หลักการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร

      การชมการแสดงนาฏศิลป์ และละครให้ออกรส เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งหรือที่เรียกว่า  ดูเป็น  นั้น ผู้ชมจะต้องมีความรู้และเข้าใจวิชาการละครเป็นอย่างดี  ดูแล้วจะเกิดสติปัญญา  รู้จักที่จะหาแง่มุม   วิพากษ์  วิจารณ์  การแสดงนาฏศิลป์และละครได้อย่างสร้างสรรค์ปราศจากอคติใดๆ  ทั้งสิ้น

   ผู้ชมการแสดงย่อมมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน  เพราะบางคนไปชมการแสดงเพื่อผ่อนคลายความเครียด  บางคนไปชมการแสดงเพราะต้องการศึกาาหาความรู้ การแสดงจึงให้ทั้งความบันเทิงกระตุ้นความคิดให้เกิดการศึกษาเรียนรู้  และสร้างความฝันที่คนดูปราถนา  เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ดังกล่าว ผู้ชมจึงควรมีหลักในการชมละคร  ดังต่อไปนี้

     1. ศึกษาหาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบ  ประเภท  และชนิดของการแสดงที่ชม

     2. ศึกษาเอกสารและข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการแสดง ตลอดจนสถานภาพของผู้มาชม

    3. มีความสามารถในการรับสาร คือ เป็นผู้ชมที่ดูเป็น ฟังเป็น  สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์เรื่องที่ชมได้อย่างสร้างสรรค์ 

    4. มีจิตใจผ่อนคลาย  มีสมาธิในการชมการแสดงไม่กังวลต่อสิงใดๆทั้งสิ้น

    5. มีปฏิกิริยาโต้ตอบด้วยการแสดงออกทางอารมณ์ เช่น ผู้แสดงละครแสดงบทตลก ผู้ชมหัวเราะ และมีอารมณ์คล้อยตามไปกับบทบาทของผู้แสดง เป็นต้น

   6. เมื่อการแสดงจบลง ผู้ชมควรให้เกียรติผู้แสดงด้วยการปรบมือ

   7. มีมารยาทในขณะชมการแสดง  โดยปิดเครื่องมือสื่อสาร  และขณะชมการแสดงต้องไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้ชมคนอื่น  งดรับประทานอาหาร  และเครื่องดื่มทุกชนิด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)