ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้าน

    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้าน

 การสร้างสรรค์ดนตรีพิ้นบ้านเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็น
อยู่ของผู้คนในชุมชนนั้นๆ จึงทำให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานด้านดนตรีขึ้น เพื่อสร้าความผ่อนคลาย 
ความเพิดเพลินใจ ปัจจัยที่มีผลต่ออิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้าน มีดังนี้

                    1 ปัจจัยด้านสุทรียภาวะ
        ปัจจัยด้านสุนทรียภาวะ เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นในตัวผู้รังสรรคื เป็นความงดงามในสภาวะของศิปะ
ดนตรีพื้นบ้าน กระบวนการนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 เป้าหมาย คือ

                     1) การสร้างสรรค์เพื่อเป้าหมายเฉพาะ เป็นการสร้างสรรค์ที่มุ่งกระทำการสิ่งใด
สิ่งหนึ่งของบุคคล ชุมชนที่มีความเชื่อ ความศรัทธาทางศาสนา หรือค่านิยมการสร้างเครื่องดนตรีเ
พื่อใช้บรรเลงในพิธีกรรม การสร้างเครื่องดนตรีที่ใช้ตีสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธ์ให้อำนวยสิ่งดีงามให้แก่
ชุมชน
                      2) การสร้างสรรค์เพื่อความงดงามในสุนทรียภาวะของผู้รังสรรค์  
เป็นการสร้างสรรค์ผลงานที่เกิดขี้นภายในของผู้รังสรรค์  

              2 ปัจจัยด้านวิถีมนุษยสังคม
          ปัจจัยด้านมนุษยสังคม เป็นปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทีส่งผลให้ผู้รังสรรค์ได้สร้างงานดนตรีขึ้นมา 
เพื่อตอบสนองความต้องการในกิจกรรมด้านต่างๆ นอกจากนี้ ยังปรากฏภาพลักษณ์ของปัจจัยย่อยๆ 
ในสาระดนตรีด้วย ดังนี้ 

                       1) สภาพแวดล้อม  ที่มีอยู่รอบตัวของผู้รังสรรค์งนดนตรี เช่น ป่าเขาลำเนาไพร 
สัตว์ชนิดต่างๆ เป็นต้น
                       2) การประกอบอาชีพ การประกอบอาชีพของคนในภูมิภาคท้องถิ่น เช่น การทำไร่
ทำนา การทำสวน การประมง เป็นต้น

                        3) ประเพณีและเทศกาลในรอบปี  มีส่วนในการสร้างสรรค์งานดนตรีพื้นบ้าน
เนื่องจากเป็นกิจกรรมทางสังคมที่ผู้คนในชุมชน หรือผู้คนจากท้องถิ่นอื่นเข้าไปร่วมกิจกรรม

                        4) ภูมหลังทางประวัติศาสตร์  ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของชาติ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นเรื่องราวที่มีการถ่ายทอดในเพลงพื้นบ้านทุกภูมิภาค โดยเฉพาะการบันทึกเรื่องราวเหล่านั้นในเพลงร้อง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)