๑.หลักการออกแบบและการจัดองค์ประกอบศิลป์ (เอกภาพและความสมดุล)

        หลักการออกแบบและการจัดองค์ประกอบศิลป์  หมายถึง การนำเอาส่วนประกอบของธาตุต่างๆ มาจัดเข้าด้วยกันให้เกิดผลงานออกแบบและงานทัศนศิลป์  โดยยึดหลักการจัดดังนี้

               ๑.เอกภาพ (Unity)  หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ความสอดคล้องกลมกลืนกัน เป็นหน่วยเดียวกัน  ด้วยการจัดองค์ประกอบให้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเป็นกลุ่มก้อนไม่กระจัดกระจาย  โดยการจัดระเบียบของรูปทรง  จังหวะ  ลีลา  เนื้อหาให้เกิดดุลยภาพ  อารมณ์ความรู้สึก  มีความชัดเจน  สื่อความหมายได้ง่ายและรวดเร็ว

                  การเอกภาพ  

                  เอกภาพ  เกิดจากการนำเอารูปร่าง รูปทรง มาประสานสัมพันธ์กันทำให้เกิดเอกภาพได้หลายวิธี ดังนี้

           (๑) วิธีสัมผัส  คือการนำรูปร่าง  รูปทรงมาสัมผัสกันในลักษณะต่างๆ ให้เกิดเอกภาพขึ้น  เช่น การสัมผัสด้านต่อด้าน  การสัมผัสมุมต่อมุม  การสัมผัสด้านต่อมุม  เป็นต้น

โปสเตอร์โฆษณา 
เป้นการนำเอารูปร่าง รูปทรงมาจัดองค์ประกอบให้เกิดการสัมผัสกัน
ในลักษณะด้านต่อด้านเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในผลงาน


ตราสัญลักษณ์การประชุมอาเซียน   ครั้งที่ ๑๔
เป็นการนำเอารูปร่าง  รูปทรงมาจัดองค์ประกอบให้เกิดความเป็นเอกภาพด้วยการสัมผัสด้านต่อมุม

           (๒) วิธีทับซ้อน   คือ การนำเอารูปร่าง  รูปทรงมาวางทับซ้อนกันในลักษณะต่างๆ  เช่น การทับซ้อนบางส่วน  การทับซ้อนกันทุกส่วนหรือทับซ้อนบังกัน  การทับซ้อนคาบเกี่ยว   การทับซ้อนแบบลูกโซ่  การทับซ้อนประสานกัน  การทับซ้อนประสานกันหลายชั้น  เป็นต้น
The Kiss
ผลงานของกูสตาฟ  คลิม (Gustave  Klimt)
เป็นการจัดภาพโดยการนำเอารูปร่าง  รูปทรงมาสัมผัสกันในลักษณะการทับซ้อนคาบเกี่ยว
เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในผลงาน



ภาพประกอบปกหนังสือ
ผลงานของนอร์แมน  ร็อกเวลล์ ( Norman Rockwell)
เป็นการจัดภาพโดยการทับซ้อนประสานกันหลายชั้น
เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพและถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกในผลงาน


การออกแบบสัญลักษณ์
แสดงถึงการออกแบบโดยการนำรูปร่าง รูปทรงมาทับซ้อนทุกส่วนหรือทับซ้อนบังกัน
เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในผลงาน

                 (๓) วิธีจัดกลุ่ม   คือการนำเอารูปร่าง  รูปทรง  มาจัดกลุ่มกันในลักษณะต่างๆ  เช่น การนำเอารูปร่าง  ๒ รูปร่างมาวางใกล้กัน  จะเกิดแรงดึงดูดกัน  ให้ความรู้สึกพยายามที่จะรวมเป็นหน่วยเดียวกัน  ถ้านำเอารูปร่าง ๒ รูปมาวางห่างกัน  จะดูเหมือนว่าไม่มีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน  แต่จะมีแรงผลักกันให้ความรู้สึกแบ่งแยก ไม่เป็นหน่วยเดียวกัน
The Strawberry Basket
ผลงานของซอง-บาตีสต์-ซีเมอง  ชาร์แดง (Jean-Baptiste-Simeon Chardin)
ศิลปินสมัยโรโกโก
เป็นการนำเอารูปทรงของสิ่งต่างๆ มาจัดกลุ่มกันเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในการเขียนภาพหุ่นนิ่ง





