะวาเร็ว  โดยอาจารย์ละมุล   ยมะคุปย์  และหม่อมศุภลักษณ์  ภัทรนาวิก (หม่อมต่วน) เป็นผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้น

   * ลักษณะและวิธีการแสดง  ระบำเทพบันเทิง นิยมใช้ผู้แสดงพระกับนางเป็นคู่ตั้งแต่ 1 คู่ขึ้นไป

   - ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง   ระบำเทพบันเทิงใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการแสดง

  * ลักษณะการแต่งกาย  การแต่งกายของตัวพระ  ตัวนาง  นิยมแต่งกายแบบยืนเครื่องหรือเปลี่ยนแปลงตามความสะดวกของเจ้าภาพที่จัดแสดง ข้อสำคัญอยู่ที่ความถูกต้องของท่ารำ ความงดงามและความพร้อมเพรียงของผู้รำ  ซึ่งสอดประสานได้เหมาะสมกับทำนอง



 * โอกาสในการแสดง  ระบำเทพบันเทิง เป็นระบำที่เหมาะแก่การอวยพรหรือแสดงในงานรื่นเริง รับรองแขกบ้านแขกเมือง

* เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง 

  เพลงแขกเชิญเจ้า

เหล่าข้าพระบาท ขอวโรกาสเทวฤทธิ์อดิศร
ขอฟ้อนกราย รำร่ายถวายกร
บำเรอปิ่นอมร ปะตาระกาหลา
ผู้ทรงพระคุณ ยิ่งบุญบารมี
เพื่อเทวบดี สุขสมรมยา
เถลิงเทพสิมา พิมานสำราญฤทัย
(สร้อย) สุรศักดิ์ประสิทธิ์ สุรฤทธิ์กำจาย
ทรงสราญพระกาย ทรงสบายพระทัย
ถวายอินทรีย์ ต่างมาลีบูชา
ถวายดวงตา ต่าง ประทีปจำรัสไข
ถ้อยคำอำไพ ต่างธูปหอมจุณจันทน์
ถวายดวงจิต อัญชลิตวรคุณ
ที่ทรงการุณย์ ผองข้ามาแต่บรรพ์
ถวายชีวัน รองบาทจนบรรลัย


เพลงยะวาเร็ว

ร่วมกันร้องทำนองลำนำ มาฟ้อนมารำให้รื่นเริงใจ (ซ้ำ)
ให้พร้อมให้เพรียงเรียงระดับ เปลี่ยนสับท่วงทีหนีไล่
เวียนไป ได้จังหวะกัน
อัปสรฟ้อนส่าย กรีดกรายออกมา
ฝ่ายฝูงเทวา ทำท่ากางกั้น (ซ้ำ)
เข้าทอดสนิท ไม่บิดไม่ผัน (ซ้ำ)
ผูกพันสุดเกษม ปลื้มเปรมปรีดา





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)