องค์ประกอบของทัศนธาตุ จุดและเส้น

            ทัศนธาตุมีองค์ประกอบที่สำคัญ  ดังต่อไปนี้

     1. จุด  (Dot,Point)     เป็นทัศนธาตุอันดับแรกของงานทัศนศิลป์  จุกเป็นส่วนที่มีขนาดเล็กที่สุดของงานศิลปะ  เมื่อนำเอาจุดจำนวนมากๆ มาเรียงต่อเนื่องกันและทำซ้ำๆกัน  ก็จะทำให้เกิดเป็นเส้น  ถ้าจัดรวมกลุ่มกันจะกลายเป็นรูปร่าง  รูปทรงลักษณะผิว  น้ำหนักอ่อน - แก่  แสง - เงา จุดจึงเป็นทัศนธาตุที่สามารถนำมาสร้างสรรค์งานศิลปะได้  ซึ่งเราสามารถพบเห็นจุดในลักษณะต่างๆ  ปรากฏอยู่ในผลงานจิตรกรรมอยู่เสมอ

       จุดสามารถเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะคือ 

       1) จุดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  เช่น จุดลายของผีเสื้อ  แมลงต่างๆ เปลือกหอย พืช  ใบไม้  เปลือกไม้  ผลไม้ เป็นต้น

      2)จุดที่มนุษย์สร้างขึ้น  เช่น การกด  การจิ้ม  การกระแทกลงบนพื้นรองรับด้วยวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ  เช่น  ปากกา  ดินสอ  พู่กัน  กิ่งไม้ และของปลายแหลมทุกชนิด
    
   วิธีการสร้างภาพโดยใช้จุด
    1. เลือกเรื่องและเนื้อหาที่สนใจ
    2. ออกแบบเพื่อสื่อความหมายตามเนื้อหา
    3. ร่างภาพเป็นลายเส้นด้วยดินสอร่างภาพ
    4. กำหนดพื้นที่การใช้จุด โดยคำนึงถึงน้ำหนักแสงและเงาของภาพ กระจายปริมาณตามน้ำหนักของภาพ
    5. ใช้ ดินสอ ปากกา น้ำหมึก สีฯลฯ สร้างจุดตามที่ออกแบบ กำหนดน้ำหนัก และความหนาแน่นไว้แล้ว
  

     2. เส้น (Line)    เป็นทัศนธาตุที่สำคัญในทางศิลปะ  กล่าวได้ว่าเส้นเป็นจุดเริ่มต้นของการออกแบบทางทัศนศิลป์ทุกชนิด  เช่น จิตรกรรม   ประติกรรม  สถาปัตยกรรม  เป็นต้น  เส้นแสดงความรู้ได้ด้วยตัวเอง  และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่างๆขึ้น  งานจิตรกรรมของไทย  จีน และญี่ปุ่น   ล้วนมีเส้นเป็นหัวใจของการแสดงออก  ซึ่งจะให้อารมณ์ความรู้สึกทางจิตใจแก่ผู้ชมผลงาน

     เส้นที่เป็นพื้นฐานมี 2 ลักษณะ  คือ เส้นตรงกันโค้ง  ส่วนเส้นลักษณะอื่นเกิดจากการประกอบกันเข้าของเส้นตรงและเส้นโค้ง  เช่น เส้นหยักฟันปลา  เกิดจากเส้นตรงมาประกอบกัน  เส้นลูกคลื่นเกิดจากเส้นโค้งมาประกอบเข้าด้วยกัน   เส้นจะมีขนาดแตกต่างกันตามขนาดของวัสดุที่นำมาขีดเขียน  เช่น  เขียนด้วยดินสอ  ปากกา  พู่กัน  แปรง  เครื่องมืออื่นๆ  ที่สามารถทำให้เกิดเป็นเส้นได้ เป็นต้น

      ลักษณะของเส้นมีหลายแบบ  ซึ่งแต่ละแบบจะแสดงคุณค่าและความรู้สึกแตกต่างกัน

      1. เส้นตั้งหรือเส้นดิ่ง ให้ความรู้สึกทางความสูง สง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่น เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง เช่น เสาไฟฟ้า  ตึกสูง เป็นต้น

เส้นตั้ง จะให้ความรู้สึกมั่นคง  แข็งแรง สง่างาม เป็นระเบียบ เช่น เสาไฟฟ้า  ตึกสูง เป็นต้น







            2. เส้นเฉียงหรือเส้นทแยงมุม ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง









             3. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย





          4. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง ขาด หายไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเครียด







     
           5. เส้นหยักหรือเส้นซิกแซก แบบฟันปลา    ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว  อย่างเป็นจังหวะมีระเบียบ ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย   ขัดแย้ง ความรุนแรง







    
        6. เส้นโค้งแบบคลื่น ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ  ลื่นไหล  ต่อเนื่อง สุภาพ อ่อนโยน
            นุ่มนวล


         




      
          7. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว   คลี่คลาย   หรือเติบโตในทิศทางที่ หมุนวน            ออกมา    ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด









         
          8. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทาง ที่                          รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง








          ความสำคัญของเส้น

          1. ใช้ในการแบ่งที่ว่างออกเป็นส่วน ๆ
    2.กำหนดขอบเขตของที่ว่าง หมายถึง ทำให้เกิดเป็นรูปร่าง (Shap) ขึ้นมา
          3. กำหนดเส้นรอบนอกของรูปทรง ทำให้มองเห็นรูปทรง (Form) ชัดขึ้น
          4. ทำหน้าที่เป็นน้ำหนักอ่อนแก่ของแสงและเงา หมายถึง การแรเงาด้วยเส้น
          5. ให้ความรู้สึกด้วยความเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูปและโครงสร้างของภาพ















ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)