ภาพล้อเลียน (caricature) และ ภาพการ์ตูน (cartoon)

            ๑.ภาพล้อเลียน (caricature) 

             ภาพล้อเลียน  หมายถึง  ภาพวาดหรือรูปปั้นที่ต้องการแสดงการเสียดสีหรือให้ดูตลกขบขัน  การวาดภาพล้อเลียนมีมานานแล้ว  โดยทั่วไปจะเป็นภาพลายเส้น มีลักษณะคล้ายภาพประกอบเรื่อง  มีเนื้อหาแสดงถึงบุคคลในด้านต่างๆ  เช่น สังคม  ศาสนา  หรือการเมือง  ดดยวาดล้อให้ดูคล้ายลักษณะของบุคคลที่ต้องการแสดงถึง  แต่มักเน้นลักษณะเฉพาะตัวให้เด่นชัดเกินจริง หรืออาจเสริมด้วยสิ่งของเครื่องใช้ประจำตัวของผู้นั้น

  ตัวอย่างภาพล้อเลียน















            ๒. ภาพการ์ตูน  (cartoon)

           ๑) ประเภทของการ์ตูน

           ภาพการ์ตูนแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท ดังนี้

           (๑) ภาพการ์ตูนการเมือง (political cartoon) เป็นภาพที่มุ่งล้อเลียน  เสียดสี ประชดประชันบุคคลหรือเหตุการณ์ทางการเมือง  กระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความคิดเห็นใหม่ๆ ลักษณะของการ์ตูนชนิดนี้อาจมีคำบรรยายหรือไม่มีก็ได้ ภาพการ์ตูนมีช่องเดียวหรือหลายช่องก็ได้ นักเขียนการ์ตูนการเมืองภาระหน้าที่ต้องติดตามข่าวสารบ้านเมืองอย่างต่อเนื่อง  จับประเด็นเหตุการณ์นั้นและแสดงความคิดเห็นเป็นการ์ตูนอย่างเฉียบคม  และมีความชำนาญในการเขียนการ์ตูนล้อเลียนบุคคล (caricature)







            (๒) ภาพการ์ตูนขำขัน (gag cartoon)  เป็นการ์ตูนที่เน้นความขบขันเป็นหลัก  อาจเสนอภาพในช่องเดียวหรือหลายช่อง จะมีความบรรยายหรือไม่ก็ได้ ปกติ มุกตลกของการ์ตูนชนิดนี้จะมาจากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน  ปัจจุบันการ์ตูนชนิดนี้กำลังได้รับความรับความนิยมมากในสังคมไทย





             (๓) ภาพการ์ตูนเรื่องราว (comic or serial cartoon)  เป็นการ์ตูนที่นำเสนอเรื่องราวที่มีความต่อเนื่องกันจนจบ  มีคำบรรยายหรือบทสนทนาภายในภาพ  การ์ตูนชนิดนี้ปรากฏอยู่ในนิตยสารและหนังสือพิมพ์ เรียกว่า  comics strips  แต่ถ้านำมาพิมพ์รวมเล่มเรียกว่า  comics  books  เช่น การ์ตูนญี่ปุ่น การ์ตูนฝรั่ง เป็นต้น  ส่วนการ์ตูนไทยที่นำเอาวรรณคดี  นิยายพื้นบ้าน   เรื่องจักรๆ วงศ์ๆ มาพิมพ์ขาย รวมทั้งการ์ตูนเล่มละบาทก็จัดอยู่ในการ์ตูนประเภทนี้เช่นกัน



                   (๔) ภาพการ์ตูนประกอบเรื่อง (illustrated cartoon)  เป็นการ์ตูนที่ใช้ประกอบข้อความอื่นๆ หรือประกอบโฆษณาเพื่อขยายความเป็นการ์ตูนประกอบการศึกษา การ์ตูนชนิดนี้มักเป็นการ์ตูนโดด ๆ ไม่มีเรื่องราวในตัวเอง  แต่ทำหน้าที่เสริมเนื้อหาให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น


            (๕) ภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว (animated cartoon) หรือ ภาพยนตร์การ์ตูน มีการลำดับภาพและเรื่องราวต่อเนื่อง คล้ายกับภาพนักแสดงที่เป็นคนในภาพยนตร์  หรือใช้แสดงประกอบกับนักแสดงที่เป็นคนในภาพยนตร์





                            ๒) ประโยชน์ของภาพการ์ตูน
                (๑) ใช้เพื่อสื่อความหมายแทนการเขียนข้อความยาวๆ
                (๒) ใช้เพื่อดึงดูดความสนใจ  ช่วยผ่อนคลาบความเครียด
                (๓) ใช้เพื่อเป็นตัวแสดงแทนการกระทำหน้าที่เป็นอันตราย
                (๔) ใช้เพื่อเป็นสื่อแทนภาษาที่ ๓ ได้ โดยการวาดภาพแทนการพูด
                    
                        ๓) การวาดภาพการ์ตูนเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพสังคมในปัจจุบัน
                 ในการวาดภาพการ์ตูนเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพสังคมในปัจจุบัน  ผู้สร้างสรรค์ผลงานจะต้องติดตามข่าวสารบ้านเมืองอย่างต่อเนื่อง  แล้วจับประเด็นเหตุการณ์นั้นและแสดงความคิดเป็นการ์ตูนอย่างเฉียบ และมีความชำนาญในการเขียนการ์ตูนล้อเลียนบุคคล

                 ขั้นตอนการสร้างสรรค์
               (๑) เลือกประเด็นหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมที่สนใจมา ๑ เรื่อง แล้วถ่ายทอดความคิดเป็นภาพการ์ตูน  อาจมีคำบรรยายหรือไม่ก็ได้  ลักษณะของภาพวาดจะมีช่องเดียวหรือหลายช่องก็ได้ตามความต้องการ
               (๒) ร่างภาพตามความคิดและจินตนาการ  จัดวางภาพตามหลักองค์ประกอบศิลป์
               (๓) กำหนดแสงและเงา
               (๔) ระบายสี   ตัดเส้น และเก็บรายละเอียด








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)