ความสำคัญและลักษณะของดนตรีพื้นบ้าน

 1. ความสำคัญและลักษณะของดนตรีพื้นบ้าน

                 ดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมมีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่นซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของคนในแต่ละท้องถิ่นที่ถ่ายทอดให้เห็นถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของคนในท้องถิ่น เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์สืบทอดต่อไป

                     1.1 ความสำคัญ

             ดนตรีพื้นบ้าน หมายถึง ดนตรีและเพลงที่ปรากฏอยู่ในแต่ละท้องถิ่นของแต่ะกลุ่มชน ชุมชนและภูมิภาค ซึ่งสาระของดนตรีพื้นบ้านจะแสดงถึงภูมิปัญญาเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น และยึดถือปฏิบัติพัฒนาสืบทอดต่อกันมาจนเป็นที่ยอมรับร่วมกันในกลุ่มสังคม และ วัฒนธรรมนั้น
             ดนตรีพื้นบ้านมีส่วนช่วยสร้างเสริมความเข้มแข็งของชาวบ้านในชุมน ทางด้านจิตใจ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และระบบสังคมของชุมชน 



   1.2 ลักษณะ
           ดนตรีพื้นบ้านมีความครอบคลุมถึงเครื่องดนตรี วงดนตรี บทร้อง ทำนองเพลง สำหรับความเป็นวงดนตรีพื้นบ้านีลักษณะที่พิจารณาได้ ดังนี้

               1. ดนตรีพื้นบ้านเป็นงานศิลปะดนตรีทีเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของชาวบ้านในชุมชน โดยมุ่งสื่อสารเรื่องราวจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว
                2. ดนตรีมีความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน ทั้งด้านทำนองเพลง จังหวะ  เนื้อร้อง และวิธีการบรรเลง ใช้ฉันทลักษณ์ที่ไม่ซับซ้อน
                3. ดนตรีพื้นบ้านเป็นสมบัติของชุมชน คนในชุมชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ทั้งเพื่อความบันเทิง หรือเพื่อร่วมกิจกรรมที่เป็นพิธีกรรมตามความเชื่อ
                4. ดนตรีพื้นบ้านไม่มีการจดบันทึก มีการสืบทอดกันทางมุขปาฐะ
                5. ดนตรีพื้นบ้าน ปรากฏในรูปแบบของเครื่องดนตรีและวงดนตรี มีบทบาทในการบรรเลงเดี่ยวเฉพาะศิลปิน หรือบรรเลงเป็นวง


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)