กลุ่ม
ผลงานของชำเรือง  วิเชียรเขตต์
เป็นการสร้างสรรค์รูปทรงโดยการจัดกลุ่มกัน สร้างแรงดึงดูดเข้าหากัน
ให้ความรู้สึกพยายามที่จะรวมเป็นหน่วยเดียวกัน

         ๒) ความสมดุล (balance)   หมายถึง ความเท่ากัน เสมอกัน มีน้ำหนักและแรงปะทะที่เท่ากัน มีความกลมกลืน  พอเหมาะพอดี  รวมถึงการถ่วงดุลของการขัดแย้งกัน การซ้ำกันของส่วนประกอบมาจัดให้เกิดน้ำหนักทั้งสองข้างซ้ายขวาเท่ากัน  โดยมีแกนสมมาตร (axis) ทำหน้าที่แบ่งภาพซ้าย ขวา หน้า  หลัง  บนล่าง ให้เท่ากัน  การเท่ากันอาจไม่เท่ากันจริงๆ  ก็ได้แต่จะเท่ากันในความรู้สึกตามที่ตามองเห็น  ความสมดุลแบ่งเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
        (๑) ความสมดุลสองข้างเท่ากัน  หมายถึง การจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ของศิลปะให้ทั้งสองข้างของแกนสมมาตรมีขนาด  สัดส่วน  น้ำหนักเท่ากัน  มีรูปแบบเหมือนกัน  ความสมดุลลักษณะสองข้างเท่ากัน นิยมใช้ในงานออกแบบจิตรกรรมไทย
ผลงานของปรีชา เถาทอง
แสดงการจัดองค์ประกอบของภาพให้มีความสมดุลสองข้างเท่ากัน


วัดไหล่หินแก้วช้างยืน
ผลงานของทรงเดช  ทิพย์ทอง
แสดงการจัดองค์ประกอบของภาพให้มีความสมดุลสองข้างเท่ากัน
เพื่อสื่อความนิ่งและเงียบสงบ


              (๒) ความสมดุลสองข้างไม่เท่ากัน หมายถึง การจัดองค์ประกอบของศิลปะทั้งสองข้างแกนสมมาตรให้มีขนาด สัดส่วน  น้ำหนักไม่เท่ากัน  ไม่เหมือนกัน  ไม่เสมอกัน  แต่ดูจากเส้นแกนสมมาตรแล้วทั้งสองข้างจะเท่ากัน  มีความสมดุลกันในความรู้สึก  ความสมดุลลักษณะนี้นิยมใช้กันมาก  เพราะทำให้อารมณ์ความรู้สึกเคลื่อนไหว  ดูแล้วสมดุลกันทั้งภาพ  ศิลปินได้แสดงออกอย่างอิสระ
Homer and His Guide
ผลงานของวิลเลี่ยม อโดล์ฟ  บูเกอโร (William Adolphe Guide)
จัดวางโดยใช้หลักความสมดุลสองข้างไม่เท่ากัน
ถ่ายอารมณ์ความรู้สึกเคลื่อนไหว




สัญลักษณ์การแข่งขันฟุตบอล EURO 2008
เป็นการออกแบบสัญลักษณ์ โดยใช้หลักความสมดุลสองข้างไม่เท่ากัน  เพื่อสื่อถึงความอิสระ
  ความเคลื่อนไหว  เหมือนลักษณะของเกมกีฬาฟุตบอลที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)