นาฏศิลป์พื้นเมือง

      รำเถิดเทิง   

      การเล่น รำเถิดเทิง  หรือการ รำกลองยาว  เป็นศิลปะการละเล่นและร่ายรำประกอบการตีกลองยาวของคนไทย  ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากและมีการเล่นแพร่หลายที่สุดในแถบภาคกลาง สันนิษฐานว่าแต่เดิมจะเป็นการละเล่นของทหารพม่ายามว่างศึกษ  ในสมัยสงครามปลายกรุงศรีอยุธยาเข้าใจว่าคนไทยได้เห็นรูปแบบและนำมาเล่นบ้างในช่วงสมัยกรุงธนบุรี  เพราะศิลปะการตีกลองมีความสนุกสนาน เล่นง่าย เครื่องดนตรีไม่แตกต่างจากของไทยมากนัก  ส่วนคำว่า เถิดเทิง น่าจะมีที่มาจากเสียงของกลองยาวนั่นเอง  นอกจากนี้ยังมีหลักฐานสนันสนุนจากชื่อเพลงไทยสำเนียงพม่าที่กล่าวถึงกลองยาว คือ เพลงพม่ากลองยาวและเพลงพม่ารำขวาน  ที่ใช้กลองยาวตีเป็นเครื่องตีประกอบจังหวะ 

       การรำกลองยาว หรือ เล่นถิดเทิงบ้อง นี้ มักนิยมแสดงในงานบุญที่มีการรื่นเริง เช่น แห่นาคในงานอุปสมบท  แห่องค์กฐิน  ผ้าป่า  แห่ขบวนขันหมาก โดยชาวบ้านมาร่วมขบวนแต่งหน้าประแป้ง  ทัดดอกไม้ให้สวยงาม ร่ายรำออกลีลาต่างๆ  อย่างครื้นเครง  บ้างยั่วเย้ากันระหว่างหนุ่มสาว พวกที่ตีกลองและเครื่องประกอบจังหวะก็ร้องเพลงสั่นๆ เรียกว่า เพลงยั่ว เช่น มาละเหวย มาละวา มาแต่ของเขาของเราไม่มา ตะละลา ฮุยฮา เพื่อเพิ่มความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น

       ต่อมากรมศิลปากร  โดยนาฏศิลปิน ได้ปรับปรุงการละเล่นทั้งรูปแบบการแสดง ท่าร่ายรำของการเล่นเถิดเทิงให้มีลีลาท่ารำที่สวยงามเป็นแบบแผนขึ้นและเรียกการแสดงนี้ว่า รำเถิดเทิงโดยมีฝ่ายชายเป็นผู้ตีกลองประกอบจังหวะและร่ายรำประกอบการตีกลองยาวในท่าทางที่โลดโผนต่างๆ ส่วนฝ่ายหญิงจะรำเข้ากับจังหวะกลองยาวสลับกับท่าทางการตีกลองเย้าหยอกกับฝ่ายชายซึ่งการแสดงชุดนี้ต่อมาเป็นชุดที่นิยมแสดงกันอย่างแพร่หลาย

          ลักษณะและวิธีการแสดง

      การรำเถิดเทิง ผู้แสดงจะแบ่งออกเป็นฝ่ายชายและฝ่ายหญิง

     ฝ่ายชา่ย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

    1. กลองรำ  หมายถึง ผู้แสดงที่ต้องร่ายรำประกอบการตีกลองยาวเข้าคู่กับฝ่ายหญิง

   2. กลองยืน หมายถึง ผู้แสดงที่ทำหน้าที่ตีกลองยาวและเครื่องประกอบจังหวะเพื่อยืนจังหวะทำนองให้ผู้รำได้รำตามที่บรรเลง

    ฝ่ายหญิง  ได้แก่ นางรำ  หมายถึง ผู้แสดงหญิงที่ฝ่ายชายผู้เล่นเป็นกลองรำไปเชิญ หรือโค้งออกมารำ  ่สวนจำนวนของผู้แสดงขึ้นอยู่กับความต้องการและโอกาสของการแสดงนั้นๆ ด้วย เช่นจำนวนผู้แสดงกลองยืนอย่างน้อยต้องมี 7 คน และกลองรำ 2 คน นางรำ 2 คน  ส่วนจำนวนกลองรำและนางรำนั้น มักนิยมเป็นจำนวนคู่ เช่น  รำ 2 คู่ 4 คู่

   เครื่องดนตรีประกอบการแสดง

   1. กลองยาว 

  2. ฉิ่ง

  3.ฉาบใหญ่  

  4. ฉาบเล็ก

  5. กรับ

  6. โหม่ง

   ลักษณะการแต่งกาย

    การแต่งกายของการรำเถิดเทิงกรมศิลปากร ได้ออกแบบชุดการแสดงไว้โดยมีลักษณะ ดังนี้

    1. ฝ่ายชาย สวมเสื้อคอกลม แขนสั้นหรือที่เรียกว่า เสื้อคอพวงมาลัย นิยมตัดเย็บด้วยผ้าต่วน หรือผ้าโซลอน  สีสดใส สวมกางเกงขาสามส่วนสีเดียวกันกับเสื้อ ที่ปลายขามีเชิง คาดศีรษะและเอวด้วยผ้าคาดต่างๆสีกับชุดที่สวมใส่

   2. ฝ่ายหญิง  สวมเสื้อแขนกระบอก คอตั้ง ผ่าหน้าติดกระดุม นุ่งผ้าซิ่น นิยมตัดเย็บแบบสำเร็จรูป ห่มสไบทับเสื้อ สวมเครื่องประดับ ได้แก่ เข็มขัด สังวาล  สร้อยคอ ต่างหู ที่ศีรษะทัดดอกไม้ให้สวยงาม



โอกาสในการแสดง

  แสดงในงานรื่นเริง  งานเทศกาล งานต้อนรับ แขกบ้านแขกเมือง  งานมงคลต่างๆ





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